นับจำนวนผู้เข้าชม(counter)

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สมุนไพร


ความหมายของสมุนไพร
คำว่า [สมุนไพร], ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง พืชที่ใช้ ทำเป็นเครื่องยา สมุนไพรกำเนิดมาจากธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะ ในทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค ความหมายของยาสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษาชาติสัตว์หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผลฯลฯ ซึ่งมิได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ แต่ในทางการค้า สมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่งแต่ในความรู้สึกของคนทั่วไปเมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น
สมุนไพร หมายถึง พืชที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ การใช้สมุนไพรสำหรับรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ นี้ จะต้องนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า "ยา" ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า "เภสัชวัตถุ"พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมและมีรสเผ็ดร้อน ใช้เป็นยาสำหรับขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ พืชเหล่านี้ถ้านำมาปรุงอาหารเราจะเรียกว่า "เครื่องเทศ" ในพระราชบัญญัติยาฉบับที่ 3 ปีพุทธศักราช 2522 ได้แบ่งยาที่ได้จากเภสัชวัตถุนี้ไว้เป็น 2 ประเภทคือ
1. ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณหรือในการบำบัดโรคของสัตว์ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาแผนโบราณ หรือได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ
2. ยาสมุนไพร หมายถึงยาที่ได้จากพืชสัตว์แร่ธาตุที่ยังมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพสมุนไพรนอกจากจะใช้เป็นยาแล้ว ยังใช้ประโยชน์เป็นอาหาร ใช้เตรียมเป็นเครื่องดื่ม ใช้เป็นอาหารเสริม เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ใช้แต่งกลิ่น แต่งสีอาหารและยา ตลอดจนใช้เป็นยาฆ่าแมลงอีกด้วย ในทางตรงกันข้าม มีสมุนไพรจำนวนไม่น้อยที่มีพิษ ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีหรือใช้เกินขนาดจะมีพิษถึงตายได้ ดังนั้นการใช้สมุนไพรจึงควรใช้ด้วยความระมัดระวังและใช้อย่างถูกต้อง ปัจจุบันมีการตื่นตัวในการนำสมุนไพรมาใช้พัฒนาประเทศมากขึ้น สมุนไพรเป็นส่วนหนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนิน โครงการ สมุนไพรกับสาธารณสุขมูลฐาน โดยเน้นการนำสมุนไพรมาใช้บำบัดรักษาโรคใน สถานบริการสาธารณสุขของรัฐมากขึ้น และ ส่งเสริมให้ปลูกสมุนไพรเพื่อใช้ภายในหมู่บ้านเป็นการสนับสนุนให้มีการใช้สมุนไพรมากยิ่งขึ้น อันเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยประเทศชาติประหยัดเงินตราในการสั่งซื้อยาสำเร็จรูปจากต่างประเทศได้ปีละเป็นจำนวนมาก
สมุนไพร หมายถึง “พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา” ส่วน ยาสมุนไพร หมายถึง “ยาที่ได้จากส่วนของพืช สัตว์ และแร่ ซึ่งยังมิได้ผสมปรุง หรือ แปรสภาพ” ส่วนการนำมาใช้ อาจดัดแปลงรูปลักษณะของสมุนไพรให้ใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น นำมาหั่นให้มีขนาดเล็กลง หรือ นำมาบดเป็นผงเป็นต้นมีแต่พืชเพียงอย่างเดียวหามิได้เพราะยังมีสัตว์และแร่ธาตุอื่นๆอีกสมุนไพร ที่เป็นสัตว์ได้แก่ เขา หนัง กระดูก ดี หรือเป็นสัตว์ทั้งตัวก็มี เช่น ตุ๊กแกไส้เดือน ม้าน้ำ ฯลฯ
"พืชสมุนไพร" นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมายซึ่ง เชื่อกันอีกด้วยว่า ต้นพืชต่างๆ ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณค่าทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น
"พืชสมุนไพร" หรือวัตถุธาตุนี้ หรือตัวยาสมุนไพรนี้ แบ่งออกเป็น 5 ประการ
1. รูป ได้แก่ ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ แก่นไม้ กระพี้ไม้ รากไม้ เมล็ด
2. สี มองแล้วเห็นว่าเป็นสีเขียวใบไม้ สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีม่วง สีน้ำตาล สีดำ
3. กลิ่น ให้รู้ว่ามรกลิ่น หอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร
4. รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสหวาน รสเปรี้ยว รสเย็น
5. ชื่อ ต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้นๆ ให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร ข่า เป็นอย่างไร ใบขี้เหล็กเป็นอย่างไร
ปัจจุบันมีผู้พยายามศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนายาสมุนไพรให้สามารถนำมาใช้ในรูปแบบที่สะดวกยิ่งขึ้น เช่น นำมาบดเป็นผงบรรจุแคปซูล ตอกเป็นยาเม็ด เตรียมเป็นครีมหรือยาขี้ผึ้งเพื่อใช้ทาภายนอก เป็นต้น ในการศึกษาวิจัยเพื่อนำสมุนไพรมาใช้เป็นยาแผนปัจจุบันนั้น ได้มีการวิจัยอย่างกว้างขวาง โดยพยายามสกัดสารสำคัญจากสมุนไพรเพื่อให้ได้สารที่บริสุทธิ์ ศึกษาคุณสมบัติทางด้านเคมี ฟิสิกส์ของสารเพื่อให้ทราบว่าเป็นสารชนิดใด ตรวจสอบฤทธิ์ด้านเภสัชวิทยาในสัตว์ทดลองเพื่อดูให้ได้ผลดีในการรักษาโรคหรือไม่เพียงใด ศึกษาความเป็นพิษและผลข้างเคียง เมื่อพบว่าสารชนิดใดให้ผลในการรักษาที่ดี โดยไม่มีพิษหรือมีพิษข้างเคียงน้อยจึงนำสารนั้นมาเตรียมเป็นยารูปแบบที่เหมาะสมเพื่อทดลองใช้ต่อไป

