นับจำนวนผู้เข้าชม(counter)

วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สถานที่ท่องเที่ยวต่าวๆ


หาดสวนสน-บ้านเพ
บริเวณสวนสนในอดีตบริเวณนี้จะเป็นป่าสน ซึ่งมีต้นสนทะเลขึ้นเป็นจำนวนมากตลอดสองข้างทาง และถ้าเป็นช่วงมีลมมรสุมเข้าทะเลระยองด้วยแล้วล่ะก้อ สวนสนจะเป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยงอันตรายสูง เนื่องจากต้นสนเป็นไม้เนื้ออ่อนเมื่อโดนลมพายุแรงๆ อาจทำให้ต้นไม้ฉีกขาดได้ และในบางครั้งจะล้มลงมาบนถนนที่รถกำลังวิ่งอยู่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ แต่ในปัจจุบันนี้จำนวนต้นสนได้ลดจำนวนลงอย่างมาก เนื่องจากมีการปรับพื้นที่เป็นร้านค้าและที่พักต่างๆ แต่ยังพอมีให้เห็นบ้างในช่วงสั้นๆระหว่างการเดินทางไปบ้านเพ ซึ่งแนวสนสองข้างทางที่เหลืออยู่ในระยะทางสั้นๆนี้ ช่วยทำให้เกิดร่มเงาและลดความร้อนของอากาศริมทะเลไปได้เยอะทีเดียว ด้วยเหตุผลนี้ทำให้สวนสนเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว

วัดโสธร


วัดโสธรวรารามวรวิหารวัดโสธรวรารามวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง ริมแม่น้ำบางปะกง เดิมชื่อว่า "วัดหงษ์" สร้างในสมัยกรุงศรี อยุธยาตอนปลายเป็นที่ประดิษฐาน "หลวงพ่อพุทธโสธร" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของฉะเชิงเทราเป็นพระพุทธรูป ปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 1.65 เมตร สูง 1.48เมตร ฝีมือช่างล้านช้างตามประวัติเล่าว่าได้ปาฏิหาริย์ลอยน้ำมา และมีผู้อัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้ แต่เดิมเป็นพระพุทธรูปหล่อสำริดปางสมาธิหน้าตักกว้างศอกเศษ รูปทรง วยงามมาก แต่พระสงฆ์ในวัดเกรงจะมีผู้มาลักพาไปจึงได้เอาปูนพอกเสริมหุ้มองค์เดิมไว้จนมีลักษณะที่เห็น ในปัจจุบัน ทุกวันจะมีผู้คนมานมัสการปิดทองหลวงพ่อพุทธโสธรจำนวนมากเนื่องจากอุโบสถหลังเก่ามีสภาพ ทรุดโทรมและคับแคบ ทางคณะกรรมการวัดจึงได้มีมติให้รื้อพระอุโบสถหลังเก่าและสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ โดยมีสำนักงานโยธาจังหวัดเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างเป็นอาคารทรงไทยที่ออกแบบพิเศษ เฉพาะรัชกาลลักษณะ แบบพระอุโบสถเป็นหลังคาประกอบเครื่องยอดชนิดยอดทรงมณฑปแบบไทย ต่อเชื่อมด้วยวิหารทั้งด้านหน้าและ ด้านหลังด้านข้างต่อเชื่อมด้วยอาคารรูปทรงเดียวกับพระวิหารเป็นอาคารมุขเด็จ จึงมีลักษณะเป็นอาคารมีหลังคา แบบจตุรมุขอย่างปราสาทไทย กว้าง 44.5 เมตร ยาว 123.50 เมตร ส่วนกลางพระอุโบสถมียอดมณฑปสูง 85 เมตร ยอดมณฑปมีลักษณะเป็นฉัตร 5 ชั้น มีความสูง 4.90 เมตร ยอดฉัตรเป็นทองคำน้ำหนัก 77กิโลกรัม มูลค่า 44 ล้านบาท ผนังด้านนอกพระอุโบสถปูด้วยหินอ่อนจากเมืองคาร์ราร่า ประเทศอิตาลี ผนังด้านในเป็นงาน จิตรกรรมฝาผนัง โดยศิลปินแห่งชาติซึ่งเป็นผู้เขียนภาพประกอบพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ส่วนสำคัญที่สุดคือ ส่วนกลางของพระอุโบสถซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหลวง พ่อพุทธโสธร ประกอบด้วยภาพ จิตรกรรมฝาผนังโดยรอบนับตั้งแต่พื้นพระอุโบสถ เสา ผนัง และเพดานจะบรรจุเรื่องราวให้เป็นแดนแห่งทิพย์เป็น เรื่องราว ของสีทันดร มหาสมุทร จตุโลกบาล สวรรค์ดาวดึง พรหมโลก ดวงดาว และจักรวาลตำแหน่งของ ดวงดาวบนเพดาน จะกำหนดตำแหน่งตามดาราศาสตร์ ตรงกับวันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2539 ซึ่งเป็นวันยกยอด ฉัตรทองคำเหนือมณฑป พระอุโบสถ และภาพของจักรวาลบนเพดานจะเป็นภาพเขียน ประดับโมเสกสี จึงเป็น พระอุโบสถที่มีขนาดใหญ่ และสวยงามที่สุดประัวัิติพระพุทธโสธรพระพุทธโสธรหรือเรียกกันสามัญทั่วไปว่า"หลวงพ่อโสธร"เป็นพระทรงอานุภาพศักดิ์สิทธิ์เป็นมิ่งขวัญของ ชาวแปดริ้วและเป็นที่รู้จักเคารพบชูาของ ประชาชนทั่วประเทศ หลวงพ่อโสธร เป็นพระรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 3 ศอก5 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปพอกปูนลง รักปิดทองพระเนตรเนื้อแบบสมัยลานช้าง หรือเรียกกันสามัญว่า พระลาว พระพุทธรูปแบบนนิยมสร้างกันมากที่เมือง หลวงพระบางอินโดจีนและภาคอิสาน ของประเทศไทย ประดิษฐาน อยู่ใน พระอุโบสถ วัดโสธร อำเภอเมืองจังหวัดฉะเชิงเทราตำนาน หรือประวัติของหลวงพ่อโสธรนี้หาหลักฐาน ยืนยันแน่นอนไม่ได้เป็นเพียงคำบอกเล่าสืบๆกันมา ประวัติที่เกี่ยวกับวัดโสธรเท่านั้น หลวงพ่อโสธรมาประดิษฐาน อยู่ที่วัดโสธร นานเท่าใด พอจะมีีคำบอกเล่าอันเกี่ยวโยง ถึงหลวงพ่อวัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม ตามประวัติหลวงพ่อพ่อวัดบ้านแหลมกับหลวงพ่อวัดโสธรลอยน้ำมาด้วยกัน และเป็นพี่น้องกันและชาวบ้านแหลม ได้อัญเชิญหลวงพ่อวัดบ้านแหลมขึ้นจากน้ำ เมื่อ พ.ศ. 2313 จึงคาดคะเนว่าหลวงพ่อ ก็มาประดิษฐานอยู่ที่ วัดโสธร ราว พ.ศ.2313 หรือก่อนนั้นก็ไม่นานนัก
ประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อโสธรนี้มีผู้เล่าสืบๆ กันมาหลายกระแสว่า หลวงพ่อโสธรลอยน้ำมามีคำปรารถว่า ล่วงกาลนานมาแล้วยังมีพระพี่น้องชายสามองค์อยู่ทางเมืองเหนือ มีอิทธิปาฏิหาริย์แสดงฤทธิ์ได้ ได้อภินิหารล่อง ลอยตามแม่น้ำมาจากทิศเหนือเพื่อให้คนทางทิศใต้ได้เห็น ในที่สุดมาผุดขึ้นที่แม่น้ำบางปะกงที่ ตำบลสัมปทวน และแสดง ปาฏิหารย์ลอยน้ำและ ทวนน้ำได้ทั้งสามองค์ ประชาชนชาวสัมปทวนได้พบเห็นจึงช่วยกันเอาเชือกรวน มนิลาลงไปผูกมัดที่องค์พระพุทธรูปทั้งสามองค์นั้น แล้วช่วยกันฉุดลากขึ้นฝั่งด้วยจำนวนผู้คนประมาณ 500 คน ก็ฉุดขึ้นไม่ได้เชือกขาด ไม่สำเร็จตามความประสงค์ พากันเลิกไป ครั้นแล้วพระพุทธรูปหล่อทั้ง สามองค์ก็จมน้ำ หายไป สถานที่พระสามองค์ลอยน้ำและทวนน้ำได้นี้เลยให้ชื่อว่า"สามพระทวน" ต่อมา เรียกว่า "สัมปทวน" ได้แก่ แม่น้ำหน้าวัดสัมปทวน อ.เมืองแปดริ้ว ทุกวันนี้ ต่อจากนั้นพระทั้งสามองค์ก็ลอยตามแม่น้ำบางปะกง เลยผ่านหน้า
วัดโสธรไปถึงคุ้งน้ำใต้วัดโสธรแสดงฤทธิ์ผุดขึ้นให้ชาวบ้านบางนั้นเห็น ชาวบ้านได้ช่วยกันฉุดขึ้นฝั่งทำนองเดียวกับ ชาวสัมปทวนแต่ก็ไม่สำเร็จ จึงเรียกหมู่บ้านและคลองนั้นว่า " บางพระ " มาจนทุกวันนี้

จากนั้นพระพุทธรูปทั้งสามองค์ก็ได้แผลงฤทธิ์ ลอยทวนน้ำวนอยู่ที่หัวเลี้ยวตรง กองพันทหารช่างที่ 2 จังหวัดฉะเชิงเทรา และแสดงปาฏิหาริย์จะเข้าไปในคลองเล็กๆ ตรงข้ามกอง พันทหารช่างนั้นสถานที่พระลอยวน อยู่นั้นเรียกกันว่า " แหลมหัววน" และคลองนั้น ก็ได้นามว่า คลองสองพี่น้อง (สองพี่สองน้อง) หลังจากนั้นองค์ พี่ใหญ่ได้แสดงอิทธิปาฏิหารย์ไปลอยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนสามเสนประชาชนประมาณ สามแสนคนช่วยกัน ฉุดอา ราธนาขั้นฝั่งก็ไม่สำเร็จแล้วล่องเลยไปผุดขึ้นที่ลำน้ำแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม ประชาชนชาวประมง อาราธนา ขึ้นประดิษฐานอยู่ที่วัดบ้านแหลม ทุกวันนี้เป็นที่บูชานับถือกันว่าเป็นพระศักดิสิทธิ์เท่าๆ กับหลวงพ่อโสธร ส่วนองค์สุดท้องล่องลอยไปผุดขึ้นที่วัดบางพลี จังหวัดสมุทรปราการและชาวบางพลีได้อัญเชิญประดิษฐาน อยู่ที่ี่ วัดบางพลีใหญ่ในอำเภอบางพลี ก็ปรากฏว่ามีผู้คนเคารพนับถือมาก พระพุทธรูปหล่อองค์กลาง นั้นคือ หลวงพ่อโสธร เมื่อลอยตามน้ำมาจากหัววนดังกล่าวแล้วมาผุดขึ้นที่ท่าหน้าวัดโสธร กล่าวกันว่า ประชาชนจำนวน มากทำการบวงสรวงแล้วเอาด้ายสายสิญน์คล้องกับพระหัตถ์หลวงพ่อโสธรอัญเชิญขึ้นมาบนฝั่งนำ ไปประดิษฐาน ในวิหารสำเร็จตามความประสงค์ แล้วก็จัดให้มีการฉลองสมโภชและให้นามหลวงพ่อว่า หลวงพ่อโสธร
องค์หลวงพ่อโสธรจริงในสมัยที่ได้มาเดิมนั้นเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทอง สัมฤทธิ์ปางสมาธิเพ็ชรหน้าตักกว้าง ศอกเศษ ทรงสวยงาม ต่อมาพระสงฆ์ในวัดเห็นว่ากาลต่อไปภายภาคหน้า ฝูงชนที่มี ตัณหา และโลภะแรงกล้า มีอัธยาศัยเป็นบาปลามก หมดศรัทธาหาความเลื่อมใสมิได้ จักนำเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสียไม่เป็นการ ปลอดภัย จึงพอกปูนเสริมให้ใหญ่หุ้มองค์จริงไว้ภายในดังปรากฎ ในปัจจุบันนี้ สถานที่ตั้งวัดโสธรตั้งอยู่ในสมัย แรกนั้น ทางบกเป็นป่า หมู่บ้านมีน้อย คมนาคมไม่สะดวก เมื่อหลวงพ่อมาประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรแล้วประชาชน ชาวเรือ รู้จักนับถือกันมากเพราะการไป มาสะดวกกว่าทางบกมี เรือไปมาไม่ขาด ชาวเรือค้าขายนับถือว่าถ้าบอก ขอต่อหลวงพ่อโสธรแล้ว สินค้าก็จะซื้อง่าย ขาย คล่องเป็นเทน้ำเทท่า เรือแพที่ผ่านไปมา ในแม่น้ำพอถึงตรง โบสถ์ หลวงพ่อโสธรก็วักน้ำเอาน้ำในแม่น้ำซึ่งนับถือว่าเป็นน้ำมนต์หลวงพ่อดื่มบ้างลูบศีรษะ บ้างล้างหน้าและ ประพรม เรือและสินค้าในเรือ ดังได้เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ส่วนทางบกประชาชนรู้จักนับถือยังไม่แพร่หลายเพราะ การคมนาคม ไม่ สะดวกผู้ใดเจ็บป่วย ก็มาขอความคุ้มครองจากหลวงพ่อโสธรและได้ผลสมความปรารถนาเป็น ส่วนมากกิตติศัพท์ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโสธรได้แผ่ไพศาล ไปในถิ่นต่างๆ
ล่องเรือชมแม่น้ำบางปะกงไปตลาดบ้านใหม่เรือล่องแม่น้ำบางปะกงไปตลาดบ้านใหม่ มี 5 รอบ ซื้อตั๋วศาลาริมน้ำด้านติดโรงเจของวัดโสธรวราราม มีซุ้มขายตั๋ว อยู่ ค่าโดยสาร คนละ 100 บาท ขาไปใช้เวลา ครึ่งชั่วโมง มีเวลาให้เดินตลาด ไหว้พระ 1 ชั่วโมง ขากลับ ครึ่งชั่วโมง รวม 2 ชั่วโมง พอดี มีไกด์แนะนำสองฝั่งแม่น้ำบางปะกงและีถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ใส่กรอบให้เรียบร้อย เที่ยวเรือมีให้เลือกดังนี้ (เสาร์-อาทิตย์)
10.00 - 12.00
11.00 - 13.00
12.00 - 14.00
13.00 - 15.00
14.00 - 16.00
15.00 - 17.00
เที่ยวเรือ วันธรรมดา มี 2 รอบ (จันทร์-ศุกร์) มีรอบ
12.00 - 14.00
14.00 - 16.00
ขากลับก็นั่งรถสองแถวสีเหลือง ฝั่งตรงข้ามวัด นั่งไปสุดสายที่ สถานี บขส.ฉะเชิงเทราเลย ค่ารถ คนละ 7 บาท
จากวัดโสธรไปตลาดบ้านใหม่(รถโดยสาร)สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการไปเที่ยวตลาดบ้านใหม่ต่อ สามารถนั่งรถตุ๊กๆ หรือ รถสองแถว หรือ รถเมล์ฟ้า จากหน้า หน้าวัดโสธรแล้วมาลงที่ตลาด อ.เมือง หน้าสถานีตำรวจแล้วต่อรถสองแถวไปตลาดบ้านใหม่เรื่องราวและบทควาที่เกี่ยวข้องพาเที่ยวตลาดเก่าโบราณ ตลาดบ้านใหม่ ฉะเชิงเทรา
การเดินทางไปตลาดบ้านใหม่1. โดยรถยนต์ส่วนตัว
รถยนต์ จากกรุงเทพ ฯ สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง
- ใช้ถนนหมายเลข 304 มีนบุรี – ฉะเชิงเทรา,เข้าเมืองฉะเชิงเทรา วิ่งตรงไปเรื่อยๆ จะมีป้ายบอกตลอดทาง
- ใช้ถนนหมายเลข 34 บางนา – ตราด เลี้ยวเข้าถนน หมายเลข 314 บางปะกง – ฉะเชิงเทรา
- ใช้ถนนหมายเลข 3 สมุทรปราการ – บางปะกง แล้วต่อด้วยถนนหมายเลข 314 บางปะกง – ฉะเชิงเทรา
- ใช้ถนนมอเตอร์เวย์ กรุงเทพ ฯ – พัทยา เลี้ยวซ้ายเข้าถนน หมายเลข 314 บางปะกง – ฉะเชิงเทรา มุ่งหน้าเข้าตัว
เมืองฉะเชิงเทรา วิ่งตรงไปเรื่อยๆ จะมีป้ายบอกตลอดทาง
2. โดยรถสาธารณะ
จากสถานีขนส่งใหม่ถ้าเป็นรถสายรอบเมืองสาย หรือจะนั่งสองแถวหรือสามล้อรับจ้าง เลือกรถขึ้นได้ตามใจชอบ
3. รถไฟ (หัวลำโพง)
มีรถโดยสารเล็กราคาค่ารถสองแถวจากสถานีรถไฟถึงหน้าวัดหลวงพ่อพุทธโสธร 6 บาท ถ้าสามล้อรับจ้าง 20- 30 บาท จากสถานีสายรอบเมืองวิ่งผ่านวัดโสธรวรารามวรวิหาร

วัดหัวกระบือ


โคลงนิราศนรินทร์บทนี้ เป็นบทที่มี “ เสียงกวี” โอ่อ่าที่สุดอีกบทหนึ่งซึ่งเป็นที่ยกย่องอย่างสูง นายนรินทรธิเบศร์ เดิมชื่อ อิน รับ ราชการเป็นมหาดเล็กฝ่ายพระราชวังบวรได้รับพระราชทานยศเป็นหุ้มแพรมี บรรดาศักดิ์เป็นนายนรินทรธิเบศร์ แต่งหนังสือโคลงเล่มนี้เมื่อคราวตามเสด็จสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เสด็จยกกองทัพหลวงไปปราบพม่าข้าศึกซึ่งยกลงมาตีเมืองถลางและเมืองชุมแพร เมื่อต้นรัชกาลที่๒ ในปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๕๒ โดยเส้นทางน้ำเข้าคลองด่านแล้วผ่านย่าน “ หัวกระบือ” ปัจจุบันนี้บ้านหัวกระบือมีคลองหัวกระบือและวัดศีรษะกระบือ (แต่ชาวบ้านยังคงเรียกวัดหัวกระบือ)อยู่ในแขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ มีทางแยกจากถนนสายธนบุรี-ปากท่อตรงกิโลเมตรที่ ๗ ไปชายทะเลบางขุนเทียนผ่านเข้าบ้านหัวกระบือได้สะดวก นอกจากโคลงนิราศนรินทร์แล้ว ยังมีโคลงนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย ของพระยาตรัง กล่าวถึงอีกดังนี้



งามเงื่อนสุวภาพสร้อย สาวโสมบูรณเอย
เศียรกระบือระบือนาม แนะด้าว
ไฉนนุชลบฤาโฉม เฉลิมโลกีย์
เฉกเฉนงเสี่ยวไส้ย้าว ยอกทรวง
(พระยาตรัง)

เมื่อสุนทรภู่ลอยเรือเข้าคลองด่านจะไปเมืองเพชรบุรี ครั้นผ่านย่านหัวกระบือจึงเขียนนิราศเมืองเพชรไว้ตอนหนึ่งว่า

ถึงศีรษะกระบือเป็นชื่อบ้าน ระยะย่านยุงชุมรุมข่มเหง
ทั้งกุมภากล้าหาญเขาพานเกรง ให้วังเวงวิญญาณ์เอกากาย
ถึงศิษย์หามาตามเมื่อยามเปลี่ยว เหมือนมาเดี่ยวแดนไพรน่าใจหาย
ถึงศีรษะละหารเป็นย่านร้าย ข้ามฝั่งซ้ายแสมดำเขาทำฟืน
(สุนทรภู่)


“ วรรคสุดท้ายที่ว่า ข้ามฝั่งซ้ายแสมดำเขาทำฟืน” นั้นทุกวันนี้มีบ้านแสมดำอยู่ทัดจากปากคลองหัวกระบือลงไป นอกจากนี้นิราศแท่นดงรังสำนวนสามเณรกลั่น(ประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๖) ยังกล่าวถึงหัวกระบือว่า


ถึงศีรษะกระบือเป็นชื่อย่าน บิดาท่านโปรดเกล้าฯ เล่าแถลง
ว่าพญาพาลีซึ่งมีแรง เข้ารบแผลงฤทธิ์ต่อด้วยทรพี
ตัดศีรษะกระบือแล้วถือขว้าง ปลิวมากลางเวหาพนาศรี
มาตกลงตรงย่านที่บ้านนี้ จึงเรียกศีรษะกระบือเป็นชื่อนาม
(นิราศเณรกลั่น)

