นับจำนวนผู้เข้าชม(counter)

วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วัดเลา


วัดเลา ตำ บลท่าข้าม อำ เภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกแห่งคลอง
สนามไชย เป็นวัดที่ได้สร้างมาแต่โบราณ แต่ไม่มีหลักฐานที่บอกให้ทราบได้อย่างแน่นอนว่า เป็น
วัดที่สร้างขึ้นเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้าง แต่ตามทางสันนิษฐานอันควรจะเชื่อถือได้นั้นมีอยู่ว่าเป็น
วัดที่สร้างมานานแล้วแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี เพราะปรากฎว่า ในสมัยที่บ้านเมืองครั้ง
กระโน้น ประสบกับความทุรนยุคขุกเข็ญ บ้านแตกสาแหรกขาดเพราะนํ้ามือของพวกพม่าข้าศึก
วัดนี้ก็พลอยได้รับเคราะห์ไปกับเขาด้วยกล่าว คือ
พอกรุงศรีอยุธยาแตก พวกพม่าได้ควบคุมกันขึ้นเป็นพวก ๆ เที่ยวตีปล้นบ้านเล็กเรือนน้อย
ไล่ต้อนฟันผู้คน มีพวกหนึ่งได้ผ่านมาทางวัดนี้ เข้าใจว่ามีคนไทยเป็นจำ นวนมิน้อย ที่ได้พากันหนี
ภัย เข้าไปพึ่งในอุโบสถ จึงได้ใช้ปืนยิง จนบางส่วนของอุโบสถต้องปรักหักพัง แม้กระทั่งในสมัย
ที่สร้างขึ้นใหม่ในยุคนี้ ภายหลังที่ได้ร้างมาแล้วนั้นรอยลูกปืนก็ยังมีปรากฏให้เห็นอยู่
ต่อมา ในสมัยกรุงธนบุรีตลอดทั้งสมัยก็ดี และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในยุคต้น ๆ ก็ดีความ
เป็นมาของวัด จะประสพกับความเสื่อมอย่างไรบ้าง ? หรือประสพกับความเจริญอย่างไรบ้างนั้น ?
ไม่มีหลักฐานมั่นคงที่พอจะยืนยันลงไปได้ แต่จะอย่างไรก็ดี ก็คงต้องตกอยู่ในสถานะการณ์ที่ว่าถ้า
ไม่เสื่อมก็ตอ้ งเจริญ ถา้ไมเ่จรญิ กต็ อ้ งเสอื่ ม ซึ่งเป็นกฏธรรมดาอันทุกสิ่งทุกอย่าง ที่มีอยู่เป็นอยู่ใน
โลก จะหลีกเลี่ยงเสียให้พ้นไม่ได้นั่นเอง
ตั้งแต่พุทธศักราช 2466 ขึ้นไป ประมาณสัก 25 ปีเศษ วัดนี้ได้เปลี่ยนสภาพไปจากการ
เป็นสถานที่พำ นักอาศัย ของพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีล กลับกลายเป็นสถานที่หากินแห่งสัตว์ร้าย
และชนพาลคือ วัดได้ประสพกับความเสื่อมอย่างสุดยอด ที่เรียกว่า ร้าง หากว่าไม่มีซากของ
อุโบสถ และบางส่วนแห่งรูปพระปฏิมากร ซึ่งหักกระจัดกระจายเรี่ยราดเหลืออยู่บ้างแล้วก็จะไม่รู้
เลยว่า ที่แห่งนี้เคยเป็นวัดมาก่อน เมื่อสภาพของวัดได้เปลี่ยนแปลงไปถึงเช่นนี้ และมีป่าพงประดา