เมนูกุ้งอบวุ้นเส้น


เมนูกุ้งอบวุ้นเส้น


ส่วนประกอบ : ขึ้นฉ่าย ผักกวางตุ้ง พริกไทยดำ
วุ้นเส้น ขิง กุ้ง น้ำมันพืช น้ำมันหอย ซอสปรุงรส


วิธีการทำ : : นำหม้อมาทาน้ำมัน
ใส่พริกไทยดำและขิงที่หั่นเป็นแว่นๆ วุ้นเส้นที่แช่น้ำแล้ว
คลุกเคล้าให้เข้ากันใส่ซอสปรุงรส ซอสหอยนางรม ผัดให้เข้ากัน
นำกุ้งสดมาวางบนวุ้นเส้น แล้วนำวุ้นเส้นมาวางทับอีกที ปิดหม้อแล้วเขย่า
ความร้อนจะทำให้วุ้นเ้ส้นและกุ้งสุก อย่าใช้ไฟแรง นอกจากอร่อยและทำง่าย
แล้วยังมีคุณค่าทางอาหารถ้ารับประทานบ่อย
จะช่วยลดคลอเรสตอรอลและไขมันในเส้นเลือด

เมนูแกงกะทิเขียวหวาน


เมนูแกงกะทิเขียวหวาน


ส่วนประกอบ : ใช้ปลากรายซึ่งมีโปรตีนสูงและไขมันต่ำ
และนำเห็ดหอมมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ และฝังลงไปในลูกชึ้นปลากรายซึ่งเราปั้นเป็นลูกกลมๆ
แล้ว อาจจะใช้หน่อไม้หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ และเสียบลงไปก็ได้อีกด้วย
หน่อไม้นี้ก็มีทั้งวิตามินและโปรตีน นำมะเขือเปราะมาใส่ในแกงที่เราจะแกงด้วยก็ได้ จริงๆ
แล้วเราจะเลือกใส่ผักอะไรลงไปก็ได้ อาจจะเป็นถั่วฝักยาวหรือ
ถั่วพูก็ได้ นำไปแกงรวมกันใส่กระชายด้วย