เมื่อพิจารณาโคลงนิราศนรินทร์ และกลอนนิราศสามเณรกลั่นจะเห็นที่มาของชื่อย่าน “ หัวกระบือ ” นั้นมีความหมายสอดคล้องกันว่าเกี่ยวข้องกับรามเกียรติ์ ตอนปราบทรพี แล้วพาลีตัดหัว(ควาย) ทรพีขว้างไปตรงที่ย่านหัวกระบือนี้ ดังนั้นจึงมีชื่อว่าหัวกระบือ แต่ภายหลังกันเรียกว่าศีรษะกระบือ แต่ตำนานการสร้างวัดศีรษะกระบือที่เอกสารของกรมการศาสนา(๒๕๒๖)บันทึกจากปากคำของชาววัดและชาวบ้านนั้นมีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับขุนช้างขุนแผนช่วงต้น ๆ เรื่องที่ว่าสมเด็จพระพันวษาโปรดประพาสป่าล่าควายป่า และบรรดาควายป่าถูกขุนไกรซึ่งเป็นบิดาของพลายแก้ว(ขุนแผน) ฆ่าตัดหัวลงเป็นจำนวนมาก สมเด็จพระพันวษาจึงโปรดให้สร้างวัดขึ้นไว้แล้วให้ชื่อว่าวัดหัวกระบือหรือศีรษะกระบือ
จากลักษณะนิทานประจำถิ่นที่แตกต่างกันนี้ จะเห็นว่านิทานที่เกี่ยวข้องกับรามเกียรติ์นั้นพยายามจะบอกความเป็นมาของ บ้านหรือหมู่บ้านในย่านนั้นๆ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นแต่นิทานที่เกี่ยวข้อง นั้น คือ ขุนช้าง ขุนแผน บอกมูลเหตุการสร้างวัด อันน่าจะเกิดขึ้นมาคราวหลังมาแล้ว ย่านหัวกระบือมีคลองหัวกระบือแยกออกไปจากเส้นทางคลองด่านหรือคลองสนามชัยที่ ต่อเนื่องเป็นคลองมหาชัย ทุกวันนี้จึงดูราวกับว่าคลองหัวกระบือเป็นทางนำสาขาของคลองด่าน เกี่ยวกับคลองหัวกระบือนี้ อาจารย์ทิวา ศุภจรรยา รองศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่าเมื่อตรวจมณฑลแผนที่กรุงเทพฯสมัย ร.ศ.๑๒๐ (พ.ศ.๒๔๔๔) แล้วปรากฏว่าทั้งคลองด่าน คลองสนามชัยและคลองวัดหัวกระบือเป็นคลองเดียวกันและต่อเนื่องกันลงไปทางทิศใต้ และมีลักษณะภูมิประเทศและเส้นทางน้ำที่เป็นหลักฐานให้เชื่อว่าเป็นเส้นทางน้ำเก่าที่ติดต่อทะเลได้ ฝั่งทะเลในอดีตจะอยู่ลึกเข้ามาในแผ่นดินแถว ๆ ปลายคลองหัวกระบือปัจจุบันเป็นที่ตั้งหมู่บ้านลูกวัว และเมื่อชายฝั่งทะเลลดลงมาที่ตำแหน่งปัจจุบัน จึงได้มีการขุดคลองขุดราชพินิจใจต่อจากคลองหัวกระบือติดต่อกับทะเล แต่ในรายละเอียดที่จะให้ทราบว่าฝั่งทะเลที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินตรงช่วงเวลาที่ใช้คลองด่าน คลองสนามชัย และคลองหัวกระบือเป็นเส้นทางเข้าสู่ทะเลเมื่อใดนั้น ยังคงต้องศึกษาในรายละเอียดต่อไป ความ เห็นของอาจารย์ทิวา ศุภจรรยา สอดคล้องกับแผนที่กรุงศรีอยุธยาที่ยุโรปเขียนขึ้นครั้งแรกในแผ่นดินสมเด็จ พระเจ้าปราสาททอง และคัดลอกกันต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ ดังได้มีพิมพ์รวมอยู่ในจดหมายเหตุของลาลูแบร์ แผนที่กรุงศรีอยุธยาของลาลูแบร์ระบุเส้นทางคลองด่านเชื่อมโยงแม่น้ำเจ้า พระยาที่บางกอกกับปากแม่น้ำท่าจีนไว้เป็นเส้นเดียวกัน แล้วพยายามที่จะบอกตำบลบ้านที่อยู่บนเส้นทางคลองด่านนี้ด้วยอักษรโรมันว่า BANGUEBEUZ/BANGUEBEUXซึ่งดูเหมือนจะใกล้เคียงกับชื่อย่าน “หัวกระบือ” มากที่สุด ซึ่งถ้าหากเป็นเช่นนี้จริงแล้วก็หมายความว่าคลองหัวกระบือก็คือคลองเดียวกับ คลองด่านนั่นเอง
ต่อมาภายหลังเมื่อมีการขุดคลองลัดโคกขามในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือและ สมเด็จพระเจ้าท้ายสระจึงทำให้คลองหัวกระบือเป็นเส้นทางสาขาที่แยกออกไปต่าง หาก นอกจากนี้แล้วซากศิลปกรรมที่วัดศีรษะกระบือซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในคลองหัว กระบือทุกวันนี้อันถือได้ว่านอกเส้นทางคลองด่านนั้น ล้วนเป็นสิ่งที่ทำขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ยิ่งชวนให้เชื่อถือว่าก่อนหน้า นี้จะมีคลองลัดโคกขามนั้น การเดินทางเรือจะต้องใช้เส้นเก่าที่ผ่านเข้าไปทางคลองหัวกระบือ เกี่ยวกับซากศิลปกรรมที่ยังหลงเหลืออยู่ที่วัดศีรษะกระบือนั้น มีบันทึกอยู่ในหนังสือชุดจิตรกรรมฝาผนังประเทศไทยเรื่อง “จิตรกรรมสมัยอยุธยาจากสมุดข่อย” (สำนักพิมพ์เมืองโบราณ: พฤษภาคม ๒๕๒๘) โดยสรุปว่า หลักฐานโบราณคดีที่ยังเหลือพอจะกำหนดอายุของวัดได้ มีเพียงเสมา เจดีย์ และสมุดข่อย
เสมา เป็นหินทรายสีแดง มีขนาดเล็กอย่างเสมาในตระกูลอัมพวา (ในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม) เป็นใบเสมาในสมัยอยุธยาตอนปลาย
เจดีย์ เป็นเจดีย์คู่ด้านหน้าโบสถ์ แข้งสิงห์ยาวมาก จึงน่าจะเป็นแบบ อยุธยาเช่นกัน
สมุดข่อย มีจารึกบอกศักราชว่าจารขึ้นในปี พ.ศ.๒๒๘๖ ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งสุดท้ายประมาณ ๒๔ ปี ทั้งเส้นสายและการวางองค์ประกอบภาพทำให้สันนิษฐานได้ว่าเขียนขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย
เกี่ยวกับสมุดข่อยที่วัดศีรษะกระบือนี้ น. ณ ปากน้ำ ผู้เชี่ยวชาญศิลปะในประเทศไทยเคยเสนอบทความเชิงคำนำเสนอไว้ในหนังสือ “จิตรกรรมสมัยอยุธยาในสมุดข่อย” เอาไว้แล้วอย่างละเอียด ดังจะขอนำมาบันทึกไว้ให้แพร่หลายอีกดังต่อไปนี้ ภาพเขียนจากสมุดข่อยที่วัดศีรษะกระบือนั้นก็มีลักษณะเช่นเดียวกับภาพเขียนบนสมุดข่อยทั้งหลายที่เขียนในหนังสือพระธรรมกับมรภาพระบาย สีปิดทองเป็นตัวประกอบ อันเริ่มมีสมัยอยุธยาเป็นต้นมาหรือบางทีอาจจะเก่าแก่ขึ้นไปกว่านั้นก็ได้เรา ยังไม่อาจจะชี้ลงไปให้เด็ดขาดว่าการทำสมุดกระดาษข่อยของเรามีมาแต่สมัยไหน รู้แต่ว่าถ้าเป็นการเทศนาโดยปกติท่านจะเทศน์จากใบลานที่จารด้วยเหล็กแหลม แล้วทาด้วยเขม่าหรือไม่ก็ลงรัก สมุดข่อยของคนไทยนอกจากจะเป็นพระธรรมคัมภีร์ ยังใช้ทำเป็นตำรับตำราต่าง ๆ เช่น วิชาโหรศาสตร์ ตำรายา ใช้จดคาถาอาคมและอุปเทห์ต่าง ๆ รวมทั้งเป็นคัมภีร์ที่ต้องเขียนภาพประกอบ เช่นพระมาลัยและไตรภูมิ ตำราไตรภูมิกับพระมาลัยดูจะขึ้นชื่อลือชาที่สุด อย่างไตรภูมิพระร่วงนั้น ต้องใช้นายช่างจิตรกรทำการคัดลอกสืบทอดกันมา ตำราจึงไม่สูญหาย ไตรภูมิฉบับสุดท้ายที่มีชื่อเสียงมากคือ สมุดภาพไตรภูมิพระร่วงฉบับกรุงธนบุรี ที่พระมหาช่วย วัดกลางวรวิหารจังหวัดสมุทรปราการ เป็นผู้จารซึ่งเรียกว่าฉบับหอสมุดแห่งชาติ กับไตรภูมิพระร่วงฉบับพิพิธภัณฑ์เบอร์ลินประเทศเยอรมัน ซึ่งน่าจะมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน หรืออาจจะเป็นฉบับอยุธยาก็ได้ ด้วยในภาพมารพจญยังมีภาพทหารฝรั่งกำลังรากปืนใหญ่เข้ามาสัปปะยุทธ์ กับพระบรมศาสดา นายช่างจิตรกรเห็นว่าทหารฝรั่งเป็นพวกคริสต์ศาสนิกชน อันเป็นปรปักษ์กับศาสนาพุทธของตนจึงจัดประเภทให้เป็นมารไปเสียเลย ในนั้นยังมีรูปจีนแบบสุกรด้วย นั่นก็เพราะคนจีนนับถือผี มีการฆ่าสุกรเซ่นไหว้ภูตผี ก็เลยจัดให้เป็นมารไปด้วยอยู่ในฝ่ายมิจฉาทิฐิ ถ้าเทียบภาพเขียนในสมัยอยุธยา อันปรากฏที่พนังพระอุโบสถจำนวนมาก กับภาพเขียนในสมัยอยุธยาในพระบฏ หรือเขียนบนแผ่นสมุดข่อย เรามีสมุดข่อยที่ขึ้นชื่อลือชาฉบับกรุงธนบุรี เช่น ไตรภูมิพระร่วงหรือไตรภูมิพระร่วงฉบับหอสมุดแห่งชาติดังกล่าวเพียงฉบับเดียว ที่พอจะอ้างอิงได้ ส่วนฉบับอื่นที่แม้จะเชื่อว่าเขียนในสมัยอยุธยาก็หามีศักราชอ้างอิงไว้ไม่ นอกจากสมุดข่อยจากวัดศีรษะกระบือเท่านั้น ในสมุดข่อยวัดศีรษะกระบือ มีจารึกศักราชบ่งว่า พ.ศ.๒๒๘๖ อันตรงกับรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกถึง ๒๔ ปีนับว่าเป็นจิตรกรรมบนสมุดข่อยสมัยอยุธยาที่บอกอายุไว้อย่างชัดแจ้ง ลักษณะสมุดข่อยวัดศีรษะกระบือ โดยทั่วไปแล้วขนาดกับกระดาษข่อยก็เป็นลักษณะเดียวกับสมุดข่อยสมัยรัตน โกสินทร์ กระดาษข่อยสีขาวนั้นก็มิได้มัวหรือออกสีเหลืองมากแต่อย่างใด เมื่อระบายด้วยสีบาง ๆ แบบสีน้ำตามเทคนิคการระบายสีของสมัยอยุธยาแล้ว ก็ทำให้ดูสีสดใสมาก ปกหลังและปกหน้าของสมุดลงรักดำเขียนลายประจำยามชนิดลายก้ามปู ตรงกลางเป็นรูปกลมสลับกับรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนอย่างใหญ่ ตัวกนกสะบัดปลายเป็นกนกเปลวมีกรอบเป็นเส้นตรง ๔ ด้าน เมื่อ เทียบกับภาพเขียนสมัยอยุธยาที่วัดช่องนนทรี กรุงเทพฯ หรือผนังที่อุโบสถวัดเกาะ จังหวัดเพชรบุรีแล้ว จิตรกรรมจากทั้ง ๒ แห่งนี้มีลักษณะคล้ายกันมาก คือทารองพื้นสีขาว ศิลปินผู้เขียนจะเขียนเส้นอย่างอิสระ(free hand) และใส่สีขาวเมื่อต้องการให้เป็นสีอ่อนมากหรือกลาง ๆ อันเป็นวิธีการของสีฝุ่นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ภาพเขียนในสมุดข่อยที่วัดศีรษะกระบือมีลักษณะพิเศษผิดกับภาพเขียนบนฝา ผนัง ๒ แห่งดังกล่าวข้างต้น กล่าวคือใช้สีสดใสกับมีสีสด ๆ ใช้เพิ่มมากกว่าสีในภาพผนัง สีที่สะดุดตาก็คือสีเหลืองเช่น สีพื้นและสีนกเป็นสีเหลืองแบบ(lemon yellow) การระบายสีพื้นก็อ่อน เช่น รูปนกบนโขดหิน ๒ ตัว กำลังเดินเหยาะย่างไปมา เขาระบายสีพื้นด้วยสีแดงอ่อนแต่บางตอนก็เป็นสีส้ม พอผ่านโขดหินก็เอาสีน้ำตาลเหลืองระบายลงบนโขดหินมีสีน้ำเงินจาง ๆ ผสมกับน้ำตาลอ่อน และยังมีสีแดงอ่อนส่วนตัวนกกับกวางที่ระบายสีสดใสเขาตัดเส้นด้วยสีดำ ดูเด่นออกมาอย่างไม่รู้สึก ดอกไม้ที่ต้นสีขาวแก่ตัดเส้นด้วยสีแดง ดูรวม ๆ แล้วสีงามซึ้งและผสานกลมกลืนกันมาก เป็นเทคนิคการเขียนสีน้ำที่สะอาดตามาก และดูทันสมัย แม้ปัจจุบันก็ไม่มีใครทำเทคนิคได้ ถึงส่วนรูปเทวดาผู้ทรงมเหสักข์นั้นเล่า ดอกไม้อันมีกิ่งก้านจากมือประนมดูลอยกระจะเด่นเต็มไปทั้งเนื้อที่ มีดอกตูมกับใบแซมบนพื้นสีแดงแสดอันฉ่ำ สดใสยิ่งนัก ภาพเขียนจากสมุดข่อยวัดศีรษะกระบือนั้น จักว่าทรงคุณค่าอันยิ่งใหญ่ทางศิลปะยิ่งนัก





ลำดับเจ้าอาวาสวัดหัวกระบือ

๑. พระอาจารย์แดง ๒. พระอาจารย์จวน

๓. พระอาจารย์รุ่ง ๔. พระอาจารย์ทัด

๕. พระอาจารย์เคลือบ ๖. พระอาจารย์สังข์

๗. พระอาจารย์เลิศ ๘. พระอาจารย์ชุม

๙. พระอาจารย์ใจ ๑๐. พระอาจารย์ถม

๑๑. พระครูวิบูลพัฒนกิตติ์( สละ กตปุญโญ)