กันขึ้นอย่างแน่นขนัด พวกอันธพาลจึงได้ยึดเอาเป็นด่านดักกระทำ โจรกรรมขึ้นอีกแห่งหนึ่งใน
หลายแห่งด้วยกัน เพราะเป็นทำ เลที่มีทางหนีทีไล่ที่เหมาะสม ด้วยประการทั้งปวง ซึ่งเหตุนี้ก็เป็นที่
ประวัติวัด
2
ครั่นคร้ามระย่นระย่อของพ่อค้าและประชาชน ผู้อาศัยลำ คลองนี้ผ่านไปมา และเป็นที่รู้จักกันอยู่
อย่างดีแล้ว ในหมู่ของชนพวกนี้
ทุก ๆ ส่วนของวัดที่ปรักหักพังไป สิ่งที่เป็นเหตุนำ มาซึ่งความสังเวชสลดใจเป็นที่สุดนั้น
ได้แก่พระพุทธปฏิมากร ที่สร้างขึ้นด้วยศิลาแดงซึ่งหักพังออกเป็นหลายท่อน ทิ้งกลิ้งอยู่เกะกะเพียง
เท่านี้ก็เป็นที่น่าอนาถใจของพุทธศาสนิกชนพออยู่แล้ว แต่ยังมีมนุษย์ใจกระด้างจำ พวกหนึ่งที่เป็น
คนไม่เกรงกลัวต่อบาปกรรม ได้ยึดถือเอาองค์อวัยวะบางท่อนแห่งพระพุทธปฏิมากรนั้น เป็นหิน
ลับมีดและพร้าหวดจนปรากฏว่าท่อนหินตรงองค์อวัยวะนั้น คอดกิ่ว จึงเป็นที่ตั้งแห่งสังเวช
แต่จะเป็นด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม ต่อมาวัดนี้ได้กลับฟื้นคืนมาเป็นวัดที่เรียกร้องเอาความรู้
สึกของมหาชนให้หันกลับไปรวมกันเป็นแนวเดียว และยังเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรือง ไม่มีวัดใดใน
ท้องถิ่นแถวเดียวกันจะทัดเทียม
ประวัติกาล อันเป็นมาโดยลำ ดับในการสร้างวัดขึ้นใหม่ นั่นคือ……
วันหนึ่งในพุทธศักราช 2466 พระเทพสิทธินายก เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรอยู่ได้มีธุระ
กิจผ่านไปทางนี้ เผอิญได้ขึ้นไปพบเห็นปูชนียวัตถุ ซึ่งควรแก่การสักการะบูชามากถูกนำ มาใช้เป็น
หินลับมีดและพร้าหวด จึงเกิดความสังเวชสลดจิตคิดสท้อนใจในการกระทำ อันมักง่ายของมนุษย์
พวกนั้น และเกรงว่ามนุษย์พวกนั้น จะพากันไปสิงสถิตย์ในขุมนรกอย่างยัดเยียดแน่นขนัด ครั้น
พระเดชพระคุณท่านกลับวัดก็ได้ถูกภาพอันชวนสลดนั้นตรึงแน่นติดไปด้วย
ในคืนนั้น คือ คืนที่ท่านกลับมาวัดเลาแล้ว พระเดชพระคุณท่านจำ วัดไม่หลับพอหลับตา
มโนคติก็ได้แล่นไปเหนี่ยวรั้งเอาภาพของพระพุทธปฏิมากรศิลาแดงที่ถูกทำ เป็นหินลับมีดและพร้า
หวดมาเป็นอารมณ์ และปรากฏเห็นอย่างนั้น ทั้งที่ในเวลาที่ลืมตาอีกด้วย ภาพของพระพุทธ
ปฏิมากรนั้น ได้พลัดอันตรธานหายไปจากความยึดหน่วงของใจ ก็เมื่อท่านเจ้าคุณพ่อได้สักการะ
แล้ว ณ ที่โน้น และพร้อม ๆ กันนี้ ก็ได้อธิษฐานในใจว่า จะไปทำ การปฏิสังขรณ์ให้ และจะคุ้ม