วิธีการทำ : หาเครื่องแกงมาใส่ลงในกระทะตั้งไฟ
หลังจากนั้นนำครีมกะทิของเราลงไปผัดด้วยกันจนหอมแล้วก็ใส่ลูกชิ้นปลากราย
ที่เราเตรียมไว้ลงไปและตามด้วยผักต่างๆ คนและใส่น้ำปลา น้ำตาล
เสร็จแล้วสุดท้ายก็ใส่ครีมกะทิและน้ำอุ่นใส่ลงไปเล็กน้อยเพื่อให้น้ำเข้มข้น
นำโหระภาและพริงแดงใส่โรยหน้าไปด้วยเพื่อความหอมยิ่งขึ้นและสวยงาม
เราก็จะได้แกงเขียวหวานที่มีรสชาดดีเข้มข้นและไม่มีคลอเรสเตอรอล

เมนูน้ำพริกอ่อง


เมนูน้ำพริกอ่อง


ส่วนประกอบ : หมูสับ ไก่สับ (ไร้หนัง)
มะเขือเทศ ตะไคร้ (ป้องกันท้องอืด) พริกแห้ง หอมแดง (บรรเทาอาการหวัด หายใจไม่สะดวก)
กระเทียม (ลดไขมันในเส้นเลือด) แล้วก็กะปิ

เครื่องเคียง : ฟักทอง แครอท ซึ่งมีเบต้าแคโรทีน
ถั่วพูถ้ารับประทานดิบๆ จะได้วิตามินซีเยอะมาก
และหัวปลีแก้ร้อนในและโลหิตจาง
ตอนนี้น้ำพริกอ่องหาซื้อได้ไม่ยาก
แต่ที่สำคัญ คือ เครื่องเคียง เลือกผักที่มีคุณค่าทางอาหาร
อย่างผักที่เลือกมาในวันนี้ ก็จะได้เมนูที่อร่อย
และอุดมไปด้วยโปรตีน และดีต่อร่างกายด้วย

เมนูข้าวผัดปลาทูน่า


เมนูข้าวผัดปลาทูน่า


ส่วนประกอบ : แครอทมีเบต้าแคโรทีนปลาทูน่ามีโอเมก้า 3
และกรดไขมันดีต่อการทำงานของสมอง ตับ และระบบประสาท
ทานแล้วความจำดี แถมดีกับเรตินา หรือประสาทตาด้วย


วิธีการทำ : เอากะทะตั้งน้ำมัน หรือใส่มาการีนก็ได้
เสร็จแล้วใส่ปลาทูน่าลงไปผัด อย่าให้สุกจนเกินไป ใส่กระเทียมเจียว
เสร็จแล้วก็ใส่แครอท หอมแดง ไข่ต้มหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
หรือว่าจะตอกใส่แล้วผัดก็ได้ ใส่พริก ใส่เครื่องปรุง คือ ซอสปรุงรส น้ำตาล เกลือ
ไม่ต้องใส่มากเกินไป เพราะในอาหารพวกนี้มีส่วนของความหวาน
ความเค็มของอยู่ในตัวแล้ว หลังจากนั้นใส่ข้าวลงไป ไม่ต้องผัดนานนะครับ
พอผัดข้าวเสร็จก็หรี่ไฟ โรยหน้าด้วยกระเทียมเจียวและใบขึ้นฉ่าย
หรือว่าหอมซอยก็ได้ ไข่ที่เหลือเรามาตัดเป็นแว่นๆ แต่งให้สวย

เมนูเพื่อสุขภาพ


เมนูก๋วยเตี๋ยวทรงเครื่อง

ส่วนประกอบ : เส้นก๋วยเตี๋ยว เต้าหู้เหลือง
ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ กับคุณผู้หญิงนี่ดีมากๆ
เลยเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน เห็ดหอมก็มีโปรตีน
กุนเชียงมีทั้งโปรตีนและไขมัน ไข่พะโล้
กระเทียมช่วยลดคอเลสเตอรอล วิตามินซีก็คือ ผักชี
ต้นหอม ถั่วงอกป้องกันหวัด