ตั้งแต่ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๖

วัดเลา


วัดเลา ตำ บลท่าข้าม อำ เภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกแห่งคลอง
สนามไชย เป็นวัดที่ได้สร้างมาแต่โบราณ แต่ไม่มีหลักฐานที่บอกให้ทราบได้อย่างแน่นอนว่า เป็น
วัดที่สร้างขึ้นเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้าง แต่ตามทางสันนิษฐานอันควรจะเชื่อถือได้นั้นมีอยู่ว่าเป็น
วัดที่สร้างมานานแล้วแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี เพราะปรากฎว่า ในสมัยที่บ้านเมืองครั้ง
กระโน้น ประสบกับความทุรนยุคขุกเข็ญ บ้านแตกสาแหรกขาดเพราะนํ้ามือของพวกพม่าข้าศึก
วัดนี้ก็พลอยได้รับเคราะห์ไปกับเขาด้วยกล่าว คือ
พอกรุงศรีอยุธยาแตก พวกพม่าได้ควบคุมกันขึ้นเป็นพวก ๆ เที่ยวตีปล้นบ้านเล็กเรือนน้อย
ไล่ต้อนฟันผู้คน มีพวกหนึ่งได้ผ่านมาทางวัดนี้ เข้าใจว่ามีคนไทยเป็นจำ นวนมิน้อย ที่ได้พากันหนี
ภัย เข้าไปพึ่งในอุโบสถ จึงได้ใช้ปืนยิง จนบางส่วนของอุโบสถต้องปรักหักพัง แม้กระทั่งในสมัย
ที่สร้างขึ้นใหม่ในยุคนี้ ภายหลังที่ได้ร้างมาแล้วนั้นรอยลูกปืนก็ยังมีปรากฏให้เห็นอยู่
ต่อมา ในสมัยกรุงธนบุรีตลอดทั้งสมัยก็ดี และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในยุคต้น ๆ ก็ดีความ
เป็นมาของวัด จะประสพกับความเสื่อมอย่างไรบ้าง ? หรือประสพกับความเจริญอย่างไรบ้างนั้น ?
ไม่มีหลักฐานมั่นคงที่พอจะยืนยันลงไปได้ แต่จะอย่างไรก็ดี ก็คงต้องตกอยู่ในสถานะการณ์ที่ว่าถ้า
ไม่เสื่อมก็ตอ้ งเจริญ ถา้ไมเ่จรญิ กต็ อ้ งเสอื่ ม ซึ่งเป็นกฏธรรมดาอันทุกสิ่งทุกอย่าง ที่มีอยู่เป็นอยู่ใน
โลก จะหลีกเลี่ยงเสียให้พ้นไม่ได้นั่นเอง
ตั้งแต่พุทธศักราช 2466 ขึ้นไป ประมาณสัก 25 ปีเศษ วัดนี้ได้เปลี่ยนสภาพไปจากการ
เป็นสถานที่พำ นักอาศัย ของพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีล กลับกลายเป็นสถานที่หากินแห่งสัตว์ร้าย
และชนพาลคือ วัดได้ประสพกับความเสื่อมอย่างสุดยอด ที่เรียกว่า ร้าง หากว่าไม่มีซากของ
อุโบสถ และบางส่วนแห่งรูปพระปฏิมากร ซึ่งหักกระจัดกระจายเรี่ยราดเหลืออยู่บ้างแล้วก็จะไม่รู้
เลยว่า ที่แห่งนี้เคยเป็นวัดมาก่อน เมื่อสภาพของวัดได้เปลี่ยนแปลงไปถึงเช่นนี้ และมีป่าพงประดา
กันขึ้นอย่างแน่นขนัด พวกอันธพาลจึงได้ยึดเอาเป็นด่านดักกระทำ โจรกรรมขึ้นอีกแห่งหนึ่งใน
หลายแห่งด้วยกัน เพราะเป็นทำ เลที่มีทางหนีทีไล่ที่เหมาะสม ด้วยประการทั้งปวง ซึ่งเหตุนี้ก็เป็นที่
ประวัติวัด
2
ครั่นคร้ามระย่นระย่อของพ่อค้าและประชาชน ผู้อาศัยลำ คลองนี้ผ่านไปมา และเป็นที่รู้จักกันอยู่
อย่างดีแล้ว ในหมู่ของชนพวกนี้
ทุก ๆ ส่วนของวัดที่ปรักหักพังไป สิ่งที่เป็นเหตุนำ มาซึ่งความสังเวชสลดใจเป็นที่สุดนั้น
ได้แก่พระพุทธปฏิมากร ที่สร้างขึ้นด้วยศิลาแดงซึ่งหักพังออกเป็นหลายท่อน ทิ้งกลิ้งอยู่เกะกะเพียง
เท่านี้ก็เป็นที่น่าอนาถใจของพุทธศาสนิกชนพออยู่แล้ว แต่ยังมีมนุษย์ใจกระด้างจำ พวกหนึ่งที่เป็น
คนไม่เกรงกลัวต่อบาปกรรม ได้ยึดถือเอาองค์อวัยวะบางท่อนแห่งพระพุทธปฏิมากรนั้น เป็นหิน
ลับมีดและพร้าหวดจนปรากฏว่าท่อนหินตรงองค์อวัยวะนั้น คอดกิ่ว จึงเป็นที่ตั้งแห่งสังเวช
แต่จะเป็นด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม ต่อมาวัดนี้ได้กลับฟื้นคืนมาเป็นวัดที่เรียกร้องเอาความรู้
สึกของมหาชนให้หันกลับไปรวมกันเป็นแนวเดียว และยังเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรือง ไม่มีวัดใดใน
ท้องถิ่นแถวเดียวกันจะทัดเทียม
ประวัติกาล อันเป็นมาโดยลำ ดับในการสร้างวัดขึ้นใหม่ นั่นคือ……
วันหนึ่งในพุทธศักราช 2466 พระเทพสิทธินายก เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรอยู่ได้มีธุระ
กิจผ่านไปทางนี้ เผอิญได้ขึ้นไปพบเห็นปูชนียวัตถุ ซึ่งควรแก่การสักการะบูชามากถูกนำ มาใช้เป็น
หินลับมีดและพร้าหวด จึงเกิดความสังเวชสลดจิตคิดสท้อนใจในการกระทำ อันมักง่ายของมนุษย์
พวกนั้น และเกรงว่ามนุษย์พวกนั้น จะพากันไปสิงสถิตย์ในขุมนรกอย่างยัดเยียดแน่นขนัด ครั้น
พระเดชพระคุณท่านกลับวัดก็ได้ถูกภาพอันชวนสลดนั้นตรึงแน่นติดไปด้วย
ในคืนนั้น คือ คืนที่ท่านกลับมาวัดเลาแล้ว พระเดชพระคุณท่านจำ วัดไม่หลับพอหลับตา
มโนคติก็ได้แล่นไปเหนี่ยวรั้งเอาภาพของพระพุทธปฏิมากรศิลาแดงที่ถูกทำ เป็นหินลับมีดและพร้า
หวดมาเป็นอารมณ์ และปรากฏเห็นอย่างนั้น ทั้งที่ในเวลาที่ลืมตาอีกด้วย ภาพของพระพุทธ
ปฏิมากรนั้น ได้พลัดอันตรธานหายไปจากความยึดหน่วงของใจ ก็เมื่อท่านเจ้าคุณพ่อได้สักการะ
แล้ว ณ ที่โน้น และพร้อม ๆ กันนี้ ก็ได้อธิษฐานในใจว่า จะไปทำ การปฏิสังขรณ์ให้ และจะคุ้ม
ครองป้องกันมิให้ถูกเบียดเบียนบีฑาอีกต่อไป ก็เป็นเหตุอันน่าอัศจรรย์ ที่ปรากฏคล้ายกับว่า ท่าน
ถูกมนต์สะกดให้หลับไป ในเมื่อหลังจากผูกใจมั่นแล้วไม่นานแม้ว่าเวลานั้นจะเป็นเวลาใกล้รุ่งเกิน
เวลาที่จำ วัดโดยปกติธรรมดาแล้วก็จริง แต่ถึงกระนั้นในขณะที่ตื่นขึ้นก็ไม่ปรากฏว่ามีอาการอ่อน
โหยโรยแรง เพราะเหตุที่มีเวลาจำ วัดน้อยนั้นเลย นี่เป็นเหตุอันควรอัศจรรย์อีกเหมือนกัน
ในชั้นต้น ความคิดในการปฏิสังขรณ์วัด ก็เพียงเพื่อจะทำ การซ่อมแซมให้เป็นรูปองค์พระ
พุทธปฏิมากรอย่างรูปเดิม และทำ ร่มเงาพอกันฝนบังแดดเท่านั้น และในการนี้นายหล่ม
จุนเบง คอร์มปราโดสยามฮ่องกงแบงก์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีศรัทธาความเชื่อ และความเลื่อมใสในพระ
พุทธศาสนาอย่างแรงกล้า และมีความเคารพนับถือในท่านพระเทพสิทธินายก เป็นอย่างยิ่ง ได้
บริจาคทุนทรัพย์สำ หรับใช้ในการปฏิสังขรณ์เป็นคนแรก เป็นจำ นวนเงิน 1,000 บาท แต่ครั้งได้
เริ่มลงมือหักร้างถางพงเข้า พุทธศาสนิกชนในท้องถิ่นแถวนี้ ได้พากันอ้อนวอนขอร้องให้พระเทพ
3
สิทธินายก ได้จัดการก่อสร้างเป็นวัดขึ้นใหม่ดังเดิม ก็เพราะอัธยาศัยอันใคร่ต่อพุทธศาสนาเป็นชีวิต
จิตใจจึงเป็นเหตุให้ท่านไม่ขัดคำ อ้อนวอนขอร้องพุทธศาสนิกชนเหล่านั้น จึงคิดการสร้างเป็นวัดขึ้น
ใหม่แทน
เมื่อได้จัดการถากถางปราบพื้นที่ ให้เป็นผลสำ เร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ได้จัดสร้างเสนาสนะที่
อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณร และได้จัดสร้างอุโบสถ ซึ่งเป็นที่ทำ สังฆกรรมของสงฆ์ขึ้น ครั้นใน
ปี พุทธศักราช 2467 จึงได้ขอพระบรมราชานุญาติ พระราชทานวิสุงคามสีมา และผูกพัทธสีมา
จัดว่าเป็นวัดขึ้นโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ในปีนั้น
งบประมาณเงินที่ได้ใช้จ่ายไป เป็นจำ นวนเงิน 20,000 บาท ในการที่ก่อสร้างวัดขึ้นใหม่นี้ ถือว่า
เป็นอุดมมงคลอันยิ่งใหญ่ เพราะนับได้ว่าเป็นการปิดประตูอบายภูมิให้แก่พวกที่ขลาดเขลาเบา
ปัญญา ที่พากันยึดเอาองค์อวัยวะบางส่วนของพระพุทธปฏิมากร เป็นหินลับมีดและพร้าหวด เป็น
การช่วยให้พ่อค้าและประชาชนผู้สัญจรไม่มา ได้รับความอุ่นใจคลายวิตกปราศจากความหวาดหวั่น
พรั่นพรึง และประการสดุ ทา้ย ก็เป็นการทาํ นุบาํรุงพระพุทธศาสนาให้ดาํรงมั่นถาวร เปน็ อากรแดน
เกิดแห่งบุญกุศล ของพุทธศาสนิกชนผู้เลื่อมใสแล้วกระทำ ลงไปตามสมควรแก่อัธยาศัยของตน
นับแต่ได้สร้างวัดแล้วเป็นต้นมา พระเทพสิทธินายกและเหล่าชาวบ้านในท้องถิ่น ได้คอย
เอาใจใส่ทำ นุบำ รุงอยู่เสมอ เครื่องกัปปิยจังหันสำ หรับขบฉันตลอดจนเครื่องใช้สอยต่าง ๆ อันเป็น
ของจำ เป็นที่พระภิกษุสามเณรจะต้องมีต้องใช้ กระทั่งจตุปัจจัยก็ได้พยายามส่งเสียอยู่เป็นนิจ
เพราะวัดได้ตั้งอยู่ภูมิประเทศสถานถิ่นที่กันดารทั้งนํ้าในคลองหน้าวัดก็เป็นนํ้าเค็ม ต่อมา
จึงได้จัดสร้างถังบรรจุนํ้าฝนหล่อคอนกรีตขึ้นถังหนึ่ง ยาว 4 วา กว้าง 2 วา 2 ศอก สูง 5 ศอก
คืบ จุนํ้าประมาณ 10,000 ปีบ คิดเป็นเงินค่าก่อสร้างในขณะนั้น 1,200 บาท ต่อมาพระเทพสิทธิ
นายก จึงได้ตัดสินใจลงอย่างเด็ดขาด ในการที่จะต้องไปเป็นผู้นำ ด้วยตนเองในการทำ นุบำ รุง
ฉะนั้น ในกลางปีพุทธศักราช 2472 จึงได้ทูลลาเวนคืนตาํ แหน่งสมณศักดิ์ และเจ้าอาวาสเสีย และ
ก็ได้รับพระบรมราชานุญาติ สมตามประสงค์
ในเช้าวันขึ้น 7 คํ่า เดือน 6 ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม พุทธศักราช 2473 เป็น
วันที่พระเทพสิทธินายก ด้วยพระภิกษุสามเณรผู้เป็นสัทธิวิหาริกและอันเตวาสิก ซึ่งมีความจงรัก
ภักดีในพระเทพสิทธินายก ประมาณ 15 รูป ได้พากันแปรสถานทิ้งพระมหานครอันโอฬาร ซึ่ง
เป็นย่านที่ได้รับความยกย่องแล้วว่าเป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญพากันบ่ายหน้าเข้าสู่ป่าจากป่าแสม
อันเป็นแดนที่ทุรกันดารและยึดเอาเป็นนิวาสสถานพำ นักอาศัยด้วยความพอใจอย่างหน้าชื่นตาบาน
จึงนับว่าเป็นการเนรเทศตัวเอง ตามใจสมัครของตน
สำ หรับการมาของพระเทพสิทธินายก พระเดชพระคุณท่าน ย่อมรู้เป็นอย่างดีแล้วว่า
สถานที่นั้นเป็นสถานที่ทุรกันดาร มีป่าจาก และป่าแสมขึ้นอยู่รอบด้านทั้งนํ้าก็เค็ม ทั้งยุงก็ชุม แต่
เพราะความที่ประสงค์จะทำ นุบำ รุงวัดให้ได้ประโยชน์คุ้มค่าของเงินที่ลงทุนไปแล้วนั้นเองจึงเป็น
เหตุทำ ให้ลืมอุปสัคอันสำ คัญนั้น ๆ เสียได้อย่างง่ายดาย แม้จะกลับนึกขึ้นได้ ก็เห็นเป็นของที่ไม่สู้
4
ยากแก่การที่จะแก้ไขจึงเป็นเหตุเร่งเร้าให้ทูลลาเวนคืนตำ แหน่งสมณศักดิ์และเจ้าอาวสเสีย กลับมา
อยู่ที่เป็นป่าเปลี่ยวรกเลี้ยวกันดาร
ในสมัยที่ยกกันมาอยู่ที่วัดเลา เริ่มแรกทีเดียวก็ได้จัดแก้เรื่องนํ้าเค็ม เพราะถังนํ้าที่มีอยู่แล้ว
1 ถัง บรรจุนํ้าไม่พอใช้ จึงได้จัดสร้างขึ้นใหม่อีกถังหนึ่ง หล่อคอนกรีตเหมือนกันยาว 7 วา
กว้าง 3 วา 2 ศอก สูง 6 ศอก จุนํ้าประมาณ 20,000 ปีบ คิดเป็นจำ นวนเงิน 2,000 บาท ใน
ส่วนถังนํ้าถังนี้ นายหลิม จุนเบง ได้เป็นผู้บริจาคทรัพย์ 1,000 บาท เหลือจากนั้นเป็นส่วนที่
เรี่ยไร ได้จากบรรดาศิษยานุศิษย์และคนอื่น ๆ
แต่ที่ท่านพระเทพสิทธินายก ได้สร้างถังใหญ่ถึงเพียงนี้ ก็เนื่องจากได้เห็นความลำ บากยาก
แค้นของประชาชนในถิ่นแถวใกล้ ๆ วัด และในแถบแถวตอนใต้วัดลงไป คือเมื่อต้องการจะหานํ้า
ใช้ ต้องไปบรรทุกมาแต่ไกลบางครั้งไปกันตั้งวันหนึ่งจึงได้นํ้ามา ฉะนั้นไซร้ ถังนํ้าใหญ่จึงปรากฏ
เกิดขึ้น ในด้านเหนือของวัด
ครั้นต่อมาในระหว่างพุทธศักราช 2476 กับ 2477 คาบเกี่ยวกับ ท่านพระเทพสิทธินายก
ได้จัดการสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึ้นหลังหนึ่ง ตัวโรงเรียนเป็นปั้นหยา 2 ชั้น ยาว 8 วา
กว้าง 2 ศอก ด้านตัดมุข 5 วา ในขณะนํ้ากำ ลังสร้างโรงเรียนอยู่นั้น เจตสิกได้ตักเตือนให้ระลึก
ถึงความคิดเมื่อครั้ง 6 ปีก่อน ในการที่จะช่วยปลดเปลื้องผันผ่อนทุกข์ร้อนของประชาชนเพราะเท่า
ที่ได้ช่วยอยู่แล้วนั้น ยังมีความจำ เป็นที่จะช่วยไม่ได้อย่างเต็มไม้เต็มมือ ด้วยเหตุที่ทางวัดจำ ต้อง
สงวนนํ้าไว้ใช้บ้าง แต่เมื่อดวงจิตได้ถูกเมตตากรุณาหุ้มห่อไว้อย่างหนาแน่นจึงมีอาํ นาจบังคับให้
ท่านต้องตกลงใจในการที่จะขจัดทุกข์บำ รุงสุข หรือยัดเยียดสุขให้ซื้อทุกข์ของเขาเสียอย่างเด็ดขาด
เมื่อเป็นเช่นนี้ความต้องการนํ้าฝนที่ตกลงมาบนหลังคาโรงเรียนจึงมีขึ้น ครั้นแล้วถังนํ้าหล่อ
คอนกรีตจึงได้เกิดมีคู่ขนานกันไปกับโรงเรียนโดยที่ยาว 8 วา กว้าง 4 วา สูง 6 ศอก จุนํ้า
ประมาณ 25,000 ปีบ คิดเฉพาะถังนํ้าสิ้นเงินไปในการก่อสร้าง 2,600 บาท ซึ่งในจำ นวนนี้เป็น
ส่วนที่นางสมบุญ ร้านตู้ทองสะพานหันได้บริจาคเป็นจำ นวนเงิน 1,400 บาท นอกนั้นเป็นส่วนที่
ได้จากบรรดาศษิ ยานศุ ษิ ย  และคนอื่น ๆ เมอื่ ถงั นา้ํสาํเรจ็ เรยี บรอ้ ยใชก้ ารไดแ้ ล้ว จงึเปน็ อนั วา่
ท่านเจ้าคุณพ่อ ได้โอบอุ้มคุ้มครองประชาชนไว้ให้พ้นจากความเดือดร้อนเพราะนํ้าเค็มเสียได้อย่าง
เด็ดขาดตั้งแต่นั้นมา รวมค่าก่อสร้างโรงเรียน และถังนํ้านี้เป็นเงิน 10,000 บาทเศษ
นับแต่ได้เริ่มต้นสร้างวัดมาในพุทธศักราช 2466 จนถึง
พุทธศักราช 2479 นี้ มีถาวรวัตถุและเสนาสนะ อยู่หลายอย่าง
ดังต่อไปนี้ คือ
อุโบสถ มุงด้วยกระเบื้องเคลือบ พร้อมทั้งกำ แพงแก้ว 1
หลัง หอสวดมนต์ 1 หอ หอระฆัง 1 หอ ถังนํ้าใหญ่ 3 ถัง ถัง
5
นํ้าเล็ก 2 ถัง ศาลาหน้าวัด 4 หลัง เขื่อนหน้าวัดหล่อคอนกรีต 1 เขื่อน ถนนคอนกรีต 3 สาย
ถนนก่ออิฐปูนหิน 4 สาย ครัว 1 หลัง ส้วมซึม 6 ส้วม
และในวันที่ 7 กรกฎาคม พุทธศักราช 2478 ได้จัดซื้อที่ดินขยายเขตด้านหน้าอุโบสถให้
กว้างออกไปอีกเป็นเนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 55 ตารางวา เป็นราคาเงิน 2,000 บาทเศษ และในเดือน
พฤศจิกายน พุทธศักราช 2478 นั้น นางหมา ตลาดท่าเตียนได้ถวายที่ดินตำ บลหัวกระบือ อำ เภอ
บางขุนเทียน ให้เป็นส่วนศาสนสมบัติอีก 12 ไร่ และปัจจุบันนี้กำ ลังจัดการก่อสร้างโรงเรียน
ประชาบาลอยู่
ผู้ที่ยังไม่ลืมภาพของวัดในสมัยที่รกร้างอยู่ เมื่อได้มาเห็นในปัจจุบันนี้เข้าแล้วย่อมจะ
อัศจรรย์ใจทันทีที่ชั่วเวลาไม่กี่ปีป่าที่รกร้าง ได้กลับแปลงรูปมาเป็นสาธารณสถานย่านบำ เพ็ญบุญ
กุศลอันหรูหราสง่างามน่ารื่นรมย์ถึงเพียงนี้ข้าพเจ้ากล้าคุยได้อย่างเต็มปากว่า ในบางนี้ทั้งบางเมื่อพูด
ถึงความหรูหราสง่างามแล้วก็ยากที่จะหาวัดใดวัดหนึ่งมาเปรียบเทียบได้และทั้งเป็นวัดที่นำ ให้วัด
อื่นเจิรญรอยตามในวิธีปฏิบัติอีกด้วย
วัดเลาเจริญเรื่อยมาเป็นลำ ดับ วิวัฒนาสืบเนื่องมาโดยตลอด จวบจนถึงมรณกาลของท่าน
เจ้าคุณเลียบ (พระเทพสิทธินายก) ในปี พ.ศ. 2483
ช่วงนั้นพระมหาทองคำ กิจประมวล (ผู้เรียบเรียงประวัติวัดเลาเดิม) กำ ลังอาพาธอยู่
ตำ แหน่งเจ้าอาวาสที่ต่อจากเจ้าคุณเลียบ (พระเทพสิทธินายก) จึงว่างอยู่จนกระทั่งพระมหาทองคำ
กิจประมวล ถึงแก่มรณภาพลง จนถึงปี พ.ศ. 2486 รวมเป็น 2 ปี โดยวางเจ้าอาวาสที่วัดเลาต้อง
ปกครองโดยคณะสงฆ์
และในปี พ.ศ. 2486 นั้น พระมหาสุดใจ ธมมปาโล ป.ธ.เอก (สุดใจ ระเบียบ) ได้รับ
แต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดเลา และในปีเดียวกันได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำ บลท่าข้าม ด้วย
ต่อมาปี พ.ศ. 2495 พระมหาสุดใจ ธมปาโล ป.ธง 5 น.ธ. เอก ได้ลาสิกขาบทพระครู
บัณฑิตานุวัตร (พระมหาเวก วิเวโก) จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส โดยได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะ
ตำ บลท่าข้าม ในปี พ.ศ. 2495 อีกด้วย
ต่อมาปี พ.ศ. 2509 พระครูบัณฑิตานุวัตร (พระมหาเวก วิเวโก) ได้ลาสิกขาบท พระผูก
ผาสุกาโม (พระครูผาสุการโกวิท) จึงเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดเลา
จนถึงปี พ.ศ. 2510 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดเลา
รายนามและประวัติเจ้าอาวาส
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
6
ในช่วงนั้นผู้ที่คุ้นเคยเคารพนับถือในท่านพระครูผาสุการโกวิทมักจะเรียกท่านว่า “เจ้า
อธิการผูก” จึงพอสรุปได้ว่า นับแต่มรณกาลสิ้นท่านเจ้าคุณพ่อเลียบ (พระเทพสิทธินายก) จะว่าง
เจ้าอาวาสอยู่ 2 ปี จากนั้นก็มีเจ้าอาวาสปกครองดูแลมาโดยลำ ดับ คือ
1. พระเทพสิทธินายก (ท่านเจ้าคุณเลียบ)
2. พระมหาสุดใจ ธมมปาโล (ประเบียบ) ป.ธ.5 น.ธ. เอก
3. พระมหาเวก วิเวกโก (ใจภักดี) ป.ธ.5 น.ธ. เอก
4. พระครูผาสุการโกวิท ปัจจุบันดำ รงตำ แหน่งเป็นเจ้าคณะเขตบางขุนเทียน
นับตั้งแต่ พระครูผาสุการโกวิท เป็นเจ้าอาวาสวัดเลามานั้น ยังมีท่านอาจารย์ไสว สุมโน
วัดราชนัดดาราม กรุงเทพมหานคร ได้มีความกรุณาเมตตา เป็นองค์อุปถัมภ์หนุนนำ สร้างเสริม
พัฒนาวัดเลามาโดยตลอด จนกระทั่งถึงกาลมรณภาพของท่านพระอาจารย์ไสว สุมโนเมื่อ พ.ศ.
2531 แม้ปัจจุบันนี้ ศิษยานุศิษย์ของท่านพระอาจารย์ไสว สุมโน ก็ยังช่วยอุปถัมภ์ส่งเสริมวัดเลา
อยู่เสมอ
พระครูผาสุการโกวิทพระครูผาสุการโกวิท เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
ปัจจุบันดำ รงตำ แหน่งเป็นเจ้าคณะเขตบางขุนเทียน
7
ปัจจุบันนี้มีสิ่งปลูกสร้างอาคารเสนาสนะที่สรุปได้ ดังนี้
1. อุโบสถ
2. โรงเรียนพระปริยัติธรรม
3. ศาลาบำ เพ็ญกุศลเอนกประสงค์ 2 หลัง
4. ฌาปนสถาน
5. ศาลารายฌาปณกิจ 4 หลัง
6. โรงครัว
7. เรือนคลังเก็บวัสดุภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ 4 หลัง
8. กุฏิสงฆ์ 2 ชั้น 3 ชั้น รวม 12 หลัง
9. หอระฆัง 1 หลัง
10. หอกลอง 1 หลัง
11. มณฑป 1 หลัง
12. ศาลาริมนํ้า
13. สุสาน
14. ห้องนํ้าและห้องสุขา รวม 20 หลัง
15. เขื่อนคอนกรีตตลอดแนวหลังวัดเลา ด้านคลองสนามชัย
16. กำ แพงคอนกรีตตลอกแนวถนนหน้าอุโบสถพร้อม ซุ้มประตู 2 ซุ้ม
17. ถนนคอนกรีตภายในวัด 6 สาย
18. ยังมีส่วนอื่นอีกที่กำ ลังดำ เนินการก่อสร้างอยู่อีก

วัดโพธิ


วัดโพธิ์ หรือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือที่เรียกว่า วัดโพธิ์ อยู่ที่ถนนมหาราช ข้างพระบรมมหาราชวัง เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรม วัดนี้ถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวัดโพธิ์ใหม่ทั้งหมด และได้นำเอาตำราวิชาการด้านต่าง ๆ มาจารึกไว้โดยรอบ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน ถือได้ว่าวัดโพธิ์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย

นอกจากนี้ที่วัดโพธิ์ยังมีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ก่ออิฐถือปูนปิดทองทั้งองค์ ยาว ๔๖ เมตร สูง ๑๕ เมตร ที่ฝ่าพระบาทแต่ละข้างมีลวดลายประดับมุกเป็นภาพมงคล ๑๐๘ ประการ อันเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของมหาบุรุษตามคติของอินเดีย



ในแง่ของการท่องเที่ยวแล้ว วัดโพธิ์ได้รับความนิยมเที่ยวเป็นลำดับที่ 24 ของโลก ในปี พ.ศ. 2549 โดยมีนักท่องเที่ยวมาเยือนในปีนั้นถึง 8,155,000 คน

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เป็นวัดที่มีสิ่งก่อสร้างค่อนข้างแน่น เนื่องจากการบูรณะแบบใส่คะแนน (แข่งกันบูรณะ) ส่งผลให้มีอาคารและสิ่งก่อสร้าง รวมถึง พระพุทธรูปมากมายภายในวัดแห่งนี้ โดยสามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

เขตวัดโพธาราม (เดิม)