ครองป้องกันมิให้ถูกเบียดเบียนบีฑาอีกต่อไป ก็เป็นเหตุอันน่าอัศจรรย์ ที่ปรากฏคล้ายกับว่า ท่าน
ถูกมนต์สะกดให้หลับไป ในเมื่อหลังจากผูกใจมั่นแล้วไม่นานแม้ว่าเวลานั้นจะเป็นเวลาใกล้รุ่งเกิน
เวลาที่จำ วัดโดยปกติธรรมดาแล้วก็จริง แต่ถึงกระนั้นในขณะที่ตื่นขึ้นก็ไม่ปรากฏว่ามีอาการอ่อน
โหยโรยแรง เพราะเหตุที่มีเวลาจำ วัดน้อยนั้นเลย นี่เป็นเหตุอันควรอัศจรรย์อีกเหมือนกัน
ในชั้นต้น ความคิดในการปฏิสังขรณ์วัด ก็เพียงเพื่อจะทำ การซ่อมแซมให้เป็นรูปองค์พระ
พุทธปฏิมากรอย่างรูปเดิม และทำ ร่มเงาพอกันฝนบังแดดเท่านั้น และในการนี้นายหล่ม
จุนเบง คอร์มปราโดสยามฮ่องกงแบงก์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีศรัทธาความเชื่อ และความเลื่อมใสในพระ
พุทธศาสนาอย่างแรงกล้า และมีความเคารพนับถือในท่านพระเทพสิทธินายก เป็นอย่างยิ่ง ได้
บริจาคทุนทรัพย์สำ หรับใช้ในการปฏิสังขรณ์เป็นคนแรก เป็นจำ นวนเงิน 1,000 บาท แต่ครั้งได้
เริ่มลงมือหักร้างถางพงเข้า พุทธศาสนิกชนในท้องถิ่นแถวนี้ ได้พากันอ้อนวอนขอร้องให้พระเทพ
3
สิทธินายก ได้จัดการก่อสร้างเป็นวัดขึ้นใหม่ดังเดิม ก็เพราะอัธยาศัยอันใคร่ต่อพุทธศาสนาเป็นชีวิต
จิตใจจึงเป็นเหตุให้ท่านไม่ขัดคำ อ้อนวอนขอร้องพุทธศาสนิกชนเหล่านั้น จึงคิดการสร้างเป็นวัดขึ้น
ใหม่แทน
เมื่อได้จัดการถากถางปราบพื้นที่ ให้เป็นผลสำ เร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ได้จัดสร้างเสนาสนะที่
อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณร และได้จัดสร้างอุโบสถ ซึ่งเป็นที่ทำ สังฆกรรมของสงฆ์ขึ้น ครั้นใน
ปี พุทธศักราช 2467 จึงได้ขอพระบรมราชานุญาติ พระราชทานวิสุงคามสีมา และผูกพัทธสีมา
จัดว่าเป็นวัดขึ้นโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ในปีนั้น
งบประมาณเงินที่ได้ใช้จ่ายไป เป็นจำ นวนเงิน 20,000 บาท ในการที่ก่อสร้างวัดขึ้นใหม่นี้ ถือว่า
เป็นอุดมมงคลอันยิ่งใหญ่ เพราะนับได้ว่าเป็นการปิดประตูอบายภูมิให้แก่พวกที่ขลาดเขลาเบา
ปัญญา ที่พากันยึดเอาองค์อวัยวะบางส่วนของพระพุทธปฏิมากร เป็นหินลับมีดและพร้าหวด เป็น
การช่วยให้พ่อค้าและประชาชนผู้สัญจรไม่มา ได้รับความอุ่นใจคลายวิตกปราศจากความหวาดหวั่น
พรั่นพรึง และประการสดุ ทา้ย ก็เป็นการทาํ นุบาํรุงพระพุทธศาสนาให้ดาํรงมั่นถาวร เปน็ อากรแดน