วิธีการทำ : นำรากผักชีผัดกับน้ำมัน ใส่พริกไทย กระเทียม
ใส่ซอสและน้ำมันหอยคลุกเคล้าเข้าไป เสร็จแล้วใส่เต้าหู้กับเห็ดหอม
ก็จะได้น้ำซอส สำหรับกุ้งแห้งนำไปทอดในน้ำมันน้อยๆ ไฟอ่อนๆ
ส่วนกุนเชียงทอดให้นานๆ อีกนิด เพื่อให้ไขมันในกุนเชียงละลายออก
เสร็จแล้วเตรียมเสิร์ฟ จัดจานเล็กๆ นำก๋วยเตี๋ยวกับผักจัดเข้าด้วยกัน
แล้วราดน้ำซอสพอประมาณ ใส่เครื่องและกุ้งแห้งลงไป
ตามด้วยกระเทียมเจียว ผักชี ต้นหอมโรยหน้า

ผึ้ง


ผึ้ง จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรพอด จัดเป็นแมลงชนิดหนึ่งอาศัยรวมกันอยู่เป็นฝูง โดยส่วนใหญ่จะออกหาอาหารเป็นน้ำหวานจากเกสรของดอกไม้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชในการผสมพันธุ์ ผึ้งทำงานกันเป็นระบบ มีผึ้งนางพญาเป็นหัวหน้าใหญ่

มนุษย์รู้จักผึ้งมานาน 7000 ปีแล้ว กษัตริย์ Menes ของอียิปต์โปรดให้ผึ้งเป็นสัญลักษณ์แห่งอาณาจักรของพระองค์

ลักษณะทั่วไปของผึ้ง แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ

ส่วนหัว ประกอบด้วยอวัยวะรับความรู้สึกต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ
ตารวม มีอยู่ 2 ตา ประกอบด้วยดวงตาเล็ก ๆ เป็นรูปหกเหลี่ยมหลายพันตา รวมกัน เชื่อมติดต่อกันเป็นแผง ทำให้ผึ้งสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้รอบทิศ
ตาเดี่ยว อยู่ด้านบนส่วนหัว ระหว่างตารวมสองข้าง เป็นจุดเล็ก ๆ 3 จุด อยู่ ห่างกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งตาเดี่ยวนี้จะเป็นส่วนที่รับรู้ในเรื่องของความเข้มของแสง ทำให้ผึ้งสามารถแยกสีต่าง ๆ ของสิ่งของที่เห็นได้ ฟริช ดาร์ล ฟอน ได้ทำการศึกษาและพบว่าผึ้งสามารถเห็นสีได้ 4 สี คือ สีม่วง สีฟ้า สีฟ้าปนเขียว และสีเหลือง ส่วนช่วงแสงที่มากกว่า 700 มิลลิไมครอน ผึ้งจะมองเห็นเป็นสีดำ
หนวด ประกอบข้อต่อและปล้องหนวดขนาดเท่า ๆ กันจำนวน 10 ปล้อง ประกอบเป็นเส้นหนวด ซึ่งจะทำหน้าที่รับความรู้สึกที่ไวมาก
ส่วนอก จะกอบด้วยปล้อง 4 ปล้อง ส่วนด้านล่างของอกปล้องแรกมีขาคู่หน้า อมปล้องกลางมีขาคู่กลางและด้านบนปล้องมีปีกคู่หน้าซึ่งมีขนาดใหญ่หนึ่งคู่ ส่วนล่างอกปล้องที่ 3 มีขาคู่ที่สามซึ่งขาหลังของผึ้งงานนี้จะมีตระกร้อเก็บละอองเกสรดอกไม้ และด้านบนจะมีปีกคู่หลังอยู่หนึ่งคู่ที่เล็กกว่าปีกหน้า
ส่วนท้อง ส่วนท้องของผึ้งงานและผึ้งนางพญาเราจะเห็นภายนอกเพียง 6 ปล้อง ส่วนปล้องที่ 8-10 จะหุบเข้าไปแทรกตัวรวมกันอยู่ในปล้องที่ 7 ส่วนผึ้งตัวผู้จะเห็น 7 ปล้อง

การไฟฟ้า


จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 โดยการรวมหน่วยงาน ด้านการผลิตและส่งพลังงานไฟฟ้า 3 แห่ง ได้แก่ การไฟฟ้ายันฮี การลิกไนท์ และการไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าเป็นหน่วยงานเดียวกัน มีฐานะเป็นนิติบุคคลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2512