เขตวัดโพธารามเดิม ได้แก่ ส่วนตะวันตกของวัด ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่นี้เป็นที่ตั้งของ วิหารพระพุทธไสยาส ศาลาการเปรียญ(ซึ่งเป็นพระอุโบสถเดิม ของวัดโพธาราม) พระมณฑป และพระมหาเจดีย์สี่รัชกาล

วิหารพระพุทธไสยาส สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวที่ทรงโปรดฯ ให้ขยายพระอารามออกมาทางทิศเหนือ (เข้ามาซ้อนทับเขตวัดโพธารามเดิม ที่ถูกยุบไปก่อนหน้านี้) โดยพระองค์ทรงโปรดให้พระองค์เจ้าลดาวัลย์เป็นแม่กองในการก่อสร้าง โดยได้สร้างพระพุทธไสยาสขึ้นก่อน แล้วจึงสร้างพระวิหารภายหลัง โดยมีขนาดเท่ากับพระอุโบสถ บริเวณผนังของวิหารนั้น ด้านบนมีภาพเขียนสีเรื่อง มหาวงศ์ และผนังระหว่างช่องหน้าต่าง เขียนภาพสีเกี่ยวกับพระสาวิกาเอตทัคคะ 13 องค์ อุบาสกเอตทัคคะ 10 ท่านและอุบาสิกาเอตทัคคะ 10 ท่าน อยู่ด้วย

ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ก่ออิฐ ถือปูน ปิดทองทั่วทั้งองค์ และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ โดยมีลักษณะพิเศษ ได้แก่ พระบาทซ้ายและขวาซ้อนเสมอกัน โดยที่พระบาทประดับมุกภาพมงคล 108 ประการ ตรงกลางเป็นรูปกงจักรตามตำรามหาปุริสลักขณะ โดยลวดลายของมงคล 108 ประการนั้น เป็นการผสมผสานกันระหว่างคติความเชื่อที่รับมาจากชมพูทวีปและจีน

พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล
พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล เป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ 4 องค์ ตั้งอยู่ถัดจากพระอุโบสถ ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว สถาปัตยกรรมบริเวณซุ้มประตูมีลักษณะเป็นไทยประยุกต์แบบจีน โดยจะมีตุ๊กตาหินจีนประดับอยู่ประตูละ 1 คู่ องค์พระเจดีนั้นเป็นแบบเจดีย์ย่อไม้สิบสอง ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ

เดิมทีรัชกาลที่ 1 ทรงอัญเชิญโกลนพระศรีสรรเพชญดาญาณ จากวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา ด้วยทรงประสงค์จะหล่อพระศรีสรรเพชญองค์นี้ขึ้นมาใหม่ แต่หลังจากทรงปรึกษากับคณะสงฆ์แล้ว คณะสงฆ์ได้ทูลถวายว่า การนำโกลนพระศรีสรรเพชญดาญาณมาหลอมใหม่นั้น ถือเป็นขีด เป็นกาลกิณี ไม่เป็นมงคลแก่บ้านเมือง จึงทรงตัดสินพระทัยสร้างพระเจดีย์ขนาดใหญ่ แบบย่อมุมไม้ยี่สิบ ครอบโกลนพระศรีสรรเพชญนี้ไว้ และพระราชทานพระนามเจดีย์ว่า "พระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณ" องค์พระเจดีย์ประด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียว ตั้งอยู่ตรงกลางของหมู่พระมหาเจดีย์ ล้อมรอบด้วยพระมหาเจดีย์อีก 3 องค์ นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 1

ต่อมาในรัชกาลที่ 3 พระองค์ทรงมีพระประสงค์ทะนุบำรุงวัดพระเชตุพนฯ ทรงสร้างพระมหาเจดีย์ขนาบข้างกับพระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณ ดังนั้น จึงเป็นเจดีย์สามองค์เรียงกันจากเหนือจรดใต้ โดยมีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้ยี่สิบ ขนาดและความสูงเหมือนกันทุกประการ ต่างเพียงสีกระเบื้องที่มาประดับเท่านั้น โดยพระมหาเจดีย์ทางทิศเหนือของ พระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณประดับด้วย กระเบื้องเคลือบสีขาว นามว่า "พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรรกนิทาน" ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นเพื่อ พระราชอุทิศถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ หล้านภาลัย พระบรมราชชนก ซึ่งนับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 2 ส่วนพระมหาเจดีย์ทางทิศใต้ของพระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณนั้น ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง นามว่า "พระมหาเจดีย์มุนีบัติบริขาน" ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา โดยนับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 3 ด้วย

เมื่อรัชกาลที่ 4 ทรงขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงโปรดเกล้าให้ถ่ายแบบพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย มาจากวัดสวนหลวงสบสวรรค์ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อสร้างขึ้นเป็นพุทธบูชา โดยองค์พระมหาเจดีย์มีลักษณะที่แตกต่างจากพระมหาเจดีย์ทั้ง 3 องค์ คือ มีซุ้มคูหาเข้าไปภายในองค์พระมหาเจดีย์ได้ ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาบหรือสีน้ำเงินเข้ม มีนามว่า "พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย" นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 4

หลังจากนั้น รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำรัสว่า "ต่อไปในรัชกาลหลังอย่าให้เอาเป็น แบบอย่างที่จำเป็นจะต้องสร้างพระเจดีย์ ประจำรัชกาลในวัดพระเชตุพนต่อไปเลย เพราะสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 4 รัชกาลแต่แรกนั้นได้เคยทรงเห็นกันทั้ง 4 พระองค์ ผิดกับสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินพระองค์อื่น" ดังนั้น การสร้างพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลจึงได้ยุติลงตั้งแต่นั้นมา

ศาลาการเปรียญ

เดิมเป็นพระอุโบสถของวัดโพธารามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ภายหลังการสถาปนาพระอุโบสถหลังใหม่ของวัดพระเชตุพนแล้ว จึงได้ลดฐานะเป็นศาลาการเปรียญ โดยภายในมี "พระพุทธศาสดา" ประดิษฐานเป็นพระประธาน

เขตพระอุโบสถ

เขตพระอุโบสถเป็นเขตที่สถาปนาขึ้นใหม่นอกเขตวัดโพธารามเดิม สร้างตามคติไตรภูมิ โดยให้พระอุโบสถเป็นเสมือนเขาพระสุเมรุ และให้วิหารทิศทั้งสี่ เป็นเสมือนทวีปหลักทั้งสี่

พระอุโบสถ

ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงอัญเชิญมาจากวัดศาลาสี่หน้า ด้วยประสงค์ตั้งมั่นแน่วแน่ว่า นี่จะเป็นพระนครอย่างถาวร (ปางสมาธิ สื่อถึงการตั้งจิตมั่นแน่วแน่)

พระวิหารทิศ

ส่วนพระวิหารทิศทั้ง 4 นั้นได้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญจากหัวเมืองต่าง ๆ มาประดิษฐานไว้ โดยแบ่งออกเป็นมุขหน้าและมุขหลัง โดยมุขหน้า คือ มุขที่หันสู่ทิศต่าง ๆ ส่วนมุขหลังนั้น คือ มุขที่หันหน้าเข้าสู่พระอุโบสถ โดยพระวิหารทิศแบ่งออกเป็น 4 ทิศ ได้แก่

* พระวิหารทิศตะวันออก (ทิศพระโลกนาถ) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย อัญเชิญมาจากวัดเขาอินทร์ เมืองสวรรคโลก ส่วนบริเวณมุขหลังประดิษฐานพระพุทธโลกนาถศาสดาจารย์ ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้อัญเชิญมาจากวิหารพระโลกนาถ ภายในวัดพระศรีสรรเพชญ (ซึ่งทรุดโทรมไม่มากนัก)
* พระวิหารทิศตะวันตก (ทิศนาคปรก) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธชินศรี เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก เดิมประดิษฐานอยู่ที่เมืองสุโขทัย โดยได้อัญเชิญมาพร้อมกับพระพุทธชินราช
* พระวิหารทิศเหนือ (ทิศป่าเลไลย) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธปาลิไลย เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลย ซึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงสร้างขึ้นใหม่เมื่อครั้งทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ
* พระวิหารทิศใต้ (ทิศปัญญจวัคคีย์) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ซึ่งอัญเชิญมาจากเมืองสุโขทัย

พระเจดีย์

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ถือได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มาก ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งสามารถแบ่งพระเจดีย์ต่าง ๆ ได้ 4 ประเภท ได้แก่ พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล 4 องค์ซึ่งประดิษฐานอยู่ในเขตวัดโพธารามเดิม ส่วนที่ประดิษฐานในเขตพระอุโบสถนั้น ได้แก่ พระเจดีย์ราย 71 องค์ พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียวรวม 20 องค์ และพระเจดีย์ทรงปรางค์หรือพระมหาสถูป 4 องค์ รวมทั้งสิ้น 99 องค์ โดยพระเจดีย์ที่ประดิษฐานในเขตพระอุโบสถ มีรายละเอียดดังนี้

พระเจดีย์ราย

พระเจดีย์ราย ประดิษฐานอยู่บริเวณโดยรอบของพระระเบียงชั้นนอกมีจำนวนทั้งสิ้น 71 องค์ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเดิมมีพระราชประสงค์ให้เป็นให้เป็น ที่บรรจุพระอัฐิของเจ้านายเชื้อพระ วงศ์ พระเจดีย์ประดับด้วยกระเบื้องถ้วยเคลือบสีและศิลาเขียว นับเป็นพระเจดีย์ที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับพระเจดีย์อื่น ๆ พระเจดีย์รายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารนั้น ได้รับยกย่องว่าเป็น พระเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ที่งามที่สุดของยุค รัตนโกสินทร์

พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว

พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นพระเจดีย์ 5 องค์ที่ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน โดยองค์ตรงกลางนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าอีก 4 องค์ที่ล้อมรอบอยู่ ประดิษฐานอยู่ตรงมุมพระวิหารคดทั้ง 4 ด้าน นับรวมได้ 20 องค์ ลักษณะพระเจดีย์นั้นเป้นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง 4 องค์ล้อมรอบองค์กลางซึ่งเป็นเจดีย์แบบไม้สิบสองเพิ่มมุม ภายในพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุทุกองค์

พระมหาสถูป

พระมหาสถูป เป็นพระเจดีย์ทรงปรางค์ หรือที่เรียกว่า พระอัคฆีย์เจดีย์ มีจำนวน 4 องค์ ประดิษฐานอยู่ตรงมุมลานพระอุโบสถชั้นนอกทั้ง 4 ด้าน บริเวณซุ้มของพระเจดีย์มีเทวรูปท้าวจตุโลกบาลหล่อด้วยดีบุก แล้วลงรักปิดทอง ประดิษฐานทั้ง 4 ด้าน ด้านบนมีรูปยักษ์ซึ่งหล่อด้วยดีบุกแบกยอดปรางค์ พระมหาสถูปมีชื่อเรียกที่ต่างกันดังนี้

* องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีนามว่า พระพุทธมังคละกายพันธนามหาสถูป
* องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีนามว่า พระพุทธธรรมจักปวัตะนะปาทุกามหาสถูป
* องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีนามว่า พระพุทธวิไนยปิฏกะสูจิฆรามหาสถูป
* องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีนามว่า พระพุทธอภิธรรมธระวาสีปริกขาระมหาสถูป

ประติมากรรมต่าง ๆ ในวัดโพธิ์

นอกจาก อาคาร พระวิหาร พระเจดีย์ต่าง ๆ แล้ววัดโพธิ์ยังมีสิ่งน่าสนใจอีกหลายอย่าง อาทิเช่น



รูปปั้นฤๅษีดัดตน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม พระองค์ทรงได้รวบรวมการแพทย์แผนโบราณและ ศิลปวิทยาการของกรุงศรีอยุธยาเอาไว้ รวมทั้ง ได้ปั้นรูปฤๅษีดัดตนในท่าต่าง ๆ ไว้ด้วย ซึ่งจำนวนของรูปปั้นฤๅษีดัดตนที่สร้างในรัชกาลที่ 1 นั้น ไม่ทราบจำนวนแน่ชัด ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ได้หล่อรูปปั้นฤๅษีดัดตนในท่าต่าง ๆ รวม 80 ท่า โดยใช้สังกะสีและดีบุก แทนการใช้ดินที่เสื่อมสภาพได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีการแต่งโครงสี่สุภาพ เพื่อบรรยายสรรพคุณท่าต่างของฤๅษีดัดตน ทั้ง 80 บทด้วย เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายรูปปั้น รวมทั้งมีการลักลอบเอารูปปั้นไปขายบางส่วน ดังนั้น รูปปั้นที่อยู่ภายในวัดโพธิ์จึงมีเหลือเพียง 24 ท่าเท่านั้น

ยักษ์วัดโพธิ์บริเวณซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป
โดยมีสีกายเป็นสีแดงและสีเขียว ลักษณะคล้ายยักษ์ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมักมีผู้เข้าใจผิดว่าตุ๊กตาสลักหินรูปจีน หรือ ลั่นถัน นายทวารบาลที่ตั้งอยู่บริเวณหน้าประตูวัดนั้นคือ ยักษ์วัดโพธิ์ นอกจากนี้ ยังมีตำนานเกี่ยวกับยักษ์วัดโพธิ์ และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำให้เกิดท่าเตียนใน ปัจจุบัน นั่นคือ ยักษ์วัดโพธิ์ซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดโพธิ์ และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำหน้าที่ดูแล วัดแจ้งนั้น ทั้ง 2 ตนเป็นเพื่อนรักกัน วันหนึ่งยักษ์วัดแจ้งไปขอยืมเงินจากยักษ์วัดโพธิ์ เมื่อถึงกำหนดส่งเงินคืนยักษ์วัดโพธิ์กลับไม่ยอมจ่าย ดังนั้น ยักษ์ทั้ง 2 ตนจึงเกิดทะเลาะกัน แต่เพราะรูปร่างที่ใหญ่โต และพละกำลังที่มหาศาลของยักษ์ทั้ง 2 ตน เมื่อเกิดต่อสู้กันจึงทำให้บริเวณนั้นราบเรียบโล่งเตียนไปหมด เมื่อพระอิศวรทราบเรื่องนี้ จึงได้ลงโทษให้ยักษ์วัดโพธิ์ยืนเฝ้าพระอุโบสถวัดโพธิ์ และยักษ์วัดแจ้งยืนเฝ้าวิหารวัดแจ้งตั้งแต่นั้นมา

วัดระฆัง


วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร หรือ วัดระฆัง, วัดหลวงพ่อโต ตั้งอยู่เลขที่ 250 แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกายภาค 1

วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นพระอารามหลวงและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (สา) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก จากนั้นได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆสิตาราม” นอกจากเป็นเพราะขุดพบระฆังที่วัดนี้และเพื่อฟื้นฟูแบบแผนครั้งกรุงศรีอยุธยาที่มีวัดชื่อวัดระฆังเช่นกัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ “วัดระฆังโฆสิตาราม” เป็น “วัดราชคัณฑิยาราม” (คัณฑิ แปลว่าระฆัง) แต่ไม่มีคนนิยมเรียกชื่อนี้ ยังคงเรียกว่าวัดระฆังต่อมา

วัดระฆังโฆสิตารามมีหอพระไตรปิฎกซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมาก เคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาถวายวัด เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สวยงามเพื่อเป็นหอพระไตรปิฎก

สนามหลวง


สนามหลวง" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ สนามหลวง (แก้ความกำกวม)
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′18″N, 100°29′35″E

ท้องสนามหลวงท้องสนามหลวง หรือ สนามหลวง เป็นสนามขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล กรุงเทพมหานคร

ท้องสนามหลวง เดิมเรียกว่า ทุ่งพระเมรุ เนื่องจากใช้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมวงศานุวงศ์ ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2398 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเรียกจาก “ทุ่งพระเมรุ” เป็น “ท้องสนามหลวง” ดังปรากฏในประกาศว่า “ที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น คนอ้างการซึ่งนาน ๆ มีครั้งหนึ่งแลเป็นการอวมงคล มาเรียกเป็นชื่อตำบลว่า ‘ทุ่งพระเมรุ’ นั้นหาชอบไม่ ตั้งแต่นี้สืบไปที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น ให้เรียกว่า ‘ท้องสนามหลวง’”

ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นต้นมา ได้ใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น เป็นที่ตั้งพระเมรุมาศของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ และเป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ทำนาที่สนามหลวง เพื่อแสดงให้ปรากฏแก่นานาประเทศว่า เมืองไทยบริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร มีไร่นาไปจนใกล้ ๆ พระบรมมหาราชวัง และไทยเอาใจใส่ในการสะสมเสบียงอาหารไว้เป็นกำลังของบ้านเมืองด้วย

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีพืชมงคล พิธีพิรุณศาสตร์มีกำแพงแล้วล้อมรอบบริเวณ ข้างในสร้างหอพระพุทธรูปสำคัญเป็นที่ประดิษฐานพระสำหรับพิธี สำหรับการพิธีมีพลับพลาที่ทำการพระราชพิธี มีหอดักลมลงที่พลับพลาสำหรับทอดพระเนตรการทำนา ข้างพลับพลามีโรงละครสำหรับเล่นบวงสรวง ด้านเหนือมีพลับพลาน้อยสร้างบนกำแพงแก้วสำหรับประทับทอดพระเนตรการทำนาในท้องทุ่ง นอกกำแพงแก้วยังมีฉางสำหรับใส่ข้าวที่ได้จากการปลูกข้าว

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ขยายสนามหลวงจากเดิม และรื้อพลับพลาต่าง ๆ ที่สร้างในรัชกาลก่อน ๆ เพราะหมดความจำเป็นที่จะต้องทำนา และได้ใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การฉลองพระนครครบ 100 ปี งานฉลองเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับจากยุโรปใน พ.ศ. 2440 ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ใช้เป็นสนามแข่งม้า สนามกอล์ฟ

ในรัชกาลปัจจุบันมีการใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญ ๆ เช่น พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี พระราชพิธีกาญจนาภิเษก รวมทั้งงานพระเมรุมาศเจ้านายระดับสูง เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

สนามหลวงเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 94 ตอนที่ 126 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2520 มีเนื้อที่ 74 ไร่ 63 ตารางวา

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วัดพระแก้ว


วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) เขตพระนคร จ.กรุงเทพฯ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดพระแก้ว นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2325แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2327

เป็นวัดที่สร้างขึ้นในเขตพระบรมมหาราชวัง ตามแบบวัดพระศรีสรรเพชญ สมัยอยุธยา วัดนี้อยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก ทางทิศตะวันออก มีพระระเบียงล้อมรอบเป็นบริเวณ เป็นวัดคู่กรุงที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ใช้เป็นที่บวชนาคหลวง และประชุมข้าทูลละอองพระบาทถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา


รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย มาประดิษฐาน ณ ที่นี้ วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้ ภายหลังจากการสถาปนาแล้ว ก็ได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชกาล เพราะเป็นวัดสำคัญ จึงมีการปฏิสังขรณ์ใหญ่ทุก 50 ปี คือในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน

เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี ในปี พ.ศ. 2525 ที่ผ่านมา การบูรณปฏิสังขรณ์ที่ผ่านมา มุ่งอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอันเป็นมรดกชิ้นเอกของชาติ ให้คงความงามและรักษาคุณค่าของช่างศิลปไทยไว้อย่างดีที่สุด เพื่อให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้อยู่คู่กับกรุงรัตนโกสินทร์ตลอดไป

พระอุโบสถ
สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ หลังคาลด 4 ระดับ 3 ซ้อน มีช่อฟ้า 3 ชั้น ปิดทองประดับกระจก ตัวพระอุโบสถมีระเบียงเดินได้โดยรอบ มีหลังคาเป็นพาไลคลุม รับด้วยเสานางรายปิดทองประดับกระจกทั้งต้น พนักระเบียงรับเสานางราย ทำเป็นลูกฟักประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีอย่างจีน ตัวพระอุโบสถมีฐานปัทม์รับอีกชั้นหนึ่ง ประดับครุฑยุดนาคหล่อด้วยโลหะปิดทอง มีเสารายเทียนหล่อด้วยทองแดงล้อมรอบทั้งสี่ด้าน

ผนังพระอุโบสถ ในรัชกาลที่ 1 เขียนลายรดน้ำบนพื้นชาดแดง รัชกาลที่ 3 โปรดเล้าฯ ให้ปั้นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ปิดทองประดับกระจก เพื่อให้เข้ากับผนังมณฑป ปิดทองประดับกระจก บานพระทวารและพระบัญชรประดับมุกทั้งหมด ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 1 ที่เชิงบันไดมีสิงห์หล่อด้วยสำริดบันไดละคู่ รวม 12 ตัว โดยได้แบบมาจากเขมรคู่หนึ่ง แล้วหล่อเพิ่มอีก 10 ตัว

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)
ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต) พระพุทธรูปปางสมาธิ ทำด้วยมณีสีเขียวเนื้อเดียวกันทั้งองค์ หน้าตักกว้าง 48.3 ซม. สูงตั้งแต่ฐานถึงยอดพระเศียร 66 ซม. ประดิษฐานอยู่ในบุษบกทองคำ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระราชศรัทธาสร้างเครื่องทรงถวายเป็นพุทธบูชา สำหรับฤดูร้อนและฤดูฝน

เครื่องทรงสำหรับฤดูร้อน เป็นเครื่องต้นประกอบด้วยมงกุฎพาหุรัด ทองกร พระสังวาล เป็นทองลงยา ประดับมณีต่างๆ จอมมงกุฎประดับด้วยเพชร

เครื่องทรงสำหรับฤดูฝน เป็นทองคำ เป็นกาบหุ้มองค์พระอย่างห่มดอง จำหลักลายที่เรียกว่าลายพุ่มข้าวบิณฑ์ พระเศียรใช้ทองคำเป็นกาบหุ้ม ตั้งแต่ไรพระศกถึงจอมเมาฬี เม็ดพระศกลงยาสีน้ำเงินแก่ พระลักษมีทำเวียนทักษิณาวรรต ประดับมณีและลงยาให้เข้ากับเม็ดพระศก

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างเครื่องทรงสำหรับฤดูหนาวถวายอีกชุดหนึ่ง ทำด้วยทองเป็นหลอดลงยาร้อยด้วยลวดทองเกลียว ทำให้ไหวได้ตลอดเหมือนกับผ้า ใช้คลุมทั้งสองพาหาขององค์พระ

บุษบกทองที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร สร้างด้วยไม้สลักหุ้มทองคำทั้งองค์ ฝังมณีมีค่าสีต่างๆ ทรวดทรงงดงามมาก เป็นฝีมือช่างรัชกาลที่ 1 เดิมบุษบกนี้ตั้งอยู่บนฐานชุกชี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเบญจาสามชั้นหุ้มด้วยทองคำ สลักลายวิจิตรหนุนองค์บุษบกให้สูงขึ้น บนฐานชุกชีด้านหน้า ประดิษฐานพระสัมพุทธพรรณี เป็นพระพุทธรูปที่คิดแบบขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยไม่มีเมฬี มีรัศมีอยู่กลางพระเศียร จีวรที่ห่มคลุมองค์พระเป็นริ้ว พระกรรณเป็นแบบหูมนุษย์ธรรมดาโดยทั่วไป

หน้าฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธปฏิมากรฉลองพระองค์รัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 องค์ด้านเหนือพระนามว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก องค์ด้านใต้พระนามว่า พระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระพุทธรูปทั้งสองพระองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์สูง 3 เมตร ทรงเครื่องแบบจักรพรรดิ์หุ้มทองคำ เครื่องทรงเป็นทองคำลงยาสีประดับมณี

ประวัติว่าวไทย


ว่าว เป็นกีฬาที่สนุกสนานอย่างหนึ่ง นิยมเล่นกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณในฤดูร้อน หรือหน้าลมว่าวประมาณเดือนมีนาคมของทุก ปี การเล่นว่าวของคนไทยถือว่าเป็นการแข่งขันกีฬา พื้นเมือง การต่อสู้ใช้ความสามารถ ไหวพริบ และกำลังความฉับไวในการชัก เอาชนะด้วยกระแสแรงลมที่พัด เพื่อให้ว่าวกินลมว่าวที่รู้จักกันดีตามพื้นบ้านทั่วไป คือ ว่าวอีลุ้ม ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวดุ๊ยดุ่ย


ว่าว เป็นของเล่นชนิดหนึ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้ลอยอยู่ในอากาศได้ด้วยแรงลมและมีสายป่านคอยบังคับให้ลอยอยู่ในทิศทางที่ต้องการ โดยเริ่มจากประเทศจีนโดยใช้ไม้ไผ่และผ้าไหมเป็นอุปกรณ์ ต่อมาได้ประดิษฐ์ว่าวในหลายรูปแบบตามวัฒนธรรมของหลายประเทศ


[แก้ไข]
ว่าว
ในอดีตมีกล่าวอยู่ในพงศาวดารเหนือว่า พระร่วงทรงเล่นว่าวอย่างไม่ถือพระองค์ว่าเป็นท้าวพระยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 – 2300) ก็มีการเล่นว่าวกันมากถึงกับมีกฎมณเฑียรบาลห้ามมิให้ประชาชนเล่นว่าวทับพระราชวัง ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็มีการเล่นว่าวดังเช่นในสมัย ก็มีการเล่นว่าว เช่นในรัชกาลที่ 5 ก็ทรงโปรดให้ใช้สถานที่ในพระราชวังดุสิต และสนามเสือป่าเป็นที่เล่นว่าวจุฬากับปักเป้า เป็นต้น ว่าวของไทยที่ทำขึ้นเล่นกันเป็นพื้นมีอยู่ 4 ชนิดด้วยกัน คือ ว่าวอีลุม ว่าวปักเป้า ว่าวจุฬา และว่าวตุ๋ยตุ่ย


ว่าวคือ เครื่องเล่นรูปต่างๆ มีไม้เบาๆเป็นโครงแล้วปิดด้วยกระดาษหรือผ้าบางๆ ปล่อยให้ลอยตามลมขึ้นไปในอากาศโดยมีสายเชื่อหรือป่านยึดไว้


ว่าวมีเล่นกันในหลายประเทศทั้งในจีน ญี่ปุ่น อินเดีย และยุโรป ในอดีตที่ผ่านมาการเล่นว่าวเป็นไปเพื่อความบันเทิงและเป็นความเชื่อทางศาสนา ประเพณี หรือ การใช้ประโยชน์อย่างอื่นด้วยแต่ในปัจจุบันเป็นเพียงการละเล่น หรือกีฬาเพื่อความสนุกสนามและเพื่อพักผ่อนหย่อนใจเท่านั้น


คนไทยรู้จักการเล่นว่าวมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย และนิยมเล่นกันแพร่หลายในสมัยอยุธยา M.dela Loubere กล่าวไว้ว่า ว่าวของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม ปรากฏในท้องฟ้าทุกคืนตลอด ระยะเวลา 2 เดือน ของฤดูหนาว และทรงแต่งตั้งขุนนางให้คอยผลัดเปลี่ยนเวรกันถือสายป่านไว้


ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็นิยมเล่นว่าวกันมาก โดยเฉพาะรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และในรับสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนกีฬาเล่นว่าว มีการประกวดและแข่งขันว่าวจุฬาและปักเป้า โดยมีกติกาการแข่งขันเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้การแข่งขันยุติธรรมและสนุกสนามยิ่งขึ้น สถานที่เล่นว่าวในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เป็นที่รู้จักกันดีมาแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน คือสนามหลวง ส่วนในต่างจังหวัดก็นิยมเล่นกันตามที่โล่งกว้างหรือตามท้องนาทั่วไป




[แก้ไข] ประเภทของว่าว
ว่าวแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 2 ประเภทคือ 1. ว่าวแผง คือ ว่าวที่ไม่มีความหนา มีแต่ส่วนกว้างและส่วนยาว เช่น ว่าวจุฬา ปักเป้า อีลุ้ม หรือว่าวรูปสัตว์ต่างๆ 2. ว่าวภาพ คือ ว่าวที่ประดิษฐ์ให้มีลักษณะพิเศษเพื่อแสดงแนวความคิด ฝีมือในการประดิษฐ์ แบ่งเป็นประเภทย่อยได้ 3 ชนิด

ว่าวประเภทสวยงาม
ว่าวประเภทความคิด
ว่าวประเภทตลกขบขัน
ว่าวแผง เท่านั้นที่นิยมนำมาเล่น หรือแข่งขันกัน ส่วนว่าวภาพจะทำสำหรับชักขึ้นอวดรูปร่างว่าวมากกว่า และนิยมชักให้ลอยนิ่งอยู่ในอากาศให้คนชม ว่าวจุฬาและว่าวปักเป้า

ว่าวจุฬาและว่าวปักเป้า มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากที่สุด แม้จะทำเล่นกันเฉพาะในภาคกลางก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นว่าวประจำชาติไทย มีลักษณะแตกต่างกับว่าวของชาติต่างๆ คือเป็นว่าวที่สวยงามด้วยรูปทรงและฝีมือ ที่ประดิษฐ์อย่างประณีตที่สุด และสามารถบังคับให้เคลื่อนไหวได้ด้วยอาการต่างๆ อย่างสง่างาม และคล่องแคล่วว่องไว ด้วยสายป่านที่ชัดว่าวนั้นเพียงสายเดียว ตรงข้างกับว่าวนานาชาติที่มีความสวยงามที่สีสันอันแพรวพราวตา แต่ส่วนมากลอยลมอยู่เฉยๆ ไม่อาจบังคับให้เคลื่อนไหวอย่างว่าวจุฬาและว่าวปักเป้าได้ ว่าวจุฬามีลักษณะคล้ายดาวห้าแฉก มุมไม่เท่ากัน ไม่มีหางผูกคอซุงที่อก ทำให้ส่ายไปมาได้ ส่วนว่าวปักเป้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ผูกคอซุงที่อกเช่นกัน มีหางยาวไว้ถ่วงน้ำหนักที่มุมล่างของตัวว่าว

[แก้ไข] วิธีการเล่นว่าว
เอาเชือกว่าวสายยาวผูกกับสายซุง แล้วให้คนส่งว่าวไปยืนโต้ลม จากผู้ชักสายว่าว ประมาณ 4-5 เมตร ตั้งหัวว่าวขึ้นรอ พอลมมากก็ส่งว่าวขึ้นไป คนชักว่าวจะกระดูกและผ่อนสายว่าวจนว่าวขึ้นสูง ติดลมบน จึงถือไว้นิ่งๆ หรือบังคับให้ว่าวส่ายไปมา ว่าวธรรมดาไม่ต้องใช้ป่านพิเศษ แต่ถ้าเป็นว่าวแข่งขัน ตัวว่าวเอาชนะแพ้กัน จะใช้ป่านคมทำสายว่าว วิธีทำป่านคม คือ เอาเศษแก้วมาบดให้ละเอียด เคี่ยวกับแป้งเปียก หรือกาว และนำมารูดตามสายว่าวที่ขึงตึง ทิ้งไว้ให้แห้งก็จะเป็นสายป่านคม

ประวัติชาติไทย


ประวัติศาสตร์ชาติไทย



ถิ่นเดิมของคนเชื้อชาติไทย

เชื้อชาติไทยเป็นเชื้อชาติที่สำคัญยิ่งใหญ่มาแต่โบราณและมีความเจริญรุ่งเรืองมานานรุ่นเดียวกับชาติอื่น ๆ เช่น

ชาติบาบิโลน นักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ ผู้ทำการค้นคว้าทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกัน และจีน ได้ศึกษาจากประวัติศาสตร์

และวรรณคดีของจีน ลงความเห็นว่า หมู่ชนชาติเชื้อไทยนั้นได้ตั้งถิ่นฐานเป็นอาณาจักรถาวรในดินแดนทางภาคใต้ของจีน

ปัจจุบันมานานก่อนคนเชื้อชาติจีนจะเข้ามาในดินแดนที่เป็นอาณาเขตของจีนในปัจจุบันนี้

แหล่งกำเนิดของชนเชื้อชาติไทย

แหล่งกำเนิดของชนเชื้อชาติไทย มีข้อสันนิษฐานเชื่อกันมาว่า

( 1) แหล่งกำเนิดของคนเชื้อชาติไทยเดิมนั้นอยู่แถบภูเขาอัลไตแล้วอพยพมาอยู่ในดินแดนของจีนในปัจจุบันก่อนคน

เชื้อชาติจีน

กล่าวกันว่าชนชาติโบราณที่อยู่ตามเทือกเขาอัลไตทางด้านนี้มีพวกโลโละ กะเหรี่ยง แม้ว เย้า มอญ เขมร ซึ่งเป็นพวก

พเนจรเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์ และบ้างก็ตั้งหลักแหล่งทำการเกษตรบ้างแล้ว ซึ่งชนชาติเหล่านี้มีชนชาติไทยอยู่ด้วย ถิ่นที่ว่าเป็นแหล่ง

กำเนิดเดิมของไทยคือตอนเหนือของแม่น้ำเออทิส ระหว่างแม่น้ำเอนนิสไซและแม่น้ำอิลี

เรื่องชนชาติไทยอพยพกันลงมาจากภูเขาอัลไตนั้นมีผู้คัดค้านมากมาย ชนชาติไทยในถิ่นเดิมนั้นยังไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัด

ทราบกันว่าแต่ก่อนนี้มีอาณาจักรของคนไทย เราเรียกตนเองว่า “อ้ายลาว” (แปลว่าคนใหญ่ คำว่า “อ้าย” แปลว่าใหญ่ ส่วน “ลาว”

แปลว่าคน) ต่อมาจึงใช้คำว่าไท สันนิษฐานว่าใช้คำว่า “ไท” นี้มานานแต่หลังอ้ายลาว นอกจากอ้ายลาวแล้วเรายังมีชื่อเรียกกันหลาย

อย่าง เช่น มุง ลุง ปา

ตามหลักฐานกล่าวว่าถิ่นฐานของไทยอยู่ระหว่างแม่น้ำฮวงโหและแม่น้ำยั่งจื้อ หรือแยงซี

ไท หรืออ้ายลาวอยู่ในระหว่างแม่น้ำสองสายนี้ ปรากฏในจดหมายเหตุจีนเรียกชื่อไทยครั้งแรกว่า “ต้ามุง” หรือ “มุงใหญ่”

คือ ชาติ “อ้ายลาว” ไทยเรียกตนเองว่าอ้ายลาว แปลว่า “คนใหญ่” จีนเขียนจดหมายเหตุไว้ว่า ชนชาติอ้ายลาวเป็นเจ้าของถิ่นมา

ก่อนจีน ซึ่งเป็นระยะสองพันปีก่อนคริสต์กาล จีนได้มาพบไทย มุง ลุง ปา ปัง ปละลาว บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำยั่งจื้อ ครอบครองเสฉวน

ตะวันตกไปจนเกือบจดทะเล

3,881 ปีหลังจากจดหมายเหตุฉบับนี้ คือ ในปี ค.ศ.1901 หมอดอดจ์เดินทางไปในในดินแดนนี้ยังได้พบคนไทยที่เรียน

ตนเองว่า ลุง และ ปา แต่จีนเรียกว่า “ลุงเชน” แปลว่าประชาชนชาวลุง และพวก “ปา” เรียกว่า “ปายี่” แปลว่า “คนป่าเถื่อน”

พวกไทยมุงที่เรียกตนเองว่าอ้ายลาวนั้นเป็นพวกเก่าแก่โบราณกว่า พวกบาบิโลน อัสสิเรีย และอียิปต์

ในหนังสือแสดงพงศาวดารสยาม พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า “ชนชาติไทย

เป็นชาติใหญ่ชาติหนึ่งในเอเชียฝ่ายตะวันออกมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล แม้ในทุกวันนี้นอกจากนามสยามประเทศนี้ ยังมีชนชาติไทย

ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในประเทศอื่นอีกเป็นอันมาก ที่อยู่ในดินแดนประเทศจีนก็หลายมณฑล ทั้งในแดนตังเกี๋ย แดนพม่า ตลอดจน

มณฑลอัสสัมในประเทศอินเดีย แต่คนทั้งหลายหากเรียกชื่อต่าง ๆ กันไปตามถิ่นที่อยู่ เช่น เรียกชาวสยาม ลาว เฉียง ฉาน เงี้ยว ลื้อ

เขิน และอาหม ที่เรียกตามเค้านามเดิมก็มีบ้าง เช่น ผู้ไท ที่แท้พวกที่ได้นามต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นชนชาติไทย พูดภาษาไทย

และถือตัวว่าเป็นคนไทยด้วยกันทั้งนั้น ตามเรื่องพงศาวดารเดิมที่ปรากฏมาว่า เดิมนั้นชนชาติไทยตั้งภูมิลำเนาอยู่ในดินแดนทุกวันนี้

ตกเป็นอาณาเขตของจีนฝ่ายใต้ ที่เรียกว่ามณฑลฮุนหนำ มณฑลกุยจิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง มณฑลกวางใส ทั้งสี่มณฑลนี้มีบ้านเมืองและ

เจ้านายของตนปกครองแยกย้ายกันอยู่ในหลายอาณาเขต จีนเรียกชนชาติไทยพวกนี้ว่า “ฮวน”

ในปัจจุบัน ยังมีคนไทยอยู่ในอาณาเขตตอนใต้ของจีนอีกมาก ในมณฑลไกวเจาและมณฑลกวางสีและในตะวันออกของ

ยูนนานแม้รัฐบาลจีนในปัจจุบันได้ประกาศว่า คนจีนแคะ ที่แท้เป็นคนไทย ยอมให้แยกตัวเป็นรัฐอยู่ภายใต้สาธารณรัฐประชาชนจีน

(2) แหล่งกำเนิดของไทยอยู่ทางตอนใต้ของแหลมอินโดจีน

ตามหลักฐานทางศิลปวัฒนธรรมว่าต้นกำเนิดของชนชาติไทยในปัจจุบันวิวัฒนาการมาจากมนุษย์แรกเริ่มที่เดินตัวตรง

อายุถอยหลังไปประมาณ 500,000 ปี ร่วมสมัยกับมนุษย์ปักกิ่งและมนุษย์ชวา กระจัดกระจายอยู่ทางตอนใต้ของแหลมอินโดจีน

ปรากฏหลักฐานแน่ชัดมาจนปัจจุบันว่าชนชาติไทยเป็นเจ้าของถิ่นเดิมในแหลมทอง มีการอพยพไปจากถิ่นเดิมบ้าง บางกลุ่มก็

อพยพวนเวียนอยู่ ในแหลมทองนี้เพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่สืบเชื้อสายต่อไปเป็นเวลานานกว่า 500,000 ปี

ชนชาติละว้า เป็นชนชาติที่วิวัฒนาการมาจากไทยสยามเจ้าของถิ่นเดิมในแหลมทอง เป็นชนชาติที่อพยพเคลื่อนย้ายอยู่

ในส่วนที่เป็นอาณาจักรไทยในปัจจุบันมาตลอดช่วง 3,000 ถึง 4,000 ปีมาแล้ว แต่เมื่อมาได้สังคมกับพวกอินเดีย ชาวอินเดียจึงตั้ง

ชื่อให้ว่า “ไทยสยาม” ตามผิวกายที่คล้ำ ไม่ดำเหมือนพวกนิกรอยด์ ไม่ขาวเหมือนพวกคอเคซอย และไม่เหลืองเหมือนพวก

มองโกลอยด์

ชนชาติไทยนี้จัดอยู่ในพวกเซียมมอยด์ เป็นพวกมนุษย์ตัวตรงซึ่งเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่าพวกออสตราลอยด์

(3) คนไทยมีถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน

ชนชาติอ้ายลาวนั้นเป็นชนชาติไทยในแหลมทอง หรือเป็นพวกเซียมมอยด์ผิวคล้ำ อพยพกลุ่มใหญ่เพื่อหาที่ดินที่อุดม

สมบูรณ์ไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกือบทั้งภาค ระหว่าง 5,000 ถึง 4,000 ปีล่วงมาแล้ว พวกเซียมมอยด์ทางตะวันตกเฉียง

เหนือและภาคกลาง ก็อพยพตามขึ้นไปบ้างเหมือนกันแต่ไม่มากเหมือนพวกแรก ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในอาณาเขตของจีนตอนใต้

ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตอนหลัง (ตอนสามก๊ก) ชนชาติไทยในจีนเสื่อมลง มีฐานะเป็นเพียงรัฐหนึ่งในหกรัฐของจีน จึงอพยพ

กลับลงมาทางใต้อีกครั้งหนึ่ง และอยู่กับพวกเดียวกันในแหลมทอง

การอพยพของไทยในจีน

นักโบราณคดีศึกษาได้ความว่า ประเทศจีนฝ่ายใต้ ปัจจุบันคือมณฑลกุยจิ๋ว ฮุนหนำ กวางตุ้ง และกวางใส แต่เดิมเป็น

อาณาเขตของไทยตั้งบ้านเมืองอยู่โดยเป็นอิสระแก่กัน แต่เมื่อมีผู้คนคับคั่งมากขึ้นจึงมีการอพยพลงมาทิศตะวันตกเฉียงใต้และ

ทิศใต้ ในปีพ.ศ.205 อำนาจไทยในมณฑลเสฉวนหมดสิ้นไปเนื่องจากจีนแทรกซึมขยายตัวจนสามารถขับคนไทยออกไปจาก

มณฑลเสฉวนได้

มีการกล่าวถึงไทยอีกครั้งในประวัติศาสตร์จีน กล่าวถึงเรื่องจีนรบกับพวกฮวน แท้จริงคือพวกไทยนั่นเอง คนจีนเรียก

คนไทยว่า “ฮวนนั้ง” แปลว่า “คนป่า” คนไทยไม่ยอมรับคำนี้ จากพงศาวดารไทยใหญ่ว่าเมื่อ พ.ศ.590 ไทยทนการเบียดเบียนของ

คนจีนไม่ได้ จึงยกกองทัพล่องแพไปตีจีนโดยใช้ลำน้ำฮั่นและลำน้ำแยงซี แต่พ่ายแพ้จีน ดังนั้นในปี พ.ศ.612 จึงยอมเป็นเมืองขึ้นของจีน เป็นเหตุ

ให้คนไทยเกิดการอพยพใหญ่ลงมาตามทางที่พวกคนไทยได้เคยอพยพกันลงมาแล้วทางทิศตะวันตกเฉียงใต้และทิศใต้

พวกที่ลงทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปตั้งถิ่นฐานทำมาหากินทางลุ่มแม่น้ำคงหรือแม่น้ำสาละวินในปัจจุบัน และตั้งบ้านเมือง

เป็นอิสระได้เมื่อราว พ.ศ.800 ตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองพง ส่วนไทยอีกสายหนึ่งอพยพมาตั้งถิ่นฐานทางลุ่มแม่น้ำโขง แล้วก็ตั้งประเทศ

เป็นอิสระในเขตที่เรียกว่าสิบสองจุไทย มาจากคำว่า “สิบสองเจ้าไทย” แต่แรกก็ตั้งเป็นเมืองเล็กเมืองน้อยเป็นอิสระแก่กันก่อน ต่อมา