เกิดแห่งบุญกุศล ของพุทธศาสนิกชนผู้เลื่อมใสแล้วกระทำ ลงไปตามสมควรแก่อัธยาศัยของตน
นับแต่ได้สร้างวัดแล้วเป็นต้นมา พระเทพสิทธินายกและเหล่าชาวบ้านในท้องถิ่น ได้คอย
เอาใจใส่ทำ นุบำ รุงอยู่เสมอ เครื่องกัปปิยจังหันสำ หรับขบฉันตลอดจนเครื่องใช้สอยต่าง ๆ อันเป็น
ของจำ เป็นที่พระภิกษุสามเณรจะต้องมีต้องใช้ กระทั่งจตุปัจจัยก็ได้พยายามส่งเสียอยู่เป็นนิจ
เพราะวัดได้ตั้งอยู่ภูมิประเทศสถานถิ่นที่กันดารทั้งนํ้าในคลองหน้าวัดก็เป็นนํ้าเค็ม ต่อมา
จึงได้จัดสร้างถังบรรจุนํ้าฝนหล่อคอนกรีตขึ้นถังหนึ่ง ยาว 4 วา กว้าง 2 วา 2 ศอก สูง 5 ศอก
คืบ จุนํ้าประมาณ 10,000 ปีบ คิดเป็นเงินค่าก่อสร้างในขณะนั้น 1,200 บาท ต่อมาพระเทพสิทธิ
นายก จึงได้ตัดสินใจลงอย่างเด็ดขาด ในการที่จะต้องไปเป็นผู้นำ ด้วยตนเองในการทำ นุบำ รุง
ฉะนั้น ในกลางปีพุทธศักราช 2472 จึงได้ทูลลาเวนคืนตาํ แหน่งสมณศักดิ์ และเจ้าอาวาสเสีย และ
ก็ได้รับพระบรมราชานุญาติ สมตามประสงค์
ในเช้าวันขึ้น 7 คํ่า เดือน 6 ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม พุทธศักราช 2473 เป็น
วันที่พระเทพสิทธินายก ด้วยพระภิกษุสามเณรผู้เป็นสัทธิวิหาริกและอันเตวาสิก ซึ่งมีความจงรัก
ภักดีในพระเทพสิทธินายก ประมาณ 15 รูป ได้พากันแปรสถานทิ้งพระมหานครอันโอฬาร ซึ่ง
เป็นย่านที่ได้รับความยกย่องแล้วว่าเป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญพากันบ่ายหน้าเข้าสู่ป่าจากป่าแสม
อันเป็นแดนที่ทุรกันดารและยึดเอาเป็นนิวาสสถานพำ นักอาศัยด้วยความพอใจอย่างหน้าชื่นตาบาน
จึงนับว่าเป็นการเนรเทศตัวเอง ตามใจสมัครของตน
สำ หรับการมาของพระเทพสิทธินายก พระเดชพระคุณท่าน ย่อมรู้เป็นอย่างดีแล้วว่า
สถานที่นั้นเป็นสถานที่ทุรกันดาร มีป่าจาก และป่าแสมขึ้นอยู่รอบด้านทั้งนํ้าก็เค็ม ทั้งยุงก็ชุม แต่
เพราะความที่ประสงค์จะทำ นุบำ รุงวัดให้ได้ประโยชน์คุ้มค่าของเงินที่ลงทุนไปแล้วนั้นเองจึงเป็น
เหตุทำ ให้ลืมอุปสัคอันสำ คัญนั้น ๆ เสียได้อย่างง่ายดาย แม้จะกลับนึกขึ้นได้ ก็เห็นเป็นของที่ไม่สู้
4
ยากแก่การที่จะแก้ไขจึงเป็นเหตุเร่งเร้าให้ทูลลาเวนคืนตำ แหน่งสมณศักดิ์และเจ้าอาวสเสีย กลับมา
อยู่ที่เป็นป่าเปลี่ยวรกเลี้ยวกันดาร
ในสมัยที่ยกกันมาอยู่ที่วัดเลา เริ่มแรกทีเดียวก็ได้จัดแก้เรื่องนํ้าเค็ม เพราะถังนํ้าที่มีอยู่แล้ว