พระราชบัญญัติฉบับนี้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหลายครั้ง โดยครั้งล่าสุดได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2535 มีสาระสำคัญโดยสรุปคือ

ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สามารถดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า หรือร่วมทุนกับบุคคลอื่นเพื่อดำเนินธุรกิจดังกล่าว และให้มีอำนาจใช้สอยและครอบครองอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสำรวจหาแหล่งพลังงาน ตลอดจนสถานที่สำหรับใช้ในการผลิตหรือพัฒนาพลังงานไฟฟ้า โดยชดใช้ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม
ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขที่เกี่ยวกับคุณภาพไฟฟ้า เทคนิคทางวิศวกรรม และความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า ในกรณีที่เอกชน ประสงค์จะเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
กฟผ. มีสิทธิเพิ่มวงเงินในการกู้ยืมและในการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ คณะกรรมการมีอำนาจจำหน่ายทรัพย์สินออกจากบัญชีได้ทุกกรณี โดยไม่จำกัดวงเงินโดยสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ
ส่วนสาระสำคัญที่ยังคงเดิม คือ คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ แต่งตั้งประธานคณะกรรมการกับกรรมการ (ซึ่งต้องไม่มีตำแหน่งทางการเมือง) และคณะกรรมการเหล่านี้เป็นผู้แต่งตั้งผู้ว่าการ กฟผ. จึงเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีรัฐมนตรีคอยกำกับดูแลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

ในวันที่ 30 สิงหาคม 2537 ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ให้ กฟผ. เข้าโครงการรัฐวิสาหกิจที่ดี ซึ่งทำให้ กฟผ. มีความคล่องตัวในการบริหารงานได้มากขึ้น

ข้าวบาร์เลย์






ข้าวบาร์เลย์

ชื่อสามัญ : ข้าวบาร์เลย์ (barley)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hordeum sp. L.

ตระกูล : Poaceae


ข้าวบาร์เลย์เป็นธัญพืชเก่าแก่ของมนุษย์ มีถิ่นกำเนิดในแถบซีเรียและอิรัก ซึ่งเชื่อว่าเป็นบริเวณที่มีการเพาะปลูกเป็นแห่งแรก ชาวกรีกและโรมันโบราณนำข้าวบาร์เลย์มาทำขนมปังและเค้กเมื่อกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ต่อมาผู้คนหันไปนิยมรสชาติของข้าวสาลีมากกว่าในปัจจุบันข้าวบาร์เลย์ใช้มากในการผลิตมอลท์สำหรับอุตสาหกรรมเบียร์และวิสกี้ นอกจากนี้ยังมีการใช้ข้าวบาร์เลย์เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ธัญชาติอบกรอบ และขนมอบด้วย

ข้าวบาร์เลย์เป็นพืชในวงศ์เดียวกับไผ่ (ดูไผ่ตง) ตะไคร้ หญ้าและธัญพืช เช่น ข้าวโพด ข้าวสาลี และข้าว



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

พืชพวกหญ้า อายุหนึ่งปี ลำต้นมักมีขน ข้อตัน และมีปล้องกลวง 5-7 ปล้อง ใบ 5-10 ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับเป็น 2 แถว กาบใบเกลี้ยง แผ่นใบรูปใบหอกแกมรูปแถบ เขี้ยวใบซ้อนทับกัน ช่อดอกออกที่ปลายยอด เป็นช่อเชิงลดทรงกระบอก แต่ละ ช่อดอกย่อยมีดอกเพียง 1 ดอก อยู่รวมเป็นกระจุกละ 3 ดอก เรียงสลับเป็น 2 แถว ผลแบบผลธัญพืช มี 20-60 ผลในแต่ละช่อ เมื่อมองด้านหน้าเป็นรูปรี ปลายมีขนและเป็นร่อง


ประวัติการปลูกข้าวบาร์เลย์ในประเทศ



ในอดีตสงครามโลกครั้งที่สอง ข้าวบาร์เลย์ถูกนำมาทดลองปลูกครั้งแรกในประเทศไทยที่สถานีโปร่งน้ำร้อน ตำบลหม่อนปิ่น อำเภอฝาง ซึ่งเป็นสถานีทดลองพืชสวนฝางปัจจุบัน ซึ่งเป็นสถานีทดลองพืชสวนฝางในปัจจุบัน เนื่องจากขาดความรู้ในเชิงหลักการใช้หลักวิชาการในการปลูกและยังไม่รู้จักนิสัยใจคอของข้าวบาร์เลย์ การปลูกจึงต้องหยุดชะงักลง

ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2503 ดร. ครุย บุณยสิงห์ ได้นำข้าวบาร์เลย์ตระกูล IBON ชุดแรกมาทดลองปลูกในเมืองไทย โดยได้มอบเมล็ดชุดนี้แก่ คุณชีวัน ณรงค์ชวนะ สำนักงานไร่ยาสูบจังหวัดชียงราย ในระยะเริ่มแรก ข้าวบาร์เลย์เจริญเติบโตมีแนวโน้มว่าจะปลูกขึ้นได้ดีอาจจะเป็นเพราะอากาศในปีนั้นหนาวเย็นพอเพียงแก่ความต้องการของข้าวบาร์เลย์ ความอุดมสมบูรณ์สู.และอาจปลูกในระยะเวลาที่เหมาะสม แต่ต่อมาข้าวบาร์เลย์ชุดเดียวกันกลับให้ผลผลิตลดลง จึงทำให้การศึกษาข้าวบาร์เลย์หยุดชะงักอีกครั้งหนึ่ง

สันนิฐานว่าข้าวบาร์เลย์ยังไม่มีการปรับตัว หรือมีการปรับตัวค่อนข้างแคบ (narrow rang adaptability) และไว(sensitive) ต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินที่เป็นกรดซึ่งเป็นสาเหตุให้การทดลองข้าวบาร์เลย์หยุดชะงักอีกครั้งหนึ่ง เพระข้าวบาร์เลย์เป็นข้าวที่ปลูกค่อนข้าวยากถ้าเปรียบเทียบกับธัญพืชทุกชนิดที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่นน ข้าวสาลีอยู่ในตระกูลใกล้เคียงกัน และต่อมาในปี พ.ศ.2515-2516 ข้าวบาร์เลย์ถูกนำมาทดลองปลูกอีกครั้งหนึ่งที่สถานีทดลองพืชสวนฝาง กรมวิชาการ แต่ปรากฏว่าปลูกล่า ถูกโรคทำลายและไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้


ในปี พ.ศ. 2527 MrRichard S. Mann Project manager ของโครงการ UNPDAC ได้เดินทางไปสถาบันวิจัยข้าวโพดและข้าวสาลีที่ (CIMMYT) ประเทศเม็กซิโก และได้นำเอาข้าวบาร์เลย์ IBON ชุดที่ 2 จำนวน สันพันธุ์ (Lines) สายพันธุ์ดีจากยุโรป จำนวน 4 สายพันธุ์ คือ Lara, Ketch, Klages, Clipper นำไปทดลองที่สถานีเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน โดยจัดเข้าร่วมกับข้าวบาร์เลย์ชุด IBON รวมทั้งหมดเป็นจำนวน 158 สายพันธุ์ ทำการทดลองในปีแรกส่งเมล็ดไปให้บริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด จำนวนพันธุ์ ละ 50 กรัม คัดสายพันธุ์ได้ 41 สายพันธุ์ จึงทำการทดลองต่อและส่งตัวอย่างต่อไป

โดยส่งผลผลิตของแต่ละสายพันธุ์ สายพันธุ์ละ 500 กรัม ไปทดสอบคุณภาพ มอลต์ที่ Wiehenstaphan Brwing Technical University มิวนิคประเทศเยอรมันตะวันตก ผลการทดสอบปรากฏว่าคงเหลือสายพันธุ์ที่มีคุณภาพดีและดีเลิศจำนวน 12 พันธุ์ ค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์มอลต์ บริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด เป็นผู้เสียสละออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งสิ้น