เจ้าไทยองค์หนึ่งชื่อพ่อขุน “บรม” รวบรวมเมืองไทยเป็นอาณาจักรเดียวที่เมืองแถง แล้วขยายอาณาเขตไปทางทิศตะวันออกใน

แว่นแคว้นหัวพันห้าพันหกและแขวงเมืองตังเกี๋ย ขยายมาทางใต้จนลงมาตั้งที่เมืองหลวงพระบางประชิดอาณาเขตของขอมในสมัยนั้น

แล้วจนราว พ.ศ.1400 พระเจ้าพรหมซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินไทยพระองค์หนึ่งได้รบพุ่งแย่งแผ่นดินจากอำนาจของขอมมาจนถึงเมือง

เชลียงได้อาณาเขตทางภาคพายัพไว้ในมือและสร้างเมืองฝางขึ้นเป็นเมืองของไทยทางด้านฝั่งใต้ของแม่น้ำโขงเป็นเมืองแรก

ส่วนพวกคนไทยที่เหลือในถิ่นไทยเดิม ต่างก็ตั้งประเทศแยกกันเป็นอิสระแก่กันถึง 6 แคว้น จนกระทั่งในปี 1172 ได้รวม

กันทั้งหกแคว้นเป็นอาณาจักรมีพระเจ้าสินุโล (ไทยว่าเป็นขุนหลวง) เป็นพระเจ้าแผ่นดิน และสืบราชวงศ์ต่อมา 4 แผ่นดินจนถึงพระเจ้า

โก๊ะล่อฝง ครองราชสมบัติในปี 1291 แผ่นดินมีความเข้มแข็งในการศึกมาก แล้วไปตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองหนองแส (ตาลีฟู ซึ่งยังอยู่ที่

มณฑลฮุนหนำจนทุกวันนี้) จีนเรียกอาณาจักรนี้ว่า “น่านเจียว” ไทยเรียกว่า “น่านเจ้า” แปลว่า เจ้าเมืองฝ่ายใต้

ราชวงศ์พระเจ้าสินุโลครองราชอาณาจักรน่านเจ้ามานานถึง 255 ปี รวม 13 รัชกาล ราชวงศ์ต่อมาเป็นเชื้อสายไทยปนจีน

ครองต่อมาอีก 350 ปี ขนบธรรมเนียมประเพณีแปรเปลี่ยนเป็นจีนมากขึ้น จนกระทั่งเสียอาณาจักรแก่พวกมองโกลคือ พระเจ้าแผ่นดิน

จีนราชวงศ์หงวน

อาณาจักรน่านเจ้า

ใน พ.ศ.888 ปรากฏในพงศาวดารไทยใหญ่ว่า ไทยอพยพลงมาสู่แหลมอินโดจีน เป็นการอพยพใหญ่อีกครั้ง แต่มิได้ลง

มาหมด ยังมีชาวไทยตกค้างอยู่ที่ดินแดนเดิมในทางใต้ของจีนเมื่อประมาณ พ.ศ.1000 และยังมีอยู่ทั่วไปในมณฑลยูนนาน กวางสี

และกวางตุ้ง มีอยู่กลุ่มเดียว ที่ตั้งอาณาจักรขึ้น กินเนื้อที่ยูนนานทั้งหมดและเลยแผ่ไปถึงมณฑลกวางสีและกวางเจา อาณาจักร

ไทยนี่เรียกว่า น่านเจ้า

อาณาจักรน่านเจ้ามีราชธานีอยู่ที่เมืองตาลีฟูหรือหนองแส พระเจ้าสินุโลเป็นปฐมกษัตริย์ แต่งทูตไปเจริญราชไมตรีกับ

ราชวงศ์ถัง ใน พ.ศ.1194 ในสมัยน่านเจ้านี้มีการใช้อักษรไทยในการเจริญราชไมตรีกับจีน

ในสมัยน่านเจ้าไทยได้นับถือศาสนาพุทธ มีความเกี่ยวข้องกับกษัตริย์แคว้นมคธ ต่อมาตามหลักฐานทางโบราณคดีเชื่อกันว่า

น่านเจ้านั้นไม่ใช่ของไทย หากเป็นของพวกโลโล่หรือพวกยี๋หรือไป๋ที่จีนสนับสนุนให้เป็นอาณาจักรทางด้านใต้ ไทยเป็นแต่เพียงชน

กลุ่มน้อยที่อยู่ในอาณาจักรน่านเจ้าเท่านั้นและชาวโลโล่นี่เองที่เป็นผู้รุกรานและเบียดเบียนดินแดนของไทย ทำให้ไทยเป็นจำนวน

มากอพยพจากอาณาจักรน่านเจ้าลงมาอยู่ทางตอนใต้ของประเทศนั้น

อาณาจักรน่านเจ้าได้เปลี่ยนชื่อในตอนหลังว่าอาณาจักรตาลี และเสียอิสรภาพแก่กษัตริย์มองโกล คือกุบไลข่าน ในปี พ.ศ.

1797 พลเมืองชาวโลโล่รวมทั้งคนไทยส่วนน้อยก็อพยพออกจากน่านเจ้าหรือตาลีเป็นจำนวนมาก

การตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

ก่อนตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ดินแดนประเทศไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ภาคเหนือลงมาถึงอ่าวไทยเป็นของขอมมี

อุปราชขอมปกครองอยู่ แบ่งเป็น 2 อาณาเขต ตั้งแต่ปากน้ำโพขึ้นไปเรียกว่า อาณาเขตสยาม มีเมืองสุโขทัยเป็นที่ตั้งศูนย์กลาง

ส่วนใต้ลงมาจากอาณาเขตสยาม เรียกว่าอาณาเขตละโว้

ในช่วงปี พ.ศ.1781 – 1838 พระเจ้าแผ่นดินขอมคือพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ไม่สามารถจะควบคุมชาวไทยไว้ได้ บรรดาเจ้า

เมืองไทยต่าง ๆ ก็เลยรวมตัวกันแข็งอำนาจต่อขอม ปรากฏว่าพ่อขุนบางกลางท่าวหรือบางแห่งว่าเป็นพ่อขุนบางกลางหาวเจ้าเมือง

บางยางร่วมกับพ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราช แข็งเมือง แม่ทัพขอมปราบปรามไม่ได้ก็เลยทิ้งอาณาเขตสยามไป ไทยจึงตีเมืองต่าง ๆ

ของขอมได้รวมทั้งสุโขทัยแล้วตั้งเป็นประเทศอิสระ มีเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี เมื่อราว พ.ศ.1781 – 1800 แล้ว

ยกพ่อขุนบางกลางท่าวขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์สุโขทัย

กรุงสุโขทัยมีกษัตริย์ครองราชย์สืบต่อกันมา 9 พระองค์ ดังนี้

1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้นครองราชย์เมื่อสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ปี พ.ศ.1781

2. พ่อขุนบานเมือง ครองราชย์ต่อจากพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปี พ.ศ.1822

3. พ่อขุนรามคำแหง พระนามเดิมว่า ร่วง เป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และนางเสือง ขึ้นครองราชย์
ต่อจากพ่อขุนบานเมือง ปี พ.ศ.1822

4. พระเจ้าเลอไทย ครองราชย์เมื่อ พ.ศ.1843

5. พระยางั่วนำถม เริ่มรัชกาลเมื่อใดไม่แน่นอนแต่สิ้นรัชกาลราว พ.ศ.1890

6. พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) ครองราชย์เมื่อ พ.ศ.1890 สิ้นรัชกาลราว พ.ศ.1917

7. พระมหาธรรมราชาที่ 2 พระเจ้าไสยลือไท ขึ้นครองราชย์ปี 1917 สวรรคตเมื่อ พ.ศ.1942 กรุงสุโขทัยเป็นประเทศราช

ของกรุงศรีอยุธยาในรัชกาลนี้เมื่อปี พ.ศ.1921

8. พระมหาธรรมราชาที่ 3 ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.1942 – 1962 ได้ย้ายราชธานีจากกรุงสุโขทัยไปตั้งราชธานีที่เมือง

พิษณุโลก

9. พระมหาธรรมราชาที่ 4 ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1962 – 1981 เป็นราชวงศ์สุโขทัยองค์สุดท้าย

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัย

เมื่อสมัยตั้งอาณาจักรสุโขทัยนั้นยังไม่มีอาณาเขตกว้างขวาง มีเมืองใหญ่อยู่แค่เมืองสุโขทัยและเมืองเชลียง นอกจากนั้น

จะมีเมืองเล็กเมืองน้อยริมฝั่งแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน เท่านั้น ทางด้านเหนือถึงแค่เมืองแพร่ ทางด้านใต้ถึงแค่เมืองพระบาง ซึ่งเป็น

เมืองนครสวรรค์ในปัจจุบัน พลเมืองก็ไม่มากนัก

ในสมัยพระเจ้ารามคำแหง ได้แผ่อาณาเขตไปทางเหนือ จดเขตลานนาไทยที่เมืองลำปาง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

คลุมถึงเมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองพลั่ว (อำเภอปัวในจังหวัดน่านปัจจุบัน) และเมืองหลวงพระบางทางทิศตะวันออกถึงเมืองเวียงจันทน์

และเวียงคำ ทางทิศใต้จดปลายแหลมมลายู ทิศตะวันตกถึงฝั่งมหาสมุทรอินเดียรวมเมืองฉอด เมืองหงสาวดี เมืองทวายและ

เมืองตะนาวศรี

พ่อขุนรามคำได้รับพระราชสมัญญาว่าเป็นมหาราช

ในบรรดากษัตริย์ที่ครองกรุงสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงทรงประกอบพระราชกรณียกิจยิ่งใหญ่เป็นอเนกประการ เช่น ทำให้

ชาติไทยมีอำนาจอันยิ่งใหญ่ในแคว้นสุวรรณภูมิและได้ทรงประดิษฐ์อักษรประจำชาติขึ้น จึงได้รับการเทิดทูนจากประชาชนชาวไทย

ว่าเป็น “พ่อขุนรามคำแหงมหาราช”

การตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

กรุงสุโขทัย ในแผ่นดินพระเจ้าลิไท เสื่อมอำนาจลง พระเจ้าอู่ทองจึงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมีเมืองอื่นอีก 16 เมือง

เป็นเมืองขึ้น มีอาณาจักรด้านใต้จดแหลมมลายู ตะวันออกจดดินแดนขอม ตะวันตกจดตะนาวศรีและทวาย เหนือจดนครสวรรค์

สาเหตุการย้ายเมืองมาสร้างราชธานีที่กรุงศรีอยุธยาปัจจุบัน

1. ลำน้ำจระเข้สามพัน ตื้นเขิน ทำให้เมืองอู่ทองกันดารน้ำ และเกิดอหิวาตกโรค

2. บริเวณที่สร้างกรุงศรีอยุธยานั้นเป็นเมืองอโยธยาเก่า เป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ ไม่ห่างจากปากทะเลมากนัก

3. ลำน้ำสำคัญหลายสายมารวมกันที่เมืองอโยธยา เป็นเมืองสำคัญเสมือนเป็นปากประตูสู่เมืองเหนือตั้งแต่เมืองสุโขทัยถึง

เมืองเชียงใหม่

การตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี

ประเทศไทยได้เอกราชกลับคืนมาภายหลังที่ประเทศไทยเสียเอกราชแก่พม่าเพียง 7 เดือน และกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าทำลาย

เสียหายยับเยิน ทั้งนี้เพราะพระปรีชาสามารถกล้าหาญของพระเจ้าตากสินมหาราชที่ทรงตัดสินพระทัยอย่างเด็ดขาดรวดเร็วในการ

เผชิญภัยทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร ปราบข้าศึกศัตรูเป็นผลสำเร็จ และกรุงธนบุรีได้เป็นราชธานีในปี พ.ศ.2310 นั้นเอง

เหตุที่เลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานี

1.เพราะกรุงศรีอยุธยาเสียหายมากยากที่จะบูรณะให้เป็นราชธานีในเร็ววัน

2. เพราะกรุงธนบุรีอยู่ใกล้ปากอ่าวมากกว่ากรุงศรีอยุธยา สะดวกต่อการค้าขาย และมีทางหนีทีไล่เมื่อข้าศึกมาประชิด

พระนคร

พระราชประวัติของพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ทรงเป็นบุคคลธรรมดาสามัญมาก่อน เกิดเมื่อ พ.ศ.2277

ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ บิดาเป็นจีนนามว่า นายไหฮอง มารดาเป็นไทย นามว่า นางนกเอี้ยง เจ้าพระยาจักรีสมุหนายก

ได้ขอมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมให้ชื่อว่า สิน เจ้าพระยาจักรีได้นำขึ้นถวายตัวแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ รับราชการเป็นมหาดเล็ก

ต่อมาเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตากแล้วเป็นเจ้าเมืองตาก เป็นที่พระยาตากเมื่อพระยาตากเจ้าเมืองเดิมถึงแก่กรรมเจ้าตากได้ทรง
รู้จักคุ้นเคยกับนายสุดจินดา (บุญมา) มาตั้งแต่ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตก เมื่อเจ้าตากรบสู้กับพม่าได้เมืองจันทบุรีแล้ว นายสุดจินดา

หนีพม่าจากกรุงศรีอยุธยาไปร่วมด้วย จึงได้เป็นที่พระมหามนตรี ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์ ทรงปราบปรามบรรดาก๊ก

ต่างๆที่ตั้งตัวเป็นใหญ่ราบคาบลง พระมหามนตรี (บุญมา) จึงนำหลวงยกกระบัตรประจำเมืองราชบุรี (ด้วง) พี่ชายขึ้นถวายตัวรับราชการ

โปรดให้เป็นที่พระยาอภัยรณฤทธิ์ ต่อมาเป็นพระยายมราช สมุหนายก แล้วเป็นเจ้าพระยาจักรี และสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก

ในที่สุด ทั้งสองพี่น้องได้ช่วยสมเด็จพระเจ้าตากสินทำสงครามตลอดสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินหรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

ทรงอยู่ในราชสมบัติ 15 ปี

สภาพความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การปกครอง กรุงสุโขทัย

การปกครอง

เป็นระบบการปกครองแบบพ่อกับลูก คือ พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจทั่วราชอาณาจักรอย่างสิทธิ์ขาด เรียกว่า

แบบปิตาธิปไตย

ศาสนา

พระมหากษัตริย์และประชาชนส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด พระพุทธศาสนามีส่วนช่วยในการปกครอง

อย่างมาก

พ่อขุนรามคำแหง ทรงอาราธนาพระสงฆ์ลัทธิลังกาวงศ์มาจากนครศรีธรรมราชเพื่อตั้งสังฆมณฑลในกรุงสุโขทัย ทำให้

พระพุทธศาสนาลัทธิหินยานแบบลังกาเข้ามาประดิษฐานในราชอาณาจักรไทยเป็นครั้งแรก ทำให้ลัทธิมหายานเดิมค่อยเสื่อมสูญไป

จากแผ่นดินไทย

พระมหาธรรมราชาลิไท ทรงเป็นกษัตริย์องค์แรกที่บวชเป็นพระภิกษุทำให้เป็นธรรมเนียมมาจนทุกวันนี้ ทรงแบ่งพระสงฆ์

ออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายอรัญวาสีคือฝ่ายที่เรียนทางสมถวิปัสสนา และฝ่ายคามวาสี ซึ่งศึกษาทางพระพุทธวจนะ และวัดกลายเป็นโรงเรียน

สำหรับผู้ชายที่บวชเป็นพระภิกษุและเด็กชายที่บวชเป็นสามเณรจนทุกวันนี้

ด้านสังคม และเศรษฐกิจ

ชาวเมือง มีอาชีพหลักคือเกษตรกรรม และค้าขาย ได้รับการสนับสนุนให้ค้าขายทั้งภายในและต่างประเทศ การค้าภายในได้จัด

ตลาดนัดให้ประชาชนมาซื้อขายตามวันและเวลาข้างขึ้นข้างแรมส่วนการค้าต่างประเทศทางราชการใช้เรือสำเภาไปค้าขายแลกเปลี่ยน

กับต่างประเทศ ในสมัยกรุงสุโขทัยมีการทำเงินตราใช้กันแล้ว เรียกว่า เงินพดด้วง

หนังสือและวรรณคดีไทย

พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เองเมื่อ พ.ศ.1826 แทนหนังสือขอม เพื่อให้มีเอกภาพเหมาะสมสำหรับเป็น

ประเทศเอกราชอย่างสมบูรณ์

ด้านวรรณคดี

1.มีจารึกด้วยตัวอักษรไทยหลักแรกอันถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดวรรณคดีไทย ซึ่งเป็นภาษาไทยบริสุทธิ์ เมื่อ พ.ศ.1835

ที่รู้จักกันในนามหลักศิลาจารึก หลักที่ 1

2.ไตรภูมิพระร่วงหรือไตรภูมิกถา

3. สุภาษิตพระร่วงหรือบัญญัติพระร่วง ยังมีข้อความที่ทันสมัยปัจจุบัน

4. ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัยได้ทำไมตรีกับพระเจ้าสิริธรรม ซึ่งครองเมืองสิริธรรมนครหรือ

นครศรีธรรมราช และต่อมายอมเป็นประเทศราชต่อกรุงสุโขทัยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง

2. พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นพระสหายสนิทกับพระยาเม็งราย แห่งอาณาจักรลานนาไทย และพระยางำเมือง เจ้าเมืองพะเยา

และได้ร่วมกันเลือกชัยภูมิสร้างนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครอง และศูนย์วัฒนธรรมของอาณาจักรลานนาตลอดมา

3. พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นไมตรีกับจีน เมื่อ พ.ศ.1825 พระเจ้าหงวนสีจงฮ่องเต้ แต่งทูตมาเจริญทางพระราชไมตรีกับ

ไทย และพ่อขุนรามคำแหงส่งคณะทูตไปจีนกว่า 5 คณะเมื่อ พ.ศ.1835 – 1842

4. มีไมตรีกับมอญ พระเจ้าฟ้ารั่ว นามเดิมว่ามะกะโท เป็นเชื้อสายไทยใหญ่ ได้เป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรมอญ ได้ราชธิดา

พ่อขุนรามคำแหงไปเป็นพระมเหสี มอญจึงเป็นประเทศราชต่อกรุงสุโขทัย

หลังจากรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงแล้วกรุงสุโขทัยซึ่งเคยรุ่งโรจน์ในก็อ่อนแอลง ประเทศมอญหลังพระเจ้าฟ้ารั่วก็แข็งเมืองขึ้น

และทางกรุงสุโขทัยก็ไม่สามารถปราบได้ ทางพระยาอู่ทองก็ถือโอกาสขยายอาณาเขตสุพรรณภูมิหรืออู่ทองไปจนถึงอโยธยาและเมือง

ใกล้เคียง ประกาศตนเป็นอิสระจากกรุงสุโขทัย และใน พ.ศ.1893 ก็ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และกลับไปตีทวายและ

ตะนาวศรีกลับมาเป็นของไทยได้

กรุงศรีอยุธยา

การปกครอง

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช

การศาสนา

ทุกพระองค์ทำนุบำรุงพุทธศาสนา มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระมณฑปและวัดต่าง ๆ ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

บรมโกศได้ทรงโปรดให้พระสงฆ์ไทย มีพระอุบาลีวงศ์เป็นหัวหน้าคณะไปปรับปรุงพระพุทธศาสนา ที่กรุงลังกา เป็นต้นเหตุให้

มีลัทธิสยามวงศ์และอุบาลีวงศ์ในประเทศลังกา

ศิลปะและวรรณคดี

ศิลปะในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการสร้างพระพุทธรูปทองคำและพระราชวังงดงามมาก

วรรณคดี ราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นที่ชุมนุมกวีทั้งหลาย มีหนังสือโคลงพาลีสอนน้อง พระราชสวัสดี

ทศราชสอนพระราช เป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดี ซึ่งเป็นแบบเรียนวิชา

ภาษาไทยสืบต่อมาจนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมุทรโฆษคำฉันท์ และอนิรุทธิคำฉันท์ ศรีปราชญ์เป็นผู้แต่ง เรียกในสมัยนี้ว่า

“สุวรรณสมัยของวรรณคดีไทย” องค์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศก์ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นกวีเด่น ได้ทรงประพันธ์กาพย์ห่อโคลงเห่เรือ

และกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ปุณโณวาทคำฉันท์แต่งโดยพระมหานาค ศิริวิบุลกิติ กลอนกลบท แต่งโดยพระศรีปรีชา

(เซ่ง) โองการแช่งน้ำ แต่งในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 มหาชาติคำหลวงและลิลิตพระลอ ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

สภาพสังคมในสมัยกรุงศรีอยุธยา

มีเจ้านาย ข้าราชการ ราษฎรสามัญชน และทาส ดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพต่างกันเป็นคนละชนชั้น

อาชีพ

อาชีพหลักของราษฎร์คือ งานเกษตรกรรม ได้แก่ การทำไร่ทำนาทำสวน งานสถาปัตยกรรม ได้แก่การก่อสร้างบ้านเรือน

พระราชวัง วัดวาอาราม งานศิลปกรรม ได้แก่ การสร้างพระพุทธรูป อุตสาหกรรม ได้แก่ เครื่องถ้วยชาม ทำอาวุธ เช่น หอกดาบ มีด

หัตถกรรม ได้แก่ การจักสาน

กระบวนความยุติธรรม

ได้ทรงตรากฎหมายขึ้นหลายฉบับ โดยอาศัยคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ที่ได้รับมาจากมอญ มีกฎหมายที่ประกาศใช้ในสมัย

สมเด็จพระรามาธิบดีที่หนึ่ง คือ กฎหมายลักษณะพยาน พ.ศ.1894 กฎหมายลักษณะอาญาหลวง พ.ศ.1895 กฎหมายลักษณะรับฟ้อง