1 ถัง บรรจุนํ้าไม่พอใช้ จึงได้จัดสร้างขึ้นใหม่อีกถังหนึ่ง หล่อคอนกรีตเหมือนกันยาว 7 วา
กว้าง 3 วา 2 ศอก สูง 6 ศอก จุนํ้าประมาณ 20,000 ปีบ คิดเป็นจำ นวนเงิน 2,000 บาท ใน
ส่วนถังนํ้าถังนี้ นายหลิม จุนเบง ได้เป็นผู้บริจาคทรัพย์ 1,000 บาท เหลือจากนั้นเป็นส่วนที่
เรี่ยไร ได้จากบรรดาศิษยานุศิษย์และคนอื่น ๆ
แต่ที่ท่านพระเทพสิทธินายก ได้สร้างถังใหญ่ถึงเพียงนี้ ก็เนื่องจากได้เห็นความลำ บากยาก
แค้นของประชาชนในถิ่นแถวใกล้ ๆ วัด และในแถบแถวตอนใต้วัดลงไป คือเมื่อต้องการจะหานํ้า
ใช้ ต้องไปบรรทุกมาแต่ไกลบางครั้งไปกันตั้งวันหนึ่งจึงได้นํ้ามา ฉะนั้นไซร้ ถังนํ้าใหญ่จึงปรากฏ
เกิดขึ้น ในด้านเหนือของวัด
ครั้นต่อมาในระหว่างพุทธศักราช 2476 กับ 2477 คาบเกี่ยวกับ ท่านพระเทพสิทธินายก
ได้จัดการสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึ้นหลังหนึ่ง ตัวโรงเรียนเป็นปั้นหยา 2 ชั้น ยาว 8 วา
กว้าง 2 ศอก ด้านตัดมุข 5 วา ในขณะนํ้ากำ ลังสร้างโรงเรียนอยู่นั้น เจตสิกได้ตักเตือนให้ระลึก
ถึงความคิดเมื่อครั้ง 6 ปีก่อน ในการที่จะช่วยปลดเปลื้องผันผ่อนทุกข์ร้อนของประชาชนเพราะเท่า
ที่ได้ช่วยอยู่แล้วนั้น ยังมีความจำ เป็นที่จะช่วยไม่ได้อย่างเต็มไม้เต็มมือ ด้วยเหตุที่ทางวัดจำ ต้อง
สงวนนํ้าไว้ใช้บ้าง แต่เมื่อดวงจิตได้ถูกเมตตากรุณาหุ้มห่อไว้อย่างหนาแน่นจึงมีอาํ นาจบังคับให้
ท่านต้องตกลงใจในการที่จะขจัดทุกข์บำ รุงสุข หรือยัดเยียดสุขให้ซื้อทุกข์ของเขาเสียอย่างเด็ดขาด
เมื่อเป็นเช่นนี้ความต้องการนํ้าฝนที่ตกลงมาบนหลังคาโรงเรียนจึงมีขึ้น ครั้นแล้วถังนํ้าหล่อ
คอนกรีตจึงได้เกิดมีคู่ขนานกันไปกับโรงเรียนโดยที่ยาว 8 วา กว้าง 4 วา สูง 6 ศอก จุนํ้า
ประมาณ 25,000 ปีบ คิดเฉพาะถังนํ้าสิ้นเงินไปในการก่อสร้าง 2,600 บาท ซึ่งในจำ นวนนี้เป็น
ส่วนที่นางสมบุญ ร้านตู้ทองสะพานหันได้บริจาคเป็นจำ นวนเงิน 1,400 บาท นอกนั้นเป็นส่วนที่
ได้จากบรรดาศษิ ยานศุ ษิ ย  และคนอื่น ๆ เมอื่ ถงั นา้ํสาํเรจ็ เรยี บรอ้ ยใชก้ ารไดแ้ ล้ว จงึเปน็ อนั วา่
ท่านเจ้าคุณพ่อ ได้โอบอุ้มคุ้มครองประชาชนไว้ให้พ้นจากความเดือดร้อนเพราะนํ้าเค็มเสียได้อย่าง
เด็ดขาดตั้งแต่นั้นมา รวมค่าก่อสร้างโรงเรียน และถังนํ้านี้เป็นเงิน 10,000 บาทเศษ
นับแต่ได้เริ่มต้นสร้างวัดมาในพุทธศักราช 2466 จนถึง
พุทธศักราช 2479 นี้ มีถาวรวัตถุและเสนาสนะ อยู่หลายอย่าง