สำหรับพันธุ์ที่กรมวิชาการรวบรวมจำนวน 4 พันธุ์ ก็ได้นำไปทดสอบที่ดอยอ่างขาง สถานีหลวงอ่างขางปัจจุบัน ได้ทำการทดลองศึกษาพันธุ์ในปี 2517 แต่ถูกวัวกินหมดไม่สามารถวัดผลได้ แต่จากการวัดผลที่ดอยช่างเคี่ยน พันธุ์ที่รวบรวมและนำมาจากทวีปยุโรปส่วนใหญ่เป็นพันธุ์สองแถวมีการปรับตัวไม่ดี จึงทำให้ผลผลิตต่ำกว่าชุด IBON จึงถูกตัดออกจากการทดลอง


เมล็ดพันธุ์ทั้ง 12 พันธุ์ ที่ได้ผลผลิตและคุณภาพเป็นที่พอใจแก่ทางบริษัทบุญรอดบริวเวอรรี่ จำกัด จึงได้มอบเมล็ดพันธุ์ส่วนหนึ่งให้แก่บริษัทเพื่อทำการศึกษาและขยายพันธุ์ต่อไป โดยนำพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ทั้งหมดไปทดลองที่ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2518

จะเห็นได้ว่าบาร์เลย์ถูกนำมาทดสอบได้ 3-4 ปี โดยปลูกครั้งแรกที่สูง (high altitude) ที่สถานีเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน สู.จากระดับน้ำระทะเลประมาณ 1,100 เมตร ที่ตำบลโป่งแยง สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800 เมตร ปรากฏว่าบาร์เลย์ชุดเดียวกันนี้ยังให้ผลผลิตสม่ำเสมอ (Starbility) แผนกค้นคว้าและวิจัยของบริษัทบูญรอดบริวเวอรี่ จำกัด จึงตัดสินใจครั้งสุดท้ายที่จะนำเอาข้าวบาร์เลย์ไปปลูกพื้นที่ราบ โดยนำไปปลูกในไร่ของบริษัทที่บ้านป่าสัน ตำบลท่าก้อ อำเภอแม่สลวย จังหวัดเชียงราย

การปลูกระยะแรกขาดแคลนน้ำเพราะสภาพพื้นที่ราบการระเหยของน้ำสูง ข้าวบาร์เลย์ก็สามารถยืนหยัดอยู่ได้แต่ผลผลิตค่อนข้างต่ำ จึงได้ปรับปรุงระบบการจัดส่งน้ำ และศึกษาการใช้น้ำ ในระยะต่อมาศึกษาวิธีการปลูก (cultivation) อย่างใกล้ชิด ปรากฏว่าข้าวบาร์เลย์ทั้งหมด 12 พันธุ์ เหลือที่อยู่รอดและให้ผลผลิตสูงในเกณฑ์ที่ใช้ได้ และมีคุณภาพดีในการทำมอลต์ จำนวนเพียง 5 พันธุ์

ในปี 2524 กรมวิชาการเกษตรได้พิจารณาพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ที่สถาบันวิจัยข้าวได้ทำการทดสอบพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ควบคู่กับแผนกวิจัยและค้นคว้าบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ปรากฏว่าข้าวบาร์เลย์จำนวน 2 พันธุ์ มีแนวโน้วที่จะทำการส่งเสริมได้ จึงได้รับรองพันธุ์ทั้งสองเป็นพันธุ์รับรองกรมวิชาการเกษตร ซึ่งมีประวัติสายพันธุ์ดังต่อไปนี้

1.พันธุ์สะเมิง เลขประจำสายพันธุ์ IBON-42 สายพันธุ์ประวัติ Apam Dwarf 82-71 A-3B-1Y-1B-OY เมล็ดได้ขนาดมาตรฐานอ้วนเต่ง (plump seed) น้ำหนักเม็ด (test weight) สูง คุณภาพมอลต์ดีอายุจากวันหยอดถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 95-105 วัน

2. พันธุ์สะเมิง 2 เลขประจำสายพันธุ์ IBON-42 สายพันธุ์ประวัติ Tequila “S” CMB 72-189-25Y-1B-OY เมล็ดได้ขนาดมาตรฐานอ้วนเต่ง น้ำหนักเมล็ด (test weight) สูง อยู่ในขั้นมาตรฐานคุณภาพมอลต์ดี อายุจากวันหยอดถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 98-110 วัน

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม


สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (อังกฤษ: Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อม[1] มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด[2] เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่