นับจำนวนผู้เข้าชม(counter)

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติว่าวไทย


ว่าว เป็นกีฬาที่สนุกสนานอย่างหนึ่ง นิยมเล่นกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณในฤดูร้อน หรือหน้าลมว่าวประมาณเดือนมีนาคมของทุก ปี การเล่นว่าวของคนไทยถือว่าเป็นการแข่งขันกีฬา พื้นเมือง การต่อสู้ใช้ความสามารถ ไหวพริบ และกำลังความฉับไวในการชัก เอาชนะด้วยกระแสแรงลมที่พัด เพื่อให้ว่าวกินลมว่าวที่รู้จักกันดีตามพื้นบ้านทั่วไป คือ ว่าวอีลุ้ม ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวดุ๊ยดุ่ย


ว่าว เป็นของเล่นชนิดหนึ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้ลอยอยู่ในอากาศได้ด้วยแรงลมและมีสายป่านคอยบังคับให้ลอยอยู่ในทิศทางที่ต้องการ โดยเริ่มจากประเทศจีนโดยใช้ไม้ไผ่และผ้าไหมเป็นอุปกรณ์ ต่อมาได้ประดิษฐ์ว่าวในหลายรูปแบบตามวัฒนธรรมของหลายประเทศ


[แก้ไข]
ว่าว
ในอดีตมีกล่าวอยู่ในพงศาวดารเหนือว่า พระร่วงทรงเล่นว่าวอย่างไม่ถือพระองค์ว่าเป็นท้าวพระยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 – 2300) ก็มีการเล่นว่าวกันมากถึงกับมีกฎมณเฑียรบาลห้ามมิให้ประชาชนเล่นว่าวทับพระราชวัง ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็มีการเล่นว่าวดังเช่นในสมัย ก็มีการเล่นว่าว เช่นในรัชกาลที่ 5 ก็ทรงโปรดให้ใช้สถานที่ในพระราชวังดุสิต และสนามเสือป่าเป็นที่เล่นว่าวจุฬากับปักเป้า เป็นต้น ว่าวของไทยที่ทำขึ้นเล่นกันเป็นพื้นมีอยู่ 4 ชนิดด้วยกัน คือ ว่าวอีลุม ว่าวปักเป้า ว่าวจุฬา และว่าวตุ๋ยตุ่ย


ว่าวคือ เครื่องเล่นรูปต่างๆ มีไม้เบาๆเป็นโครงแล้วปิดด้วยกระดาษหรือผ้าบางๆ ปล่อยให้ลอยตามลมขึ้นไปในอากาศโดยมีสายเชื่อหรือป่านยึดไว้


ว่าวมีเล่นกันในหลายประเทศทั้งในจีน ญี่ปุ่น อินเดีย และยุโรป ในอดีตที่ผ่านมาการเล่นว่าวเป็นไปเพื่อความบันเทิงและเป็นความเชื่อทางศาสนา ประเพณี หรือ การใช้ประโยชน์อย่างอื่นด้วยแต่ในปัจจุบันเป็นเพียงการละเล่น หรือกีฬาเพื่อความสนุกสนามและเพื่อพักผ่อนหย่อนใจเท่านั้น


คนไทยรู้จักการเล่นว่าวมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย และนิยมเล่นกันแพร่หลายในสมัยอยุธยา M.dela Loubere กล่าวไว้ว่า ว่าวของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม ปรากฏในท้องฟ้าทุกคืนตลอด ระยะเวลา 2 เดือน ของฤดูหนาว และทรงแต่งตั้งขุนนางให้คอยผลัดเปลี่ยนเวรกันถือสายป่านไว้


ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็นิยมเล่นว่าวกันมาก โดยเฉพาะรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และในรับสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนกีฬาเล่นว่าว มีการประกวดและแข่งขันว่าวจุฬาและปักเป้า โดยมีกติกาการแข่งขันเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้การแข่งขันยุติธรรมและสนุกสนามยิ่งขึ้น สถานที่เล่นว่าวในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เป็นที่รู้จักกันดีมาแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน คือสนามหลวง ส่วนในต่างจังหวัดก็นิยมเล่นกันตามที่โล่งกว้างหรือตามท้องนาทั่วไป




[แก้ไข] ประเภทของว่าว
ว่าวแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 2 ประเภทคือ 1. ว่าวแผง คือ ว่าวที่ไม่มีความหนา มีแต่ส่วนกว้างและส่วนยาว เช่น ว่าวจุฬา ปักเป้า อีลุ้ม หรือว่าวรูปสัตว์ต่างๆ 2. ว่าวภาพ คือ ว่าวที่ประดิษฐ์ให้มีลักษณะพิเศษเพื่อแสดงแนวความคิด ฝีมือในการประดิษฐ์ แบ่งเป็นประเภทย่อยได้ 3 ชนิด

ว่าวประเภทสวยงาม
ว่าวประเภทความคิด
ว่าวประเภทตลกขบขัน
ว่าวแผง เท่านั้นที่นิยมนำมาเล่น หรือแข่งขันกัน ส่วนว่าวภาพจะทำสำหรับชักขึ้นอวดรูปร่างว่าวมากกว่า และนิยมชักให้ลอยนิ่งอยู่ในอากาศให้คนชม ว่าวจุฬาและว่าวปักเป้า

ว่าวจุฬาและว่าวปักเป้า มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากที่สุด แม้จะทำเล่นกันเฉพาะในภาคกลางก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นว่าวประจำชาติไทย มีลักษณะแตกต่างกับว่าวของชาติต่างๆ คือเป็นว่าวที่สวยงามด้วยรูปทรงและฝีมือ ที่ประดิษฐ์อย่างประณีตที่สุด และสามารถบังคับให้เคลื่อนไหวได้ด้วยอาการต่างๆ อย่างสง่างาม และคล่องแคล่วว่องไว ด้วยสายป่านที่ชัดว่าวนั้นเพียงสายเดียว ตรงข้างกับว่าวนานาชาติที่มีความสวยงามที่สีสันอันแพรวพราวตา แต่ส่วนมากลอยลมอยู่เฉยๆ ไม่อาจบังคับให้เคลื่อนไหวอย่างว่าวจุฬาและว่าวปักเป้าได้ ว่าวจุฬามีลักษณะคล้ายดาวห้าแฉก มุมไม่เท่ากัน ไม่มีหางผูกคอซุงที่อก ทำให้ส่ายไปมาได้ ส่วนว่าวปักเป้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ผูกคอซุงที่อกเช่นกัน มีหางยาวไว้ถ่วงน้ำหนักที่มุมล่างของตัวว่าว

[แก้ไข] วิธีการเล่นว่าว
เอาเชือกว่าวสายยาวผูกกับสายซุง แล้วให้คนส่งว่าวไปยืนโต้ลม จากผู้ชักสายว่าว ประมาณ 4-5 เมตร ตั้งหัวว่าวขึ้นรอ พอลมมากก็ส่งว่าวขึ้นไป คนชักว่าวจะกระดูกและผ่อนสายว่าวจนว่าวขึ้นสูง ติดลมบน จึงถือไว้นิ่งๆ หรือบังคับให้ว่าวส่ายไปมา ว่าวธรรมดาไม่ต้องใช้ป่านพิเศษ แต่ถ้าเป็นว่าวแข่งขัน ตัวว่าวเอาชนะแพ้กัน จะใช้ป่านคมทำสายว่าว วิธีทำป่านคม คือ เอาเศษแก้วมาบดให้ละเอียด เคี่ยวกับแป้งเปียก หรือกาว และนำมารูดตามสายว่าวที่ขึงตึง ทิ้งไว้ให้แห้งก็จะเป็นสายป่านคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น