ดังต่อไปนี้ คือ
อุโบสถ มุงด้วยกระเบื้องเคลือบ พร้อมทั้งกำ แพงแก้ว 1
หลัง หอสวดมนต์ 1 หอ หอระฆัง 1 หอ ถังนํ้าใหญ่ 3 ถัง ถัง
5
นํ้าเล็ก 2 ถัง ศาลาหน้าวัด 4 หลัง เขื่อนหน้าวัดหล่อคอนกรีต 1 เขื่อน ถนนคอนกรีต 3 สาย
ถนนก่ออิฐปูนหิน 4 สาย ครัว 1 หลัง ส้วมซึม 6 ส้วม
และในวันที่ 7 กรกฎาคม พุทธศักราช 2478 ได้จัดซื้อที่ดินขยายเขตด้านหน้าอุโบสถให้
กว้างออกไปอีกเป็นเนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 55 ตารางวา เป็นราคาเงิน 2,000 บาทเศษ และในเดือน
พฤศจิกายน พุทธศักราช 2478 นั้น นางหมา ตลาดท่าเตียนได้ถวายที่ดินตำ บลหัวกระบือ อำ เภอ
บางขุนเทียน ให้เป็นส่วนศาสนสมบัติอีก 12 ไร่ และปัจจุบันนี้กำ ลังจัดการก่อสร้างโรงเรียน
ประชาบาลอยู่
ผู้ที่ยังไม่ลืมภาพของวัดในสมัยที่รกร้างอยู่ เมื่อได้มาเห็นในปัจจุบันนี้เข้าแล้วย่อมจะ
อัศจรรย์ใจทันทีที่ชั่วเวลาไม่กี่ปีป่าที่รกร้าง ได้กลับแปลงรูปมาเป็นสาธารณสถานย่านบำ เพ็ญบุญ
กุศลอันหรูหราสง่างามน่ารื่นรมย์ถึงเพียงนี้ข้าพเจ้ากล้าคุยได้อย่างเต็มปากว่า ในบางนี้ทั้งบางเมื่อพูด
ถึงความหรูหราสง่างามแล้วก็ยากที่จะหาวัดใดวัดหนึ่งมาเปรียบเทียบได้และทั้งเป็นวัดที่นำ ให้วัด
อื่นเจิรญรอยตามในวิธีปฏิบัติอีกด้วย
วัดเลาเจริญเรื่อยมาเป็นลำ ดับ วิวัฒนาสืบเนื่องมาโดยตลอด จวบจนถึงมรณกาลของท่าน
เจ้าคุณเลียบ (พระเทพสิทธินายก) ในปี พ.ศ. 2483
ช่วงนั้นพระมหาทองคำ กิจประมวล (ผู้เรียบเรียงประวัติวัดเลาเดิม) กำ ลังอาพาธอยู่
ตำ แหน่งเจ้าอาวาสที่ต่อจากเจ้าคุณเลียบ (พระเทพสิทธินายก) จึงว่างอยู่จนกระทั่งพระมหาทองคำ
กิจประมวล ถึงแก่มรณภาพลง จนถึงปี พ.ศ. 2486 รวมเป็น 2 ปี โดยวางเจ้าอาวาสที่วัดเลาต้อง
ปกครองโดยคณะสงฆ์
และในปี พ.ศ. 2486 นั้น พระมหาสุดใจ ธมมปาโล ป.ธ.เอก (สุดใจ ระเบียบ) ได้รับ
แต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดเลา และในปีเดียวกันได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำ บลท่าข้าม ด้วย
ต่อมาปี พ.ศ. 2495 พระมหาสุดใจ ธมปาโล ป.ธง 5 น.ธ. เอก ได้ลาสิกขาบทพระครู
บัณฑิตานุวัตร (พระมหาเวก วิเวโก) จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส โดยได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะ
ตำ บลท่าข้าม ในปี พ.ศ. 2495 อีกด้วย
ต่อมาปี พ.ศ. 2509 พระครูบัณฑิตานุวัตร (พระมหาเวก วิเวโก) ได้ลาสิกขาบท พระผูก
ผาสุกาโม (พระครูผาสุการโกวิท) จึงเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดเลา
จนถึงปี พ.ศ. 2510 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดเลา
รายนามและประวัติเจ้าอาวาส
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
6
ในช่วงนั้นผู้ที่คุ้นเคยเคารพนับถือในท่านพระครูผาสุการโกวิทมักจะเรียกท่านว่า “เจ้า
อธิการผูก” จึงพอสรุปได้ว่า นับแต่มรณกาลสิ้นท่านเจ้าคุณพ่อเลียบ (พระเทพสิทธินายก) จะว่าง
เจ้าอาวาสอยู่ 2 ปี จากนั้นก็มีเจ้าอาวาสปกครองดูแลมาโดยลำ ดับ คือ
1. พระเทพสิทธินายก (ท่านเจ้าคุณเลียบ)
2. พระมหาสุดใจ ธมมปาโล (ประเบียบ) ป.ธ.5 น.ธ. เอก
3. พระมหาเวก วิเวกโก (ใจภักดี) ป.ธ.5 น.ธ. เอก
4. พระครูผาสุการโกวิท ปัจจุบันดำ รงตำ แหน่งเป็นเจ้าคณะเขตบางขุนเทียน
นับตั้งแต่ พระครูผาสุการโกวิท เป็นเจ้าอาวาสวัดเลามานั้น ยังมีท่านอาจารย์ไสว สุมโน
วัดราชนัดดาราม กรุงเทพมหานคร ได้มีความกรุณาเมตตา เป็นองค์อุปถัมภ์หนุนนำ สร้างเสริม
พัฒนาวัดเลามาโดยตลอด จนกระทั่งถึงกาลมรณภาพของท่านพระอาจารย์ไสว สุมโนเมื่อ พ.ศ.
2531 แม้ปัจจุบันนี้ ศิษยานุศิษย์ของท่านพระอาจารย์ไสว สุมโน ก็ยังช่วยอุปถัมภ์ส่งเสริมวัดเลา
อยู่เสมอ
พระครูผาสุการโกวิทพระครูผาสุการโกวิท เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
ปัจจุบันดำ รงตำ แหน่งเป็นเจ้าคณะเขตบางขุนเทียน
7
ปัจจุบันนี้มีสิ่งปลูกสร้างอาคารเสนาสนะที่สรุปได้ ดังนี้
1. อุโบสถ
2. โรงเรียนพระปริยัติธรรม
3. ศาลาบำ เพ็ญกุศลเอนกประสงค์ 2 หลัง
4. ฌาปนสถาน
5. ศาลารายฌาปณกิจ 4 หลัง
6. โรงครัว
7. เรือนคลังเก็บวัสดุภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ 4 หลัง
8. กุฏิสงฆ์ 2 ชั้น 3 ชั้น รวม 12 หลัง
9. หอระฆัง 1 หลัง
10. หอกลอง 1 หลัง
11. มณฑป 1 หลัง
12. ศาลาริมนํ้า
13. สุสาน
14. ห้องนํ้าและห้องสุขา รวม 20 หลัง
15. เขื่อนคอนกรีตตลอดแนวหลังวัดเลา ด้านคลองสนามชัย
16. กำ แพงคอนกรีตตลอกแนวถนนหน้าอุโบสถพร้อม ซุ้มประตู 2 ซุ้ม
17. ถนนคอนกรีตภายในวัด 6 สาย
18. ยังมีส่วนอื่นอีกที่กำ ลังดำ เนินการก่อสร้างอยู่อีก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น