พ.ศ.1899 กฎหมายลักษณะลักพา พ.ศ.1899 กฎหมายลักษณะอาญาราษฎร์ พ.ศ.1901 กฎหมายลักษณะโจร พ.ศ.1903 และ 1901

กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ ว่าด้วยที่ดิน พ.ศ.1903 กฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ.1904 และ 1905

การปฏิรูปการปกครองของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

1. ทรงแยกทหารและพลเรือนออกจากกัน เสนาบดีฝ่ายทหารเป็นสมุหพระกลาโหม เสนาบดีฝ่ายพลเรือนเป็นสมุหนายก

2. การทหาร ชายฉกรรจ์ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ไปจนถึง 60 ปี มีหน้าที่รับราชการทหาร โดยกำหนดอายุระหว่าง 18 – 20

เป็นไพร่สม อายุระหว่าง 20 – 60 เป็นไพร่หลวง ไพร่สมมีหน้าที่ต้องฝึกหัดราชการทหาร ส่วนไพร่หลวงแบ่งเป็น 2 พวก พวกหนึ่ง

ผลัดเวรเข้ารับราชการทหาร อีกพวกหนึ่งที่อยู่ไกล เป็นไพร่ส่วย ทำหน้าที่หาสิ่งของที่ต้องใช้ในราชการมาแทนการเข้ารับราชการ

การเก็บภาษีอากร เริ่มในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ

1. อากรขนอน มีการตั้งด่านทางน้ำและทางบก จัดเก็บสินค้าเป็นค่าภาคหลวง อัตรา 10 ชักเอา 1 ทุกวันนี้เราเรียกว่าภาษี

ภายใน หรือภาษีผ่านด่าน เก็บแต่ในจังหวัดที่เป็นราชธานี

2. อากรตลาดหรือจังกอบ มีกำนันตลาดมาเก็บภาษีจากร้านและผู้ที่มาขายของตามตลาดเหมือนกับภาษีร้านค้าหรือภาษี

การค้าในปัจจุบัน แต่เก็บเฉพาะผู้ที่มาค้าขายในราชธานี

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับชาวต่างประเทศ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

1. โปรตุเกส ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช ปรากฏว่าในแผ่นดินนี้มีชาวโปรตุเกสเข้ามาทำมาค้าขาย ทรงให้สร้าง

บ้านเรือนอยู่แถวบ้านดินเหนือคลองตะเคียน และโปรดพระราชทานอนุญาตให้สร้างวัดคริสต์ศาสนา

2. ฮอลันดา ปลายรัชกาลสมเด็จพระนเรศวร พวกฮอลันดาเข้ามากรุงศรีอยุธยา พอต้นรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถก็เข้ามา

ค้าขายในกรุงศรีอยุธยาอยู่จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาแตก พ.ศ.2310

3. อังกฤษ เข้ามาทำการค้าขายสมัยเดียวกับฮอลันดา จนสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จีงเลิกติดต่อกับอังกฤษไป

ระยะหนึ่ง

4. ญี่ปุ่น เข้าใจกันว่าญี่ปุ่นเข้ามาทำการค้าขายกับเมืองไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

5. ฝรั่งเศส บาทหลวงเป็นสื่อกลางชักนำให้กรุงศรีอยุธยามีไมตรีกับฝรั่งเศส สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดปราน

บาทหลวงฝรั่งเศส ให้ออกแบบก่อสร้างพระราชวังที่ลพบุรี ยังมีการแลกเปลี่ยนทูตกันระหว่างสองประเทศ กรุงศรีอยุธยาแต่งทูต

ไปเจริญทางพระราชไมตรีฝรั่งเศสถึง 4 ครั้งฝรั่งเศสส่งทูตมา 2 ครั้ง

6. เปอร์เซีย (ปัจจุบันคืออิหร่าน) ได้เข้ามาติดต่อกับเมืองไทยมาเป็นเวลาช้านาน ได้พยายามเกลี้ยกล่อมให้สมเด็จ

พระนารายณ์มหาราชเลื่อมใสในศาสนาอิสลามแต่ไร้ผล

7. เดนมาร์กได้เข้ามาทำการค้าติดต่อกับไทยในสมัยรัชกาลพระเจ้าทรงธรรม พ.ศ.2159

8. ลังกามีความสัมพันธ์กันด้านพระพุทธศาสนา ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

9. จีน มีความสัมพันธ์กันตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

รัฐบาลสมัยกรุงศรีอยุธยาได้ตั้งกรมท่าซ้ายและกรมท่าขวาไว้ดูแลชาวต่างประเทศ และการค้ากับต่างประเทศ รัฐบาลเป็นผู้ทำ

กรุงธนบุรี

ในรัชสมัยกรุงธนบุรีนั้นสั้นมาก เพียงระยะเวลาสิบห้าปี และตลอดระยะเวลาสิบห้าปีนี้ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีต้องทรง
หมกมุ่นอยู่กับการทำสงครามกับพม่า และการปราบปรามภายในให้ราบคาบ จึงไม่มีเวลาที่จะปรับปรุงการปกครองแต่อย่างใด

ดังนั้น จึงไม่มีสิ่งใดที่เด่นในรัชกาลนี้ นอกจากเกียรติประวัติการกู้อิสระภาพของพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งทำให้บ้านเมืองไทยเป็นอิสระ

สงบเรียบร้อยมาจนถึงปัจจุบัน

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

ประเทศที่มีความสัมพันธ์ด้วยอย่างดีคือจีน ชาวจีนได้สนับสนุนและช่วยพระเจ้ากรุงธนบุรีในการกู้ชาติ โดยนำสำเภาจีนออกไป

ปราบปรามข้าศึกศัตรูหลายครั้ง

ความจำเป็นที่ต้องรักและหวงแหนชาติ

เหตุที่ชาติเป็นแผ่นดินที่อยู่สำหรับคนไทยทุกคน และเป็นมรดกสืบมาจากบรรพบุรุษให้คนร่วมชาติได้อยู่ร่วมกันอย่างอิสระ

เสรี มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีตกทอดกันมา การรักษาชาติให้ตกทอดมานี้บรรพบุรุษของไทยได้ต่อสู้มาด้วยความเสียสละ

เลือดเนื้อและชีวิตเพื่อยังความเป็นอิสรภาพตลอดมา หากประเทศไทยยังเป็นของชาวไทย อิสรภาพไม่ถูกทำลาย ชาติไทยก็ยังไม่สูญ

ถ้าหากชาติถูกทำลายไปเราทุกคนก็เหมือนบุคคลที่ตายแล้ว ดังนั้นเราทุกคนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องรักชาติ และหวงแหนชาติ

ยิ่งกว่าชีวิตของตนเอง

เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 และการกู้อิสรภาพ

ทุกครั้งที่กรุงศรีอยุธยามีเหตุการณ์ภายในไม่เรียบร้อย และทางพม่ามีกษัตริย์ที่เข้มแข็งในการศึก พม่าก็มักจะเข้ามา

รุกรานกรุงศรีอยุธยา และเมื่อได้ชัยชนะก็กวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลยและขนเอาทรัพย์สมบัติกลับไปพม่าเป็นจำนวนมาก ดังปรากฏ

ในปี พ.ศ.2091 ซึ่งในระยะนั้นสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิพึ่งจะขึ้นครองราชสมบัติได้เพียงหกเดือน พม่าสมทบกับกองทัพไทยใหญ่

และมอญก็เข้ามารุกรานกรุงศรีอยุธยา เกิดเหตุการณ์ชนช้างระหว่างพระเจ้าแปรและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ช้างสมเด็จพระ

มหาจักรพรรดิเสียทีช้างพระเจ้าแปร สมเด็จพระศรีสุริโยทัยจึงขับช้างทรงเข้าขวาง โดนข้าศึกฟันถึงแก่ความตายบนคอช้าง การรบ

ครั้งนี้พม่าไม่สามารถตีกรุงศรีอยุธยาได้ จึงยกทัพกลับ ต่อมาบุเรงนองขึ้นเป็นพระเจ้าหงสาวดี ยกทัพมาล้อมพระนคร กรุงศรีอยุธยา

จึงพ่ายแพ้แก่พม่า ข้าราชการตลอดจนผู้คนพลเมืองก็ถูกกวาดต้อนไปหงสาวดีเป็นจำนวนมากและทรัพย์สมบัติก็ถูกริบไปเป็นจำนวน

มากมายนับไม่ถ้วน

กล่าวกันว่า กรุงศรีอยุธยาไม่มีวันแตก หากไม่มีไส้ศึก แต่กรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พม่าในปี พ.ศ.2112สมเด็จพระนเรศวร

ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง เมื่อ พ.ศ.2127 รวมกรุงศรีอยุธยาตกอยู่ภายใต้อำนาจพม่า 15 ปี

ปี พ.ศ.2133 สมเด็จพระมหาธรรมราชาสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระนเรศวรขึ้นครองกรุงศรีอยุธยาสืบมาเมื่อพระชนม์พรรษา

ครบ 35 พรรษา ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นพระมหาอุปราช การสืบราชสมบัติของราชวงศ์พระมหาธรรมราชาต่อไป

การเสียกรุงศรีอยุธยาและการกู้ชาติครั้งที่สอง

การสืบราชสมบัติของสามราชวงศ์นี้มิได้เป็นไปอย่างราบเรียบ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสิ้นพระชนม์แล้วสมเด็จ

พระเอกาทศรถก็สืบราชสมบัติต่อมา ส่วนพระเจ้าปราสาททองและพระเพทราชาได้ขึ้นครองราชย์โดยอาศัยการชิงราชสมบัติราชวงศ์

บ้านพลูหลวง แย่งชิงราชสมบัติกันไปมา และที่ได้ขึ้นครองราชสมบัติก็มิได้ทำนุบำรุงบ้านเมือง ปล่อยให้ทรุดโทรม การผลัดเปลี่ยน

แผ่นดินนับตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่งมามักจะเป็นการชิงราชสมบัติ ข้าราชการดี ๆ ก็เสียชีวิตเสียเป็นอันมาก บรรดาเจ้านาย

และข้าราชการก็เลยแตกสามัคคีกัน แบ่งกันเป็นฝักเป็นฝ่าย ประจบสอพลอเพื่อความเป็นใหญ่และความปลอดภัยของตนเอง ประจวบ

กับเป็นระยะเวลาที่พม่ามีพระเจ้าแผ่นดินที่เข้มแข็ง

กรุงศรีอยุธยาจึงล่มลงเป็นครั้งที่สอง และครั้งนี้รุนแรงกว่าเมื่อครั้งที่หนึ่ง พระนครศรีอยุธยายับเยินจนไม่สามารถจะบูรณะให้

เป็นนครหลวงได้อีกต่อไป ในปี พ.ศ.2310 แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ

เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ไม่มีพระมหากษัตริย์ บรรดาหัวเมืองที่ยังไม่ได้เสียแก่พม่าก็ตั้งตัวเป็นอิสระ เมืองน้อยก็ยอม

อ่อนน้อมขึ้นต่อเมืองใหญ่ และต่างก็พยายามกู้ชาติ มีถึง 5 พวกด้วยกัน โดยเฉพาะพวกพระยาตาก (สิน) ตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ที่เมือง

จันทบุรี เรียกกันว่าเจ้าตาก มีความสามารถในการรบ เมื่อพม่าล้อมกรุงถูกเกณฑ์มาป้องกันกรุงศรีอยุธยา เมื่อกรุงจวนจะแตก

พระเจ้าตากเห็นว่า พม่าล้อมเข้ามาจวนจะถึงคูพระนคร และผู้บัญชาการรักษาพระนครอ่อนแอคงจะเสียกรุงแก่พม่า จึงรวมพรรคพวก

ได้ 500 คน ตีฝ่าพม่าหนีไปทางทิศตะวันออก รบกับพม่าเรื่อยรายทางตลอดมา และได้ชัยชนะพม่า ชาวเมืองที่หลบซ่อนพม่าออกมา

ทรงเห็นพระเจ้าตากมีชัยชนะพม่า ก็พากันเข้ามาเป็นสมัครพรรคพวกด้วยเป็นจำนวนมาก และตั้งรับพม่าอยู่ที่เมืองระยอง เมื่อเสีย

กรุงแล้วกลับตีเมืองจันทบุรีได้ แล้วรบกับสำเภาจีน ได้สำเภาจีนเป็นพรรคพวกตั้งตัวได้ จึงกู้กรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่า

สงครามยุทธหัตถี

เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขึ้นครองราชย์ได้เพียงสามเดือน พระเจ้าหงสาวดีก็ทรงให้พระมหาอุปราชายกทัพใหญ่มารบ

กับกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากทางกรุงหงสาวดีไม่สามารถจะปราบกรุงศรีอยุธยาได้ บรรดาประเทศราชทั้งหลายก็พากันกระด้างกระเดื่อง

พระมหาอุปราชายกทัพมาถึงเมืองกาญจนบุรี สมเด็จพระนเรศวรยกทัพหลวงออกไปตีทัพพม่าแตกยับเยิน ด้วยเหตุนี้

พระเจ้าหงสาวดีจึงทรงให้พระมหาอุปราชายกทัพหลวงมาอีกในปี พ.ศ.2135 และสั่งให้พระเจ้าเชียงใหม่ยกพลมาสมทบอีกด้วย

ทัพทั้งสองเผชิญกันที่ริมหนองสาหร่ายแขวงเมืองสุพรรณบุรี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงท้าพระมหาอุปราชากระทำยุทธหัตถี

อ้างว่าเพื่อจะไม่ต้องเปลืองชีวิตไพร่พลทั้งสองฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรทรงมีชัยชนะ พระมหาอุปราชาถูกพระแสงของ้าวของสมเด็จ

พระนเรศวรขาดคอช้าง พวกข้าศึกสาละวนอยู่ด้วยนายทัพสิ้นพระชนม์ชีพ จึงพ่ายแพ้แก่ไทย การกระทำยุทธหัตถีครั้งนั้น ได้นำชื่อเสียง

มาสู่กรุงศรีอยุธยามาก

วีรกรรมของคนไทยที่ต่อสู้กับชาวต่างชาติ

พระยาพิชัยดาบหัก

เมื่อปี พ.ศ.2315 พม่ายกกองทัพไปตีเมืองหลวงพระบาง แล้วก็เลยมาตีไทยที่เมืองลับแล แล้วเลยมาตีเมืองพิชัยซึ่งเป็น

เมืองเล็กไม่มีกำลังมากนัก กองทัพเมืองพิษณุโลกไปช่วยเมืองพิชัย พม่าจึงพ่ายแพ้กลับไป

ปี พ.ศ.2316 พม่ายกกองทัพมาตีเมืองพิชัยอีก แต่ไทยคาดว่าพม่าคงจะกลับมาตีเมืองพิชัยแน่ ทางพระยาพิชัยจึงเตรียมตัว

รออยู่แล้ว ครั้นรู้ว่าพม่ายกกองทัพมาก็ชวนกันออกไปสกัดอยู่กลางทาง การรบครั้งนี้มีการประจันบานกันเป็นตะลุมบอน พระยาพิชัย

ถือดาบสองมือเข้าฟาดฟันพม่าจนดาบหัก เลื่องลือชื่อเสียงกันว่า “พระยาพิชัยดาบหัก” ตั้งแต่นั้นมา ในการรบครั้งนั้นพม่าก็ต้อง

แตกทัพกลับไป

ชาวบ้านบางระจัน

พ.ศ.2300 กองทัพเนเมียวสีหบดี ยกมาถึงเขตพระนครกรุงศรีอยุธยาแต่ยังมิได้เข้าตีกรุงศรีอยุธยาทีเดียว เป็นกองโจร

เที่ยวปล้นสดมภ์จับเชลยชาวบ้าน มีทหารพม่ากองหนึ่งเที่ยวปล้นทรัพย์จับผู้คนทางเมืองวิเศษไชยชาญ รู้ว่าใครมีลูกสาวก็บังคับ

เอาลูกสาวด้วย ราษฎรจึงพากันโกรธคิดแก้แค้นพม่า มีพวกยอมเข้ากับพม่าและพวกที่ยังหลบซ่อนรวมกัน มีหัวหน้า 6 คน ชื่อ

นายแท่น นายโชติ นายอิน นายเมือง นายดอก และนายทองแก้ว ลวงพม่าไปค้นหาสาวแล้วฆ่าพม่า จึงหนีไปอยู่บ้านบางระจัน

มีชาวเมืองวิเศษไชยชาญ และเมืองสรรค์หนีพม่ามาสมทบ

บ้านบางระจันนี้เป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์อยู่เขตต่อสามเมืองคือเมืองวิเศษไชยชาญ เมืองสุพรรณบุรีและเมืองสิงห์ ยากที่พม่า

จะติดตามเข้าไป โดยตั้งกองต่อสู้พม่า มีหัวหน้าเพิ่มอีก 5 คน คือ ขุนสรรค์ กำนันพันเรือง นายทองเหม็น นายจันทร์หนวดเขี้ยว

นายทองแสงใหญ่ ตั้งค่ายโอบรอบบ้านบางระจันไว้ และมีกองทัพกองหนึ่งมีนายกองชื่อนายแท่น

เมื่อพม่ารู้ว่าไทยซ่องสุมผู้คนจะสู้พม่าก็ยกพลมาปราบ สู้กองทหารนายแท่นมิได้ พอรู้ว่าพม่าข้ามคลองมาก็รุมกันเข้าตี

กิตติศัพท์ไทยชนะพม่าไปถึงบรรดาคนไทยก็หนีพม่ามาสมทบด้วย มีแต่อาวุธสั้น ไม่มีปืน ได้อาจารย์ธรรมโชติทำผ้าประเจียด ตะกรุด

แจกจ่ายกันเป็นกำลังใจ กองทัพพม่ายกกำลังนับพันมาปราบ พ่ายแพ้กลับไปถึง 8 ครั้ง จึงยกทัพใหญ่มาพร้อมปืนใหญ่และทหารม้า

ก็ยังพ่ายแพ้แก่ไทยอีก จึงไม่พยายามรบกับไทยในที่แจ้ง มาตั้งค่ายรออยู่ นายทองเหม็นรำคาญที่ไทยไม่สามารถตีค่ายพม่าแตกได้

เนื่องจากไม่มีปืนใหญ่เข้าตีทีไรก็ต้องล้มตายลงไปทุกที ดื่มสุราเมาขึ้นมาก็เลยขี่กระบือบุกค่ายพม่า ถลำเข้าไปกลางพวกข้าศึก

ถูกทุบตีตาย พวกไพร่พลก็เลยแตกหนีกลับมา เป็นอันว่าเป็นครั้งแรกที่ชาวบ้านบางระจันแพ้พม่า

ทางค่ายบางระจันขอปืนใหญ่จากทางกรุงศรีอยุธยาไปช่วยแต่ไม่ได้รับเนื่องจากทางกรุงศรีอยุธยากลัวว่าจะถูกข้าศึกแย่งชิง

เอาไป จึงทนสู้จนกระทั่งคนร่อยหรอล้มตายลงไปเป็นเวลานานถึง 5 เดือน สิ้นกำลังที่จะต่อสู้ได้ ชาวบ้านบางระจันล้มตายเป็นอันมาก

ที่เหลือตายหนีพม่าไปก็มี ถูกจับเอาไปเป็นเชลยก็มีบ้าง ตัวอาจารย์ธรรมโชติสาบสูญไปไม่มีใครทราบ

ความภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม

ความหมายของคำว่า “วัฒนธรรม” วัฒนธรรมคือระบบการดำเนินชีวิตของสังคม มีลักษณะเป็นแนวทางหรือแบบแผนอันมี

ระเบียบ หรือวิธีการจากการเรียนรู้ การคิด หรือการถ่ายทอดกันมาในสังคมหนึ่ง หรืออาจจะเลียนแบบหรือจดจำกันมาแล้วนำมา

ปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตในสังคมของตนทำให้มีลักษณะเด่นชัดเป็นพิเศษแตกต่างไปจากของเดิม กลายเป็น

ประเพณีประจำสังคมหรือของชาติสืบไป

ประเพณี เป็นเอกลักษณ์ของชาติ เป็นเครื่องหมายแสดงลักษณะเฉพาะประจำชาติ ทุกชาติจะต้องมีประเพณีประจำชาติ

ของตนความแตกต่างของแต่ละชาตินอกจากภาษา กิริยาท่าทาง ก็คือระเบียบประเพณี ซึ่งแต่ก่อนใช้คำว่าจารีตประเพณี เป็นสมบัต

ิที่บรรพบุรุษได้สร้างขึ้นไว้ให้คนรุ่นหลังเป็นมรดกตกทอดมาหลายชั่วอายุคน

ประเพณีเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของสังคม สิ่งที่คนส่วนมากเห็นดีเห็นงามเอาอย่าง

ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านานจนเป็นรูปแบบเดียวกันจนเกิดเป็นประเพณีขึ้น ดังนั้นประเพณีจึงเป็นจุดรวมจิตใจของคนในสังคมหรือ

ในชาติ ดังนั้นประเพณีใดที่เห็นว่ามีความดีความงามควรจะอนุรักษ์ไว้สืบไป รัฐบาลจึงพยายามสนับสนุน เสริมสร้างขึ้นให้เป็น

เอกลักษณ์ของชาติ

ที่มาของวัฒนธรรมหรือประเพณี

1. สิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เนื่องจากภูมิศาสตร์ของประเทศไทยมีแม่น้ำลำคลองมาก คนไทยได้อาศัยน้ำในลำคลองในวิถี

ทางดำเนินชีวิต ดังนั้นจึงมีพิธีกรรมเกี่ยวกับลำน้ำจนกลายเป็นประเพณีสืบต่อกันมา เช่น การลอยกระทง พิธีการแข่งเรือ เป็นต้น

2. เนื่องจากคนไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม จึงมีประเพณีหรือวัฒนธรรมไทยหลายประการ เช่น ประเพณีขอฝน เนื่องจาก

การทำนาทำไร่ของเราอาศัยน้ำฝนเมื่อฝนแล้งไม่เป็นไปตามฤดูกาลก็มีประเพณีขอฝนขึ้น และเนื่องจากการทำไร่ทำนาของไทย

แต่ก่อนใช้วิธีการช่วยแรงกัน เป็นการชุมนุมชาวบ้านมาช่วยกัน จึงมีการเล่นอันแสดงถึงความสามัคคีเป็นการคลี่คลายความ

เหน็ดเหนื่อยไปในตัว เช่น การเต้นกำรำเคียว

3. ศาสนา เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ดังนั้นประเพณีสำคัญ ๆ จึงมาจากศาสนาพุทธ เช่น การทอดกฐิน

และสังคมไทยมีความผูกพันมากับศาสนาพราหมณ์มานาน ในพิธีต่าง ๆ จึงมีศาสนาพราหมณ์เป็นส่วนหนึ่งในพิธีกรรม เช่น พิธีรดน้ำ

พิธีแต่งงาน เป็นต้น

ความสำคัญของการสงวนรักษาประเพณีไทย

1. ประเพณีเป็นวัฒนธรรมประจำชาติแสดงถึงความเจริญมาช้านานตั้งแต่อดีตของสังคมไทย

2. ประเพณีมีส่วนสนับสนุนให้ชาติบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองในทัศนที่ดีและถูกต้อง

3. ประเพณีเป็นเครื่องแสดงว่าชาติไทยมีความเจริญรุ่งเรืองมีอารยธรรมทัดเทียมกับประเทศอารยะอื่น ๆ

4. ประเพณีไทยเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของไทย มีลักษณะเป็นของตนเองย่อมน่าภูมิใจอย่างยิ่ง

5. ประเพณีเป็นเครื่องแสดงให้คนในชาติมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความเป็นไทยเหมือนกัน ก่อให้เกิด

ความสนิทสนมกันและเสริมความมั่นคงของชาติขึ้น

6. ประเพณีเป็นเครื่องแสดงวิถีชีวิตของคนไทย

ประวัติช้างไทย



ประวัติโดยย่อ
ช้างไทยเป็นสัตว์ประจำชาติไทย และเป็นที่สำคัญต่อพระพุทธศาสนา และประเทศไทยยังเคยมี ธงชาติที่ประทับลายช้างเผือกไว้ด้วย ถ้าพูดถึงในสมัยก่อนนั้น ช้างมีความสำคัญมากในด้านการศึก ด้านการทำสงคราม ช้างทำให ้ ขุนนางได้เลื่อนยศมามากคนแล้ว และคนไทยเราก็นิยมในช้างเผือก ซึ่งเป็นช้างของกษัตริย์ ซึ่งมีลักษณะสวยงามมาก แต่ว่าหาได้ยากมาก ซึ่งในการศึก ช้างจะเป็นพาหนะของแม่ทัพ ซึ่งจะมีการศึกบนหลังหลังช้าง เรียกว่า ยุทธหัตถี ถือเป็นการสู้ที่มีเกียรติมาก

พายุทอร์นาโด


พายุทอร์นาโด

ทอร์นาโด (tornado อ่านว่า ทอร์เนโด) เป็นพายุที่เกิดจากการหมุนของอากาศ สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ โดยลักษณะที่พบได้บ่อยสุดคือลักษณะรูปทรงกรวย โดยส่วนปลายโคนชี้ลงที่พื้น ทอร์นาโดสามารถก่อพลังทำลายได้สูง โดยความเร็วลมสามารถสูงมากถึง 500 กม/ชม (300 ไมล์/ชม) ซึ่งก่อให้เกิดการพังทลายของสิ่งก่อสร้างได้

ทอร์นาโดเกิดขึ้นจากลมร้อนและลมเย็นมาเจอกันและก่อตัวให้เกิดลมหมุน และเมื่อลมหมุนในระดับที่ไม่คงที่ ทำให้ปลายข้างหนึ่งลงมาสัมผัสที่พื้นก่อให้เกิดทอร์นาโดได้ โดยทอร์นาโดสามารถส่วนใหญ่เกิดในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่สามารถก่อให้เกิดลมร้อนและไอเย็นปะทะกันบริเวณทุ่งราบ

ทอร์นาโดแบ่งออกเป็นรายระดับตามกำลังทำลายและความเร็วลม โดยแบ่งเป็น F0 - F5 โดย F0 เป็นทอร์นาโดที่อ่อนกำลังสุด และ F5 เป็นทอร์นาโดที่กำลังแรงสุด

การจำแนกระดับของทอ์นาโด จะยึดตาม Fujita scale ซึ่งกำหนดให้พายุในแต่ละระดับมีความแรงดังนี้

พายุ F0 ความเร็วลม 64-116 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F1 ความเร็วลม 117-180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F2 ความเร็วลม 181-253 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F3 ความเร็วลม 254-332 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F4 ความเร็วลม 333-418 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F5 ความเร็วลม 419-512 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
จากการสำรวจเก็บสถิติ พบว่า ทุกๆ การเกิดพายุทอร์นาโด 1,000 ครั้ง จะเป็นระดับ F0 จำนวนประมาณ 389 ครั้ง , ระดับ F1 จำนวนประมาณ 356 ครั้ง , ระดับ F2 จำนวนประมาณ 194 ครั้ง , ระดับ F3 จำนวนประมาณ 49 ครั้ง , ระดับ F4 จำนวนประมาณ 11 ครั้ง และระดับ F5 จำนวนประมาณ 1 ครั้ง

ความแรงของพายุ ส่งผลกับขนาด และการสลายตัวของพายุด้วย พายุระดับ F0-F1 อาจมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 100 เมตร และเคลื่อนตัวไปได้ไม่กี่กิโลเมตรก็สลายตัวไป ในขณะที่พายุ F5 อาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่า 1,600 เมตร และเคลื่อนตัวไปได้มากกว่า 100 กิโลเมตรก่อนจะสลายตัว ซึ่งการที่พายุที่ระดับสูงกว่าจะทำให้พายุมีขนาดใหญ่และสลายตัวช้าด้วย

ในวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1925 ในสหรัฐอเมริกา เกิดพายุทอร์นาโดขึ้นพร้อมกัน 9 ลูก เป็น F2 จำนวน 2 ลูก , F3 จำนวน 4 ลูก , F4 จำนวน 2 ลูก และ F5 จำนวน 1 ลูก เคลื่อนตัวถล่มมลรัฐมิสซูรี่ , อิลลินอยส์ , อินเดียนา , เคนทักกี , เทนเนสซี , อลาบามา และ มลรัฐแคนซัส มีผู้เสียชีวิตไปกว่า 747 คน ซึ่งในจำนวนนั้น เฉพาะพายุ F5 เพียงลูกเดียวนั้น คร่าชีวิตผู้คนไป 695 คน ส่วนยอดผู้เสียชีวิตจากพายุลูกอื่นๆ อีก 8 ลูก รวมกัน ได้เพียง 50 กว่าคนเท่านั้น ทำให้พายุ F5 ลูกนั้นที่เกิดขึ้นเป็นพายุทอร์นาโดที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ความเสียหายทางชีวิตและทรัพย์สินมีมูลค่าเทียบเป็นปัจจุบันได้มากกว่า 1862 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วันออกพรรษา


ประวัติความเป็นมา

วันออกพรรษา เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ที่ร่วมกันในวัดหรือสถานที่ซึ่งอธิษฐานเข้าตลอดระยะเวลา 3 เดือน ในวันนี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรม ซึ่งเรียกว่า วันมหาปวารณา คือ วันที่พระภิกษุ์สงฆ์ทุกรูปจะอนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในเรื่องราวเกี่ยวกับความประพฤติต่างๆ นับตั้งแต่พระสังฆเถระ ได้แก่ พระภิกษุ์ผู้ที่มีอาวุโสสูงลงมา จะสามารถว่ากล่าวตักเตือนหรือเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกัน

การกระทำมหาปวารณา เป็นการสังฆกรรมอย่างหนึ่งแทนการสวดพระปาฏิโมกข์ (พระวินัย) ที่ได้กระทำกันทุกๆ 15 วันในช่วงเข้าพรรษา

วันออกพรรษานี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันปวารณา (อ่านว่า ปะ-วา-ระ-นา) หรือวันมหาปวารณา คือ วันที่เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุ ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ด้วยเมตตาจิต เมื่อได้เห็น ได้ฟัง หรือสงสัยในพฤติกรรมของกันและกัน ซึ่งความเป็นมาของการทำปวารณากรรม หรือให้พระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันและกัน ในวันออกพรรษานี้ สืบเนื่องมาจากในสมัยพุทธกาล พุทธสาวกจะมีธรรมเนียมปฏิบัติอยู่อย่างหนึ่ง คือ เมื่อออกพรรษาหมดฤดูฝน แม้จะจำพรรษาอยู่ที่ใกล้ไกลแค่ไหน ก็จะพากันเดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ครั้นได้เฝ้าแล้ว พระพุทธองค์จะทรงตรัสถาม ถึงสิ่งที่พระภิกษุได้ประพฤติปฏิบัติในระหว่างจำพรรษา ปรากฏว่ามีพระภิกษุกลุ่มหนึ่ง เกรงว่าในช่วงจำพรรษาด้วยกัน จะเกิดการขัดแย้งทะเลาะวิวาท จนอยู่ไม่สุขตลอดพรรษา จึงได้ตั้งกติกากันเองว่า จะไม่พูดจากัน เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องนี้ จึงทรงตำหนิว่าการประพฤติ มูควัตร (ทำตนเป็นใบ้เงียบไม่พูดจากัน) เป็นเรื่องเหลวไหลไร้ประโยชน์ที่พึงมีพึงได้ เพราะประพฤติเหมือนพฤติกรรมของสัตว์ เช่น แพะ แกะ ไก่ วัว ที่อยู่ด้วยกันก็ไม่ถามไถ่ทุกข์สุขของกันและกัน

แล้วทรงสั่งสอนภิกษุทั้งหลายว่า ความประพฤติเช่นนั้นไม่สมควรแก่คนทั้งหลายหรือผู้ที่มีความเจริญแล้ว แล้วจึงทรงวางระเบียบวินัยให้เป็นหลักปฏิบัติสืบต่อมาว่าให้ภิกษุที่จำพรรษาครบสามเดือนแล้วทำปวารณาแทนอุโบสถสังฆกรรมในวันออกพรรษา การ ปวารณาหรือการว่ากล่าวตักเตือนในหมู่สงฆ์นี้ ผู้ว่ากล่าวตักเตือนจะต้องทำด้วยความเมตตา ปรารถนาดีต่อผู้ถูกตักเตือนทั้งกาย วาจา และใจ ส่วนผู้ถูกว่ากล่าวตักเตือนก็ต้องมีใจกว้าง มองเห็นความปรารถนาดีของผู้ตักเตือน ถ้าเป็นจริงตามคำกล่าวก็ปรับปรุงตัวใหม่ หากไม่จริง ก็สามารถชี้แจงแสดงเหตุผลให้กระจ่าง ทั้งสองฝ่ายต้องคิดว่าทักท้วงเพื่อก่อ ฟังเพื่อแก้ไข จึงจะได้ประโยชน์ และตรงกับความมุ่งหมายของการปวารณา ที่จะสร้างความสมัครสมานสามัคคี และดำรงความบริสุทธิ์หมดจดไว้ในสังคมพระสงฆ์

สำหรับฆราวาสหรือพุทธศาสนิกชน ก็สามารถนำหลักการปวารณาในวันออกพรรษานี้ มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้ทั้งในครอบครัว สถานศึกษาหรือในสถานที่ทำงาน โดยยึดความเมตตาต่อกันเป็นที่ตั้ง คือ ถ้าจะติก็ติด้วยความหวังดีมิใช่ทำลายอีกฝ่าย ส่วนผู้ถูกติก็ควรรับฟังด้วยดี และมองเห็นความหวังดีของผู้ว่ากล่าว หากจริงก็แก้ไข ไม่จริงก็ปรับความเข้าใจซึ่งกันและกัน เช่นนี้ย่อมทำให้สังคมเกิดความสงบสุข สามารถแก้ไขปัญหาและพร้อมจะพัฒนาไปด้วยกันทุกฝ่าย สรุปได้ว่าความสำคัญของวันออกพรรษา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกวันหนึ่งด้วยเหตุผล คือ

•พระสงฆ์ได้รับพระบรมพุทธานุญาต ให้จาริกไปค้างแรมที่อื่นได้
•เมื่อออกพรรษา พระสงฆ์จะได้นำความรู้จากหลักธรรมและประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างพรรษา ไปเผยแพร่แก่ประชาชน
•ในวันออกพรรษาพระ สงฆ์จะได้ทำปวารณา เปิดโอกาสให้เพื่อนภิกษุว่ากล่าวตักเตือน เรื่องความประพฤติของตนเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ ความเคารพนับถือ และความสามัคคีกันระหว่างสมาชิกของสงฆ์
• พุทธศาสนิกชนได้นำแบบอย่างไปทำปวารณาเปิดโอกาสให้ ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตนเองเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาตนและสร้างสรรค์สังคมต่อไป
สำหรับคำกล่าวที่พระพุทธเจ้า ทรงมีพระบรมพุทธานุญาต ให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกันว่า “อนุชานามิ ภิกขะเว วัสสัง วุตถานัง ภิกขูนัง ตีหิ ฐาเนหิ ปะวาเรตุง ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา...” แปลว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้ว ปวารณากันในสามลักษณะ คือ ด้วยการเห็นก็ดี ด้วยการได้ยินก็ดี ด้วยการสงสัยก็ดี”

การประกอบพิธีในวันออกพรรษา

การประกอบพิธีในวันนี้ พุทธศาสนิกชนจะนิยมทำบุญเป็นกรณีพิเศษ เช่นตักบาตรในตอนเช้า ถวายสังฆทาน ไปทำบุญที่วัด ถวายภัตตาหาร ฟังพระธรรมเทศนา และมีการตักบาตรเทโวในวันรุ่งขึ้น

กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา

1. ทำบุญตักบาตร อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ที่ล่วงลับ
2. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
3. ร่วมกุศลกรรม "ตักบาตรเทโว"
4. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ และประดับธงชาติและธงธรรมจักตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
5. ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย ฉายสไลด์ หรือบรรยาธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษา ฯลฯ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้ที่สนใจทั่วไป



ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา

ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันออกพรรษาที่นิยมปฏิบัติ คือ
1. ประเพณีตักบาตรเทโว (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หลังจากออกพรรษาแล้ว 1 วัน)
2. พิธีทอดกฐิน (ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น15 ค่ำ เดือน 12 กำหนด 1 เดือนนับตั้งแต่วันออกพรรษา)
3. พิธีทอดผ้าป่า (ไม่จำกัดกาล)
4. ประเพณีเทศน์มหาชาติ (นิยมทำกันในวันขึ้น 8 ค่ำ หรือ วันแรม 8 ค่ำ กลางเดือน 12 ในบางท้องถิ่นอาจนิยมทำกันในเดือน 5 ต่อเดือน 6 หรือในเดือน 10)

1.ประเพณีตักบาตรเทโว
การตักบาตรเทโว จะกระทำในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 คือหลังออกพรรษาแล้ว 1 วัน
ประวัติความเป็นมาของประเพณีการตักบาตรเทโว
ในสมัยพุทธกาล เมื่อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมและเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาโดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา 1 พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้ว พระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสนคร
การที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จลงมาจากชั้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์ภาษาบาลีว่า "เทโวโรหณะ"ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวปฏิบัติสืบทอดกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

2.พิธีทอดกฐิน
ประวัติการทอดกฐิน
ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ พระเชตวนาราม ซึ่งเป็นพระอารามที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างถวายเป็นพุทธนิวาส ได้มีภิกษุ 30 รูป ชาวเมืองปาฐา ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันตกในแคว้นโกศล เดินทางมาหมายจะเฝ้าพระพุทธองค์ที่เมืองสาวัตถี แต่มาไม่ทันเพราะใกล้ถึงวันเข้าพรรษา จึงเข้าพักจำพรรษา ณ เมืองสาเกต อันมีระยะทางห่างจากเมืองสาวัตถีราว 6 โยชน์
ภิกษุทั้ง 30 รูป ล้วนแต่เป็นผู้เคร่งครัดปฏิบัติธุดงค์และต่างมีความศรัทธาอย่างแรงกล้าที่จะได้เฝ้าพระบรมศาสดา เมื่อถึงวันออกพรรษาแล้ว ก็รีบเดินทางไปยังเมืองสาวัตถีโดยไม่มีการรั้งรอแม้ว่ายังเป็นช่วงที่ฝนยังตกหนักน้ำท่วมอยู่ทั่วไป แม้จะต้องฝ่าแดดกรำฝน ลุยฝน อย่างไรก็ไม่ย่อท้อ
เมื่อภิกษุทั้ง 30 รูป ได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดาสมความตั้งใจแล้ว ครั้นพระองค์ตรัสรู้ถามจึงได้เล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ทรงทราบ พระพุทธองค์จึงตรัสธรรมมิกถา ภิกษุเหล่านั้นก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ผลในลำดับนั้น พระบรมศาสดาดำริถึงความยากลำบากของภิกษุเหล่านั้น จึงเรียกประชุมภิกษุสงฆ์ แล้วตรัสอนุญาตให้ภิกษุรับผ้ากฐินได้ สำหรับในเมืองได้ผ่านวันออกพรรษาแล้ว นางวิสาขาได้ทราบพุทธานุญาตและได้เป็นผู้ถวายผ้ากฐินเป็นคนแรก

3.พิธีทอดผ้าป่า
ประวัติความเป็นมา
ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลายรับจีวรจากชาวบ้าน พระภิกษุเหล่านั้นจึงต้องเที่ยวเก็บผ้าที่เขาทิ้งแล้ว เช่นผ้าเปรอะเปื้อนที่ชาวบ้านไม่ต้องการนำมาทิ้งไว้ ผ้าที่ห่อศพ ฯลฯ เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยพอแก่ความต้องการแล้ว จึงนำมาทำความสะอาด ตัดเย็บ ย้อม เพื่อทำเป็นจีวร สบง หรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง การทำจีวรของภิกษุในสมัยพุทธกาลจึงค่อนข้างยุ่งยากหรือเป็นงานใหญ่ ดังที่กล่าวไว้แล้วในเรื่องพิธีทอดกฐิน
ครั้นชาวบ้านทั้งหลายเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์ต้องการนำผ้ามาถวาย แต่เมื่อยังไม่มีพุทธานุญาตโดยตรง จึงนำผ้าไปทอดทิ้งไว้ ณ ที่ต่างๆ เช่น ในป่า ตามป่าช้า หรือข้างทางเดิน เมื่อภิกษุสงฆ์มาพบ ก็นำเอามาทำเป็นสบง จีวร พิธีการทอดผ้าก็มีความเป็นมาด้วยประการฉะนี้
สำหรับในเมืองไทย พิธีทอดผ้าป่าได้รับรื้อฟื้นขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ด้วยทรงพระประสงค์จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีในทางพระศาสนา

4.ประเพณีงานเทศน์มหาชาติ
ประเพณีการเทศน์มหาชาติจัดเป็นการทำบุญที่สำคัญและมีความหมายที่สุดในสังคมไทย เนื่องจากเป็นประเพณีของพุทธศาสนิกชนชาวไทยที่ทำสืบเนื่องมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบันเพราะความเชื่อว่าถ้าผู้ใดได้ฟังเทศน์มหาชาติแล้วจะได้กุศลแรง แลหากใครตั้งใจฟังให้จบใน วันเดียวจะได้เกิดร่วมและพบพระศรีอริยเมตตรัยโพธิสัตว์ซึ่งจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
ในพระราชสำนัก ปรากฏเป็นราชพิธีในวังหลวงมาแต่สมัยสุโขทัยแล้ว ในสมัยอยุธยาพระมหากษัตริย์ถึงกับทรงโปรดฯ ให้สร้างพระที่นั่งทรงธรรม ด้วยพระราชประสงค์ให้เป็นที่ทรงธรรมในงานพระราชพิธีเทศน์มหาชาติ พระราชพิธีนี้สืบเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเกณฑ์พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ทำกระจาดใหญ่บูชากัณฑ์เทศนาคราวหนึ่ง แม้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครั้งที่ทรงดำรงอยู่ในสมณเพศก็ทรงหัดเทศน์กัณฑ์มัทรี จนกลายเป็นธรรมเนียมให้พระราชโอรสถวายเทศน์มหาชาติในวังหลวง
ในท้องถิ่น โดยฌแพาะในเขตภาคอีสานถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่สำคัญที่สุดของปีจะจัดขึ้นในราวเดือน 4 เรียกว่า บุญพระเวส ทั้งยังมีประเพณีเกี่ยวเนื่องกับเทศกาลนี้ด้วย เช่น พิธีแห่พระเวสเข้าเมืองและพิธีแห่ข้าวพันก้อนเพื่อบูชาคาถาพัน ทางภาคเหนือ ก็ให้ ความสำคัญกับการเทศน์มหาชาติมาก เห็นได้จากมีประเพณีสร้างหลาบเงินหรือแผ่นเงินแกะลาย แขวนห้อยรอบฉัตร ถวายเป็นเครื่องขันธ์ตั้งธรรมหลวงในงาน ทางภาคใต้นั้นประเพณีเทศน์มหาชาติได้ คลี่คลายไป เป็นประเพณีสวดด้านซึ่งคล้ายคลึงกับการสวดโอ้เอ้วิหารรายอย่างกรุงเทพฯ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม