นับจำนวนผู้เข้าชม(counter)

วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วัดโสธร


วัดโสธรวรารามวรวิหารวัดโสธรวรารามวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง ริมแม่น้ำบางปะกง เดิมชื่อว่า "วัดหงษ์" สร้างในสมัยกรุงศรี อยุธยาตอนปลายเป็นที่ประดิษฐาน "หลวงพ่อพุทธโสธร" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของฉะเชิงเทราเป็นพระพุทธรูป ปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 1.65 เมตร สูง 1.48เมตร ฝีมือช่างล้านช้างตามประวัติเล่าว่าได้ปาฏิหาริย์ลอยน้ำมา และมีผู้อัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้ แต่เดิมเป็นพระพุทธรูปหล่อสำริดปางสมาธิหน้าตักกว้างศอกเศษ รูปทรง วยงามมาก แต่พระสงฆ์ในวัดเกรงจะมีผู้มาลักพาไปจึงได้เอาปูนพอกเสริมหุ้มองค์เดิมไว้จนมีลักษณะที่เห็น ในปัจจุบัน ทุกวันจะมีผู้คนมานมัสการปิดทองหลวงพ่อพุทธโสธรจำนวนมากเนื่องจากอุโบสถหลังเก่ามีสภาพ ทรุดโทรมและคับแคบ ทางคณะกรรมการวัดจึงได้มีมติให้รื้อพระอุโบสถหลังเก่าและสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ โดยมีสำนักงานโยธาจังหวัดเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างเป็นอาคารทรงไทยที่ออกแบบพิเศษ เฉพาะรัชกาลลักษณะ แบบพระอุโบสถเป็นหลังคาประกอบเครื่องยอดชนิดยอดทรงมณฑปแบบไทย ต่อเชื่อมด้วยวิหารทั้งด้านหน้าและ ด้านหลังด้านข้างต่อเชื่อมด้วยอาคารรูปทรงเดียวกับพระวิหารเป็นอาคารมุขเด็จ จึงมีลักษณะเป็นอาคารมีหลังคา แบบจตุรมุขอย่างปราสาทไทย กว้าง 44.5 เมตร ยาว 123.50 เมตร ส่วนกลางพระอุโบสถมียอดมณฑปสูง 85 เมตร ยอดมณฑปมีลักษณะเป็นฉัตร 5 ชั้น มีความสูง 4.90 เมตร ยอดฉัตรเป็นทองคำน้ำหนัก 77กิโลกรัม มูลค่า 44 ล้านบาท ผนังด้านนอกพระอุโบสถปูด้วยหินอ่อนจากเมืองคาร์ราร่า ประเทศอิตาลี ผนังด้านในเป็นงาน จิตรกรรมฝาผนัง โดยศิลปินแห่งชาติซึ่งเป็นผู้เขียนภาพประกอบพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ส่วนสำคัญที่สุดคือ ส่วนกลางของพระอุโบสถซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหลวง พ่อพุทธโสธร ประกอบด้วยภาพ จิตรกรรมฝาผนังโดยรอบนับตั้งแต่พื้นพระอุโบสถ เสา ผนัง และเพดานจะบรรจุเรื่องราวให้เป็นแดนแห่งทิพย์เป็น เรื่องราว ของสีทันดร มหาสมุทร จตุโลกบาล สวรรค์ดาวดึง พรหมโลก ดวงดาว และจักรวาลตำแหน่งของ ดวงดาวบนเพดาน จะกำหนดตำแหน่งตามดาราศาสตร์ ตรงกับวันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2539 ซึ่งเป็นวันยกยอด ฉัตรทองคำเหนือมณฑป พระอุโบสถ และภาพของจักรวาลบนเพดานจะเป็นภาพเขียน ประดับโมเสกสี จึงเป็น พระอุโบสถที่มีขนาดใหญ่ และสวยงามที่สุดประัวัิติพระพุทธโสธรพระพุทธโสธรหรือเรียกกันสามัญทั่วไปว่า"หลวงพ่อโสธร"เป็นพระทรงอานุภาพศักดิ์สิทธิ์เป็นมิ่งขวัญของ ชาวแปดริ้วและเป็นที่รู้จักเคารพบชูาของ ประชาชนทั่วประเทศ หลวงพ่อโสธร เป็นพระรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 3 ศอก5 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปพอกปูนลง รักปิดทองพระเนตรเนื้อแบบสมัยลานช้าง หรือเรียกกันสามัญว่า พระลาว พระพุทธรูปแบบนนิยมสร้างกันมากที่เมือง หลวงพระบางอินโดจีนและภาคอิสาน ของประเทศไทย ประดิษฐาน อยู่ใน พระอุโบสถ วัดโสธร อำเภอเมืองจังหวัดฉะเชิงเทราตำนาน หรือประวัติของหลวงพ่อโสธรนี้หาหลักฐาน ยืนยันแน่นอนไม่ได้เป็นเพียงคำบอกเล่าสืบๆกันมา ประวัติที่เกี่ยวกับวัดโสธรเท่านั้น หลวงพ่อโสธรมาประดิษฐาน อยู่ที่วัดโสธร นานเท่าใด พอจะมีีคำบอกเล่าอันเกี่ยวโยง ถึงหลวงพ่อวัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม ตามประวัติหลวงพ่อพ่อวัดบ้านแหลมกับหลวงพ่อวัดโสธรลอยน้ำมาด้วยกัน และเป็นพี่น้องกันและชาวบ้านแหลม ได้อัญเชิญหลวงพ่อวัดบ้านแหลมขึ้นจากน้ำ เมื่อ พ.ศ. 2313 จึงคาดคะเนว่าหลวงพ่อ ก็มาประดิษฐานอยู่ที่ วัดโสธร ราว พ.ศ.2313 หรือก่อนนั้นก็ไม่นานนัก
ประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อโสธรนี้มีผู้เล่าสืบๆ กันมาหลายกระแสว่า หลวงพ่อโสธรลอยน้ำมามีคำปรารถว่า ล่วงกาลนานมาแล้วยังมีพระพี่น้องชายสามองค์อยู่ทางเมืองเหนือ มีอิทธิปาฏิหาริย์แสดงฤทธิ์ได้ ได้อภินิหารล่อง ลอยตามแม่น้ำมาจากทิศเหนือเพื่อให้คนทางทิศใต้ได้เห็น ในที่สุดมาผุดขึ้นที่แม่น้ำบางปะกงที่ ตำบลสัมปทวน และแสดง ปาฏิหารย์ลอยน้ำและ ทวนน้ำได้ทั้งสามองค์ ประชาชนชาวสัมปทวนได้พบเห็นจึงช่วยกันเอาเชือกรวน มนิลาลงไปผูกมัดที่องค์พระพุทธรูปทั้งสามองค์นั้น แล้วช่วยกันฉุดลากขึ้นฝั่งด้วยจำนวนผู้คนประมาณ 500 คน ก็ฉุดขึ้นไม่ได้เชือกขาด ไม่สำเร็จตามความประสงค์ พากันเลิกไป ครั้นแล้วพระพุทธรูปหล่อทั้ง สามองค์ก็จมน้ำ หายไป สถานที่พระสามองค์ลอยน้ำและทวนน้ำได้นี้เลยให้ชื่อว่า"สามพระทวน" ต่อมา เรียกว่า "สัมปทวน" ได้แก่ แม่น้ำหน้าวัดสัมปทวน อ.เมืองแปดริ้ว ทุกวันนี้ ต่อจากนั้นพระทั้งสามองค์ก็ลอยตามแม่น้ำบางปะกง เลยผ่านหน้า
วัดโสธรไปถึงคุ้งน้ำใต้วัดโสธรแสดงฤทธิ์ผุดขึ้นให้ชาวบ้านบางนั้นเห็น ชาวบ้านได้ช่วยกันฉุดขึ้นฝั่งทำนองเดียวกับ ชาวสัมปทวนแต่ก็ไม่สำเร็จ จึงเรียกหมู่บ้านและคลองนั้นว่า " บางพระ " มาจนทุกวันนี้

จากนั้นพระพุทธรูปทั้งสามองค์ก็ได้แผลงฤทธิ์ ลอยทวนน้ำวนอยู่ที่หัวเลี้ยวตรง กองพันทหารช่างที่ 2 จังหวัดฉะเชิงเทรา และแสดงปาฏิหาริย์จะเข้าไปในคลองเล็กๆ ตรงข้ามกอง พันทหารช่างนั้นสถานที่พระลอยวน อยู่นั้นเรียกกันว่า " แหลมหัววน" และคลองนั้น ก็ได้นามว่า คลองสองพี่น้อง (สองพี่สองน้อง) หลังจากนั้นองค์ พี่ใหญ่ได้แสดงอิทธิปาฏิหารย์ไปลอยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนสามเสนประชาชนประมาณ สามแสนคนช่วยกัน ฉุดอา ราธนาขั้นฝั่งก็ไม่สำเร็จแล้วล่องเลยไปผุดขึ้นที่ลำน้ำแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม ประชาชนชาวประมง อาราธนา ขึ้นประดิษฐานอยู่ที่วัดบ้านแหลม ทุกวันนี้เป็นที่บูชานับถือกันว่าเป็นพระศักดิสิทธิ์เท่าๆ กับหลวงพ่อโสธร ส่วนองค์สุดท้องล่องลอยไปผุดขึ้นที่วัดบางพลี จังหวัดสมุทรปราการและชาวบางพลีได้อัญเชิญประดิษฐาน อยู่ที่ี่ วัดบางพลีใหญ่ในอำเภอบางพลี ก็ปรากฏว่ามีผู้คนเคารพนับถือมาก พระพุทธรูปหล่อองค์กลาง นั้นคือ หลวงพ่อโสธร เมื่อลอยตามน้ำมาจากหัววนดังกล่าวแล้วมาผุดขึ้นที่ท่าหน้าวัดโสธร กล่าวกันว่า ประชาชนจำนวน มากทำการบวงสรวงแล้วเอาด้ายสายสิญน์คล้องกับพระหัตถ์หลวงพ่อโสธรอัญเชิญขึ้นมาบนฝั่งนำ ไปประดิษฐาน ในวิหารสำเร็จตามความประสงค์ แล้วก็จัดให้มีการฉลองสมโภชและให้นามหลวงพ่อว่า หลวงพ่อโสธร
องค์หลวงพ่อโสธรจริงในสมัยที่ได้มาเดิมนั้นเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทอง สัมฤทธิ์ปางสมาธิเพ็ชรหน้าตักกว้าง ศอกเศษ ทรงสวยงาม ต่อมาพระสงฆ์ในวัดเห็นว่ากาลต่อไปภายภาคหน้า ฝูงชนที่มี ตัณหา และโลภะแรงกล้า มีอัธยาศัยเป็นบาปลามก หมดศรัทธาหาความเลื่อมใสมิได้ จักนำเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสียไม่เป็นการ ปลอดภัย จึงพอกปูนเสริมให้ใหญ่หุ้มองค์จริงไว้ภายในดังปรากฎ ในปัจจุบันนี้ สถานที่ตั้งวัดโสธรตั้งอยู่ในสมัย แรกนั้น ทางบกเป็นป่า หมู่บ้านมีน้อย คมนาคมไม่สะดวก เมื่อหลวงพ่อมาประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรแล้วประชาชน ชาวเรือ รู้จักนับถือกันมากเพราะการไป มาสะดวกกว่าทางบกมี เรือไปมาไม่ขาด ชาวเรือค้าขายนับถือว่าถ้าบอก ขอต่อหลวงพ่อโสธรแล้ว สินค้าก็จะซื้อง่าย ขาย คล่องเป็นเทน้ำเทท่า เรือแพที่ผ่านไปมา ในแม่น้ำพอถึงตรง โบสถ์ หลวงพ่อโสธรก็วักน้ำเอาน้ำในแม่น้ำซึ่งนับถือว่าเป็นน้ำมนต์หลวงพ่อดื่มบ้างลูบศีรษะ บ้างล้างหน้าและ ประพรม เรือและสินค้าในเรือ ดังได้เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ส่วนทางบกประชาชนรู้จักนับถือยังไม่แพร่หลายเพราะ การคมนาคม ไม่ สะดวกผู้ใดเจ็บป่วย ก็มาขอความคุ้มครองจากหลวงพ่อโสธรและได้ผลสมความปรารถนาเป็น ส่วนมากกิตติศัพท์ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโสธรได้แผ่ไพศาล ไปในถิ่นต่างๆ
ล่องเรือชมแม่น้ำบางปะกงไปตลาดบ้านใหม่เรือล่องแม่น้ำบางปะกงไปตลาดบ้านใหม่ มี 5 รอบ ซื้อตั๋วศาลาริมน้ำด้านติดโรงเจของวัดโสธรวราราม มีซุ้มขายตั๋ว อยู่ ค่าโดยสาร คนละ 100 บาท ขาไปใช้เวลา ครึ่งชั่วโมง มีเวลาให้เดินตลาด ไหว้พระ 1 ชั่วโมง ขากลับ ครึ่งชั่วโมง รวม 2 ชั่วโมง พอดี มีไกด์แนะนำสองฝั่งแม่น้ำบางปะกงและีถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ใส่กรอบให้เรียบร้อย เที่ยวเรือมีให้เลือกดังนี้ (เสาร์-อาทิตย์)
10.00 - 12.00
11.00 - 13.00
12.00 - 14.00
13.00 - 15.00
14.00 - 16.00
15.00 - 17.00
เที่ยวเรือ วันธรรมดา มี 2 รอบ (จันทร์-ศุกร์) มีรอบ
12.00 - 14.00
14.00 - 16.00
ขากลับก็นั่งรถสองแถวสีเหลือง ฝั่งตรงข้ามวัด นั่งไปสุดสายที่ สถานี บขส.ฉะเชิงเทราเลย ค่ารถ คนละ 7 บาท
จากวัดโสธรไปตลาดบ้านใหม่(รถโดยสาร)สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการไปเที่ยวตลาดบ้านใหม่ต่อ สามารถนั่งรถตุ๊กๆ หรือ รถสองแถว หรือ รถเมล์ฟ้า จากหน้า หน้าวัดโสธรแล้วมาลงที่ตลาด อ.เมือง หน้าสถานีตำรวจแล้วต่อรถสองแถวไปตลาดบ้านใหม่เรื่องราวและบทควาที่เกี่ยวข้องพาเที่ยวตลาดเก่าโบราณ ตลาดบ้านใหม่ ฉะเชิงเทรา
การเดินทางไปตลาดบ้านใหม่1. โดยรถยนต์ส่วนตัว
รถยนต์ จากกรุงเทพ ฯ สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง
- ใช้ถนนหมายเลข 304 มีนบุรี – ฉะเชิงเทรา,เข้าเมืองฉะเชิงเทรา วิ่งตรงไปเรื่อยๆ จะมีป้ายบอกตลอดทาง
- ใช้ถนนหมายเลข 34 บางนา – ตราด เลี้ยวเข้าถนน หมายเลข 314 บางปะกง – ฉะเชิงเทรา
- ใช้ถนนหมายเลข 3 สมุทรปราการ – บางปะกง แล้วต่อด้วยถนนหมายเลข 314 บางปะกง – ฉะเชิงเทรา
- ใช้ถนนมอเตอร์เวย์ กรุงเทพ ฯ – พัทยา เลี้ยวซ้ายเข้าถนน หมายเลข 314 บางปะกง – ฉะเชิงเทรา มุ่งหน้าเข้าตัว
เมืองฉะเชิงเทรา วิ่งตรงไปเรื่อยๆ จะมีป้ายบอกตลอดทาง
2. โดยรถสาธารณะ
จากสถานีขนส่งใหม่ถ้าเป็นรถสายรอบเมืองสาย หรือจะนั่งสองแถวหรือสามล้อรับจ้าง เลือกรถขึ้นได้ตามใจชอบ
3. รถไฟ (หัวลำโพง)
มีรถโดยสารเล็กราคาค่ารถสองแถวจากสถานีรถไฟถึงหน้าวัดหลวงพ่อพุทธโสธร 6 บาท ถ้าสามล้อรับจ้าง 20- 30 บาท จากสถานีสายรอบเมืองวิ่งผ่านวัดโสธรวรารามวรวิหